16 ก.พ. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ

ธุรกิจ “กริ่งประตู” ที่เคยโดนปฏิเสธเงินลงทุน 23 ล้าน

แต่ผ่านไป 5 ปี มีมูลค่า 33,000 ล้าน
ถ้าวันนี้ มีคนมาขอเงินลงทุน จากเรา 23 ล้านบาท
แล้วบอกว่า อีก 5 ปีต่อมา เราจะได้เงินกลับมา 3,300 ล้านบาท
ทุกคนคิดว่า น่าสนใจไหมคะ ?
2
แน่นอนว่า มันคงเป็นดีลที่ใครก็คงไม่กล้าปฏิเสธ
แต่น่าเสียดายที่ตอนนั้นเจ้าของบริษัทกริ่งประตูอัจฉริยะ ที่ชื่อว่า “Ring” ไม่ได้บอกกับเหล่านักลงทุนในรายการ Shark Tank แบบนั้น เพราะเขาเองก็คงไม่รู้เช่นกันว่า สินค้าที่คิดขึ้นในโรงรถ และบริษัทที่ใกล้เจ๊ง จะสามารถไปเตะตา บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ให้มาซื้อกิจการด้วยเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ได้..
1
แล้วเรื่องราวของ Ring เป็นมาอย่างไร ?
และทำไม Amazon ถึงอยากเข้ามาซื้อกิจการ Ring ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
2
Ring ถือกำเนิดขึ้นในปี 2012 หรือเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นยังใช้ชื่อว่า Doorbot
1
โดยคุณ Jamie Siminoff ได้ออกแบบกริ่งประตู ที่มีฟังก์ชันล้ำ ๆ มากกว่าเอาไว้แค่ส่งเสียงกริ่งแบบเดิม ด้วยการพัฒนาให้กริ่งประตู สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ผ่าน Wi-fi พร้อมกับติดกล้องไว้ที่ตัวกริ่ง
3
เพื่อที่เราจะสามารถเห็นหน้าตา และพูดคุยกับคนที่มากดกริ่งได้ โดยไม่ต้องเดินไปที่ประตู
แม้ว่าไอเดียจะดี แต่หลังจากที่เขาเริ่มนำไปวางขาย มันกลับขายไม่ได้เลย..
2
ซึ่งปัญหาของเรื่องนี้มันอยู่ที่ ราคาสินค้า ซึ่งตั้งไว้สูงถึง 6,500 บาท และในตอนนั้น Ring ก็ยังเป็นเพียงแบรนด์โนเนมที่ไม่มีใครรู้จัก ซ้ำร้าย..เงินทุนของคุณ Siminoff ก็เริ่มร่อยหรอ เพราะเขาดันทุ่มสุดตัว ไปกับการสั่งผลิตสินค้าล็อตแรกถึง 5,000 ชิ้น มาจากโรงงานในไต้หวัน
1
เมื่อสถานการณ์เริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง
คุณ Siminoff จึงตัดสินใจไปออกรายการ Shark Tank
ซึ่งเป็นรายการเรียลิตีที่เปิดโอกาสให้นักธุรกิจ มานำเสนอธุรกิจต่อหน้านักลงทุน เพื่อระดมทุนไปต่อยอดธุรกิจ
โดยเขายื่นข้อเสนอขอเงินทุน 23 ล้านบาท เพื่อแลกกับหุ้นของบริษัท 10%
2
ซึ่งนี่หมายความว่า คุณ Siminoff ตีมูลค่าธุรกิจของเขาไว้สูงถึง 230 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่สินค้าแทบจะขายไม่ได้เลยในตอนนั้น
แน่นอนว่า เหล่านักลงทุนต่างพากันปฏิเสธข้อเสนอของคุณ Siminoff..
2
เนื่องจาก เหล่านักลงทุนยังไม่มั่นใจว่า ธุรกิจนี้ต้องใช้เงินทุนมากเท่าไร ถึงจะเพียงพอให้บริษัทสามารถเติบโตได้ และยังมองว่า เทคโนโลยีแนว ๆ นี้ สามารถถูกบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เลียนแบบได้อย่างง่ายดาย
3
และถึงแม้ว่า หนึ่งในนักลงทุนของ Shark Tank จะสนใจที่จะให้เงินลงทุน แต่ก็ต้องแลกกับการแบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขายให้เขาตลอดไป จึงทำให้คุณ Siminoff เลือกที่จะไม่รับข้อเสนอนี้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เงินลงทุนกลับมา
แต่สินค้าของคุณ Siminoff กลับไม่ใช่สินค้าโนเนมอีกต่อไป
เพราะได้พื้นที่โฆษณาสินค้าไปเต็ม ๆ
จนทำให้หลังจากรายการออนแอร์ไป ก็มีคนเข้ามาสั่งซื้อกริ่งประตู Ring กันอย่างล้นหลาม และทำยอดขายได้ มากกว่า 33 ล้านบาท ภายในระยะเวลาแค่ 1 เดือน
3
แต่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก เพราะกริ่งประตูอัจฉริยะ กลับถูกลูกค้าที่ซื้อไปวิจารณ์กลับมา แบบไม่ไยดี ทั้งคุณภาพสินค้าแย่ เสียงอู้อี้ฟังไม่ชัด และระบบเชื่อมต่อ Wi-fi ที่ห่วยแตก
แม้คำวิจารณ์จากลูกค้าจะรุนแรงจนบั่นทอนจิตใจ
แต่คุณ Siminoff กลับเลือกที่จะตอบกลับลูกค้า ด้วยความใจเย็น
และเข้าไปแก้ปัญหาให้ถึงที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี
เมื่อคุณ Siminoff ได้รับข้อเสนอจาก “Foxconn” บริษัทด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของไต้หวัน ที่มีลูกค้ารายสำคัญ อย่าง Apple, PlayStation และ Nintendo
โดยทาง Foxconn ได้เสนอให้คุณ Siminoff มาร่วมกันพัฒนา และปรับปรุงสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
1
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ กริ่งประตูอัจฉริยะที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ราคากลับถูกลงถึงครึ่งหนึ่ง โดยเหลือเพียง 3,300 บาท
เมื่อสินค้าได้รับการปรับปรุง คุณ Siminoff จึงใช้กลยุทธ์การตลาด “ทดลองให้ใช้ฟรี” เพื่อหาทางโปรโมตสินค้าของเขาอีกครั้ง
โดยคุณ Siminoff ได้ติดต่อไปทางกรมตำรวจในลอสแอนเจลิส เพื่อขอนำกริ่งของเขาไปติดในพื้นที่ชุมชน Wilshire Park ซึ่งเป็นย่านที่มักมีเหตุย่องเบา และลักขโมยอยู่บ่อยครั้ง
2
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ ภายใน 6 เดือน การงัดแงะ ลดลงไปถึง 55% แม้ว่ากริ่งจะถูกติดตั้งอยู่เพียง 10% ของพื้นที่ชุมชนเท่านั้น
มาถึงตอนนี้ กริ่งประตูอัจฉริยะของ Ring ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ จากคุณภาพที่ถูกบอกต่อกันแบบปากต่อปาก
จนในปี 2018 Ring ก็ครองส่วนแบ่งการตลาดกริ่งประตูอัจฉริยะในประเทศ ไปกว่า 97% เลยทีเดียว
และในปีเดียวกันนี้ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก อย่าง Amazon ก็ได้เข้าซื้อกิจการ Ring ด้วยมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 33,000 ล้านบาท
1
ซึ่งดีลนี้ถือเป็นดีลใหญ่ อันดับ 2 ของ Amazon ในปีนั้นเลยทีเดียว
โดยเหตุผลสำคัญที่ Amazon เข้าซื้อกิจการ Ring ก็เพื่อเป็นการขยายอาณาจักรอุปกรณ์ Smart Home ให้สามารถเข้าไปชิงส่วนแบ่งจากคู่แข่ง ทั้ง Google, Samsung และ Apple
ซึ่งในภายหลัง บริษัท Amazon ก็ได้เข้ามาพัฒนากริ่งประตู Ring ให้ยิ่งล้ำหน้ามากขึ้น โดยเราสามารถสั่งเปิด-ปิดประตูบ้านได้ง่าย ๆ เพียงแค่สั่งการด้วยเสียง รวมถึงยังทำให้ Ring เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเสริม Ecosystem ของ Amazon
2
เรียกได้ว่า Amazon ไม่ได้จ่ายเงินแค่เพื่อซื้อเทคโนโลยีจาก Ring เท่านั้น
แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ Amazon ยังได้ “ฐานลูกค้า” และ “ข้อมูลของผู้ใช้งาน” จำนวนมหาศาลจาก Ring อีกด้วย
1
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ Ring
ธุรกิจกริ่งประตู ที่เกือบจะไปไม่รอด
ทั้งเงินทุนหมด และยังถูกนักลงทุนปฏิเสธ
จนทำให้เรานึกถึงประโยคที่ว่า
1
“เมื่อประตูบานหนึ่งปิดลง
ประตูอีกบานจะเปิดขึ้น
ซึ่งหลายคนมักจะเฝ้ามอง แค่ประตูบานที่ปิดไปแล้วเป็นเวลานาน
จนมองไม่เห็นประตูอีกบานที่เปิดรอเราอยู่
4
ดังนั้น หากในวันนี้ธุรกิจของเราไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
อย่ามัวจมอยู่กับความผิดหวัง จนไม่ทันเห็นโอกาสใหม่ที่อาจดีกว่าเดิม เหมือนอย่าง Ring ก็เป็นได้..
2
(ad)กลุ่มบริษัทธนจิรากรุ๊ป เดินหน้าขยายธุรกิจหาญ เวลเนสแอนด์ฮอสพิทอลลิตี้ (HARNN Wellness & Hospitality) ครอบคลุมทั้งเวลเนสและสปาภายในประเทศและต่างประเทศในระดับ Regional สร้างให้แบรนด์ไทยเป็นที่รู้จักและสร้างความภูมิใจในระดับสากลรวมกว่า 16 สาขาทั่วภูมิภาค
#TANACHIRA #HARNN #SCapebyHARNN
โฆษณา