13 ก.พ. 2023 เวลา 11:26 • ท่องเที่ยว

ทมิฬนาดู (17) .. กลุ่มเทวาลัยถ้ำหินขุดบนเขา (2)

มณฑปรายา
มณฑปแห่งนี้ตั้งอยู่ในระดับสูงสุดของเนินเขาลูกนี้ เป็นมณฑปที่สร้างไม่เสร็จ คาดว่าจะสร้างขึ้นในสมัย วิชัยนคร
ศิลปะที่เห็นดูแตกต่างๆจากมณฑปอื่นๆ ที่สร้างในช่วงปัลลวะ
เหมือนป้อมค่ายเล็กๆที่มีการนำหินที่ตัดมาเรียงซ้อนกัน ไม่ใช่การตัดเจาะหินเข้าไปเป็นมณฑป
ลวดลายประดับมณฑปมีลักษณะที่ซับซ้อน
คเณศรถะ (Ganesh Ratha)
คเณศรถะ เป็นเทวาลัยที่สกัดจากโขดหิน มีรูปทรงกล้ายกับภีมรถะ
คือเป็นอาคารทรงยาว แต่แกะสลักเสร็จสมบูรณ์กว่า และเรียกว่า "รถะ" เช่นเดียวกัน
และที่มีนามว่าคเณศรถะ เพราะเมื่อราวร้อยปีก่อน มีชาวบ้านอัญเชิญรูปพระคเณศมาประดิษฐานไว้ภายใน
มณฑปตรีมูรติ และอ่างอาบน้ำของพระนางปาราวตี
มณฑปแห่งนี้สร้างด้วยวิธีตัดหินเข้าไปให้เป็นโถงถ้ำ เป็นศิลปะปัลลวะตอนต้น ในสมัยของกษัตริย์ Paranesvaravarman (672-708 CE)
อุทิศถวายพระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ
ด้านหนึ่งมีรูปสลักหิน พระแม่ทุรคา บนผนังมณฑป
ด้านหน้ามีบ่อน้ำที่คว้านเข้าไปในหิน .. เรียกว่า อ่างน้ำของพระแม่ปาราวตี
มณฑปโกตติกัลป์
มณฑปสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ Narasimhavarman I Mamalla (600-638 CE) อุทิศให้กับพระนางทุรคา
.. ชองรูปหินสลักของสตรีที่หน้าทางเข้าทั้ง 2 นางเลยค่ะ .. ท่วงท่าของนางเหมือนนางแบบเลย
ก้อนเนยของพระศิวะ(Krisha's Butterball)
ในบริเวณเนินเขาเดินต่อจากภาพสลักอรชุนบำเพ็ญตบะ จะเห็นก้อนหินธรรมชาติรูปร่างกลมใหญ่ เหมือนลูกบอลขนาดยักษ์ จะเรียกกันว่า "ก้อนเนยของพระศิวะ" (Krisha's Butterball) ในตำนานศาสนาฮินดู เล่าว่าพระกฤษณะ เมื่อครั้งเป็นเด็กอาศัย มีนิสัยร่าเริงและซุกซน มักไปลักเอานมเนย แล้วเอาไปเผื่อแผ่เด็กคนอื่น ๆ ด้วย แต่ที่น่าแปลกคือ วัวในบ้านที่ถูกลักขโมย กลับให้น้ำนมมากกว่าเดิม ชาวบ้านเลยออกอุบายบอกที่ซ่อนนมและเนยเสมอ
ชาวฮินดูทุกวันนี้ จึงถวายบูชาพระกฤษณะด้วยก้อนเนย เพื่อขอพรให้เพิ่มพูนความสมบูรณ์แก่ชีวิต
ก้อนเนยของพระกฤษณะ (Krishna’s Butter Ball) ก้อนหินธรรมชาติกลมใหญ่เหมือนลูกบอลขนาดยักษ์
ตั้งอยู่บนเนินเขาโดยที่ไม่กลิ้งหล่นลงมาเป็นเวลากว่าพันปี มาแล้ว เชื่อกันว่าพระกฤษณะเมื่อยังเด็กอาศัยอยู่ในหมู่บ้านของคนเลี้ยงวัว ได้แอบไปขโมยนมและเนยของชาวบ้านมาเสวยอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังได้นำมาแบ่งปันให้เด็กคนอื่นๆ ด้วยอีกด้วย แต่บ้านใดที่ถูกพระกฤษณะขโมยไปวัวของบ้านนั้นมักจะให้น้ำนมมากเป็นพิเศษ
กลุ่มหินสลัก ช้าง ลิง นกยูง
คาดว่าจะเป็นสถานที่ฝึกการตัด สลักหิน และงานอื่นๆในการแกะสลักหินที่ใช้ประดับมณฑป และเทวาลัยในแถบนี้
โฆษณา