15 ก.พ. 2023 เวลา 07:29 • ท่องเที่ยว

ทมิฬนาดู (21) … เทวาลัยนาฏราช เมืองจิดรัมปรัม

จิตัมพรัม (Chidambaram)
เมืองจิดัมพรัม (Chidambaram) เป็นหนึ่งในนครศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของอินเดีย .. เป็น “ศาสนธานี” (Temple City) ขนาดใหญ่ มีเทวาลัยนาฎราชเป็นศูนย์กลางเมือง และตัวเมืองก็อยู่ในวงล้อมของกำแพงเทวาลัยอีกด้วย .. เมืองนี้เคยเรียกกันว่า Thillai ซึ่งมาจากชื่อของต้นโกงกาง (Excoecaria agallocha) ที่ขึ้นในบริเวณนี้
***เทวาลัยแห่งนี้ไม่อนุญาตให้เข้าสู่ศาสนสถานชั้นใน และไม่ให้ถ่ายภาพภายใน จึงลองอ่านเรื่องราวของเทวาลัยแห่งนี้ แล้วนำสาระบางส่วนมาเล่าต่อค่ะ
ภาพจาก wikipedia
เทวาลัยจิดัมพรัม หรือเทวาลัยนาฏราช (Nataraja Temple) .. เป็นเทวาลัยที่บูชาพระศิวนาฏราช ตั้งอยู่ที่เมืองจิตัมปรัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ชื่อ “จิตัมพรัม” ซึ่งเป็นชื่อเมืองและชื่อของเทวาลัยนั้นหมายถึง "ช่วงแห่งการตื่นรู้" (stage of consciousness)
เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โจฬะ ในช่วงศตวรรษที่ 10 เทวาลัยถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าที่ราชวงศ์เชื่อถือ ซึ่งก็คือ พระศิวะนาฏราช และคำว่า Chidambaram มาจากคำภาษาทมิฬ Chitrambalam ซึ่งหม่ายถึง "wisdom atmosphere" ซึ่งผูกโยงไปถึง การร่ายรำ ศิวะนาฏราช และบรรยากาศตามวิถีประเพณีสำหรับงานศิลป์
ทางเข้าหลักอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีเสาหินสูง 10 เมตร สลักภาพท่ารำต่างๆ แต่มีเพียงโคปุรัมด้านตะวันออกเท่านั้นที่มีรูปสลักทั้ง 108 ท่าของพระศิวะ
ภายในจะมีสถานที่สำหรับทำ “พิธีสวมมงกุฎ” ของราชวงศ์โจฬะ และด้านนอกเทวาลัยมีราชรถที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่แกะสลักอย่างสวยงามและเก่าแก่จอดเรียงอยู่ด้วย
สถาปัตยกรรมของเทวาลัยแห่งนี้ แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะและจิตวิญญาน .. เทวาลัยสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 10 เมื่อปี ค.ศ. 907 - 1310 โดยราชวงศ์โจฬะ ในช่วงเวลาที่ จิดัมพรัม เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์โจฬะ เพื่อถวายแด่ “พระศิวนาฏราช” เทพแห่งการฟ้อนรำ
เทวาลัยจิดัมพรัม ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการเสื่อมถอย เสียหาย การบูรณะ และขยายให้ใหญ่โต กว้างขวางมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลาร่วม 200 ปี ถือว่าเป็นเทวาลัยที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดียใต้ที่ยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน .. โดยมีมหาเทพศิวะ เป็นเทพประธานคู่เทวาลัย รวมถึงเทพองค์อื่นๆ
เทวะสถานที่เห็นในปัจจุบันมาจากการสร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 และต้นศตวรรษที่ 13 เมื่อมีการสร้างเพิ่มเติมก็ยังคงยึดถือแบบแผนเดียวกันเรื่อยมา .. เทวาลัยแห่งนี้ เป็นหนึ่งในเทวาลัย 5 ธาตุขององค์พระศิวะ
ภาพจาก wikipedia
ศิวะนาฏราช
.. เป็นแนวคิดศิลปะโบราณที่ปรากฏในบันทึกมากมาย ที่กล่าวถึงกระบวนท่าร่ายรำของพระศิวะ และแต่ละท่าเป็นตัวแทนทางด้านจิตวิญญาณที่แตกต่างกันไป .. รูปเคารพของพระศิวะในปานาฏราช พบโดยทั่วไปในประเทศอินเดีย บางรูบถูกพบมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก็มี
การร่ายรำครั้งที่ 1
พระอิศวร ทรงเป็นนาฎราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในเมืองสวรรค์ และ เมืองมนุษย์ โดยมีเรื่องเล่าขานไว้ว่า .. ฤษีพวกหนึ่ง ประพฤติอนาจาร ฝ่าฝืนเทวบัญชา พระนารายณ์ ทรงขัดเคือง จึงทรงเชิญพระศิวะเสด็จมายังโลกมนุษย์ เพื่อทรมานฤษี พวกนั้น เมื่อพระองค์ ทรงเห็นพระฤษี สิ้นฤทธิ์ จึงทรงฟ้อนรำ ทำปาฏิหาริย์ขึ้น
ขณะนั้น มียักษ์ค่อม ตนหนึ่ง ชื่อ "มุยะกะละ (บางตำรา เรียกว่า มุยะละคะ หรือ อสูรมูลาคนี) มาช่วยพวกฤษี .. พระอิศวร จึงทรงเอาพระบาท เหยียบยักษ์ค่อมนั้นไว้ แล้วทรงฟ้อนรำต่อไป จนหมดกระบวนท่า .. เมื่อพระอิศวร ทรงทรมานพวกฤษี จนสิ้นทิฐิ ยอมขอขมา ต่อพระเป็นเจ้าทั้ง 2 แล้ว พระองค์ ก็เสด็จกลับเขาไกรลาศ ส่วนพระนารายณ์ ก็เสด็จกลับยังเกษียรสมุทร ซึ่งครั้งนี้ ถือเป็นการร่ายรำ ครั้งที่ 1 ของพระอิศวร
การร่ายรำในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดกำเนิด “ศิวะนาฎราช” (นาฎราช-เจ้าแห่งการฟ้อนรำ) หรือ Cosmic Dance บางทีก็เรียกว่า "ปางปราบอสูรมูลาคนี" .. ชาวทมิฬถือว่าการฟ้อนรำของพระศิวะจะกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวของจักรวาล
ภาพจาก wikipedia
ตำนานของเทวาลัย จิดัมพรัม ในศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า .. พระศิวะมาที่ป่าโกงกาง พร้อมด้วยพระพระวิษณุ ที่อยู่ในร่างของนาง โมฮินี สตรีสาวสวย ซึ่งได้สร้างความพึงใจให้กับฤษี ในขณะที่พระศิวะทำการร่ายรำอยู่นั้น ภรรยา 2 คนของฤษีก็พึงใจในพระองค์
ฤษีรู้ตัวว่าตนเองคลายความเข้มงวดเรื่องวัตรปฏิบัติ .. ฤษี 2 องค์ชื่อ Patanjali และ Vyaghrapada ต้องการที่จะชมการร่ายรำ "dance of bliss" ของพระศิวะอีกครั้งในป่า ทิไลย์ จึงได้บำเพ็ญเพียรเพื่อขอพร จนพำระศิวะพอใจ และปรากฏพระองค์ที่ขึ้นที่ จิดัมพรัม และร่ายรำติดกับผนัง ณ มณฑป the blessed hall of consciousness" .. และนี่คือจุดเริ่มต้นของตำนานศักดิ์สิทธิ์ของเทวาลัยแห่งนี้
ศิวะนาฏราช .. ได้รับแรงบันดาลใจมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 จากการที่ราชวงศ์โจฬะได้บูรณะเทวาลัยด้วยหินและทองคำ และสิ่งที่เป็นไอคอนในเทวาลัยแห่งนี้คือ เทวรูปนาฏราชทำด้วยเงิน มิใช่ศิวลึงค์
ภาพจาก wikipedia
เทวาลัยนาฏราช .. มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล อย่างน้อยก็จากศตวรรษที่ 5 .. โดยมีสถาปัตยกรรมในรูปแบบของเทวาลัยในอินเดียใต้ เคยเป็นเทวาลัยหลวงของราชวงศ์โจฬะที่สำคัญ โดยมี ศิวะนาฏราช เป็นเทพเจ้าประจำราชวงศ์โจฬะ ซึ่งเป็นความพิเศษเฉพาะตัวในรูปแบบที่ไม่พบที่อื่น .. จนกระทั่งกษัตริย์ Rajaraja Chola I ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมือง Thanjavur และสร้างเมืองใหม่ พร้อมทั้งเทวาลัยขนาดมหึมา คือ เทวาลัย Brihadeeswarar อุทิศถวายองค์พระศิวะเช่นกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 และตอนนี้เป็น World heritage site
จารึกทองแดง Parantaka I (c. 907–955 CE) กล่าวว่ากษัตริย์เป็น "ผึ้งในดอกบัวที่อยู่แทบเท้าองค์มหาเทพศิวะ .. bee at the lotus feet of Shiva" ที่สร้างมณฑปทองคำให้กัลองค์เทพ .. กษัตริย์หลายองค์ต่อๆมา ก็ได้อุทิศตนในการเสริมสร้างงานศาสนศิลป์ ด้วยการเสาะหาวัสดุที่คงทนทั่วอินเดียใต้ แล้วนำมาใช้แทนอิฐและไม้ที่ไม่ทนทาน .. ในรัชสมัยของกษัตริย์ Kulothunga I และพระโอรส ได้บูรณะและขยายพื้นที่ของเทวาลัยเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า
จิดัมพรัม เข้ามาสู่ช่วงเวลาที่รุ่งเรืองสุดขีด ในสมัยของราชวงศ์โจฬะ ระหว่างกลางศตวรรษที่ 13 พร้อมๆกับอีกหลายเทวาลัย ที่บูชาพระศิวะ .. ทั้งเทวาลัยที่เมือง Thanjavur .. Gangaikondacholapuram และเมือง Srirangam ที่บูชาพระวิษณุ
เมืองเหล่ายนี้มีการขยายถนนหนทาง สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก .. Naralokaviran ทหารชั้นผู้ใหญ่ของกษัตริย์ Kulothunga Chola I เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างบันไดที่นำไปสู่สระน้ำ มณฑปที่จะประดิษฐานองค์เทพต่างๆ สวน และเครือข่ายของถนนรอบๆ จิดัมพรัม รวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่นๆอีกมากมาย
ในช่วงระหว่างครึ่งหลังของศตวรรษที่ 12 ต้นศตวรรษที่ 13 กษัตริย์โจฬได้สร้างโคปุรัมที่สูงใหญ่ สีสันสดใส ขึ้นมาให้เป็นหมุดหมายที่มองเห็นได้ง่าย โดยเริ่มด้วยโคปุรัมทางด้านทิศตะวันตก .. แต่หลังจากนั้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 13 ราชวงศ์โจฬะได้ถูกเข้าแทนที่ด้วยราชวงศ์วิชัยนคร (Pandya dynasty) ซึ่งยังคงอุปถัมภ์ จิดัมพรัม ไปพร้อมๆกับเทวาลัยที่บูชาพระวิษณุ
กษัตริย์ Sundara แห่งราชวงศ์วิชัยนคร สร้างโคปุระขนาดมหึมา และอื่นๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างที่เราเห็นในทุกวันนี้ มาจากผลงานในช่วงศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์โจฬะ และวิชัยนคร
การรุกรานจากภายนอก
ในช่วงปี คศ. 1311 สุลต่าน Alauddin Khilji ได้สั่งให้นายพล Malik Kafur นำกองกำลังเข้ามากวาดล้างอาณาจักรอินเดียตอนใต้ .. และที่น่าเศร้าคือ มีการปล้นนำเอาทองคำและเพชรพลอยมากมายจาก จิดัมพรัม กลับไป เดลฮี
ข่าวการปล้นสะดมที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆในทมิฬนาดู รวมถึงการเป็นเป้าหมายในการรุกรานจากเมืองต่างๆที่ทวีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนในทมิฬนาดู ทำการย้ายประติมากรรมทางศาสนาต่างๆ และปิดซ่อนที่ตั้งของห้องศักดิ์สิทธิ์ต่างๆใต้เทวาลัย ก่อนที่พวกมุสลิมจะเข้ามาถึง
.. สิ่งของต่างๆทางศาสนา ซึ่งรวมถึงคัมภีร์และจารึกที่สร้างด้วยวัสดุมีค่ามากกว่า 200 ชิ้น ถูกค้นพบอีกครั้งจากการทำงานด้านโบราณคดีตามสถานที่ต่างๆในปีก่อนและหลัง 1979 ซึ่งรวมถึงที่ จิดัมพรัม นี้ด้วย
ศาสตรจารย์ George Michell – a professor and art historian of Indian architecture กล่าวว่า .. การรุกรานกวาดล้างจากมุสลิมในศตวรรษที่ 14 ทำให้การอุปถัมภ์เทวาลัย จิดัมพรัม และศาสนธานีอื่นๆ จากราชวงศ์ ต้องสิ้นสุดลง
สุลต่านของเดลฮี แต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นคนมุสลิมขึ้นมาปกครอง แต่ก็แยกตัวออกมาหลังจากนั้นไม่กี่ปี ตั้งตนเองเป็น Madurai Sultanate และเรียกร้องให้เทวาลัยต่างๆส่งบรรณษการ แทนที่จะเป็นผู้อุปถัมภ์เหมือนเช่นสมัยก่อนๆ
แต่แล้วไม่นาน อาณาจักรวิชัยนคร (Hindu Vijayanagara Empire) ก็ได้เข้ามาในศตวรรษที่ 14 แล้วดำเนินการซ่อมแซม และขยาย เทวาลัยจิดัมพรัม และเทวาลัยอื่นๆในเขตเดียวกัน ให้ใหญ่โตกว่าเดิม มาจนถึงศตวรรษที่ 16
ความเสื่อมถอยของอาณาจักรวิชัยนคร ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 รวมถึงการเข้ามาที่อินเดียของเจ้าอาณานิคมชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สร้างสภาวะไม่แน่นอนให้กับ จิดัมพรัม และศาสนธานีอื่นๆ
ปรตุเกส .. เข้ามาครองพื้นที่ทางการค้าบริเวณอ่าว Coromandel ในช่วงศตวรรษที่ 17 และเริ่มสร้างป้อมค่าย ตั้งกองกำลังรักษาการณ์ และโบสถ์คริสต์ ซึ่งทำให้เกิดการแทรกแซงจากฝรั่งเศสและอังกฤษตามมา เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 เทวาลัยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของเหล่านายะกะ (ผู้คนที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองหัวเมือง แต่ต่อมาตั้งตัวเป็นอิสระ) ซึ่งเข้ามาซ่อมแซมอาคารและภาพเขียนต่างๆ ในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์ Shrirangadeva Raya III
จากบันทึกของฝ่ายอังกฤษ .. ศาสนธานีจิดัมพรัม ถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงหลายครั้งทั้งจากกองกำลังของฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 18
สถาปัตยกรรมของเทวาลัย
เทวาลัยแห่งนี้ มีมาก่อนสมัยปัลลวะ .. สถาปัตยกรรมอยู่ในรูปแบบ ดราวิเดียน สร้างบนพื้นที่ราว 40 เอเคอร์ โดยมีลานด้านในแบ่งเป็นชั้นต่างๆในลักษณะสี่เหลี่ยม ..
ในศตวรรษที่ 9.. ขอบเขตกว้างใหญ่ของเทวาลัยปิดล้อมด้วยกำแพง 4 ด้านคลุมพื้นที่ราว 550 x 450 เมตร และมีโคปุรัม สูง 50 เมตร อยู่ทั้ง 4 ด้าน
โคปุรัม
.. เทวาลัยแห่งนี้มีโคปุรัมทั้งหมด 9 อัน ซึ่งเชื่อมต่อไปยังลานต่างๆด้านใน .. ในจำนวนนี้มี 4 โคปุรัมที่มีขนาดใหญ่ สีสันจัดจ้าน และมองเห็นได้ในระยะไกล เป็นสัญลักษณ์ของศาสนสถาน และแต่ละโคปุรัมมี 7 ชั้น หันหน้าไปทางทิศทั้ง 4
Courtyards
กลุ่มเทวาลัยจิดัมพรัม ประกอบไปด้วยชั้นต่างๆ 4 ชั้น ซึ่งกั้นด้วยกำแพง ซึ่งบางส่วนถูกเสริมให้แข็งแรงมากขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 หลังการถูกโจมตีรุกราน และทำลาย
กำแพงชั้นนอกสุด ซึ่งสร้างเสริมขึ้นมาในศควรรษที่ 16 มีทางเข้า 4 ช่องทางที่เรียบง่าย สร้างโดยกษัตริย์ Vijayanagara หลังการได้รับชัยชนะสุลต่านแห่งมาดูลัย และกำแพงชั้นนี้ได้รับการเสริมมากขึ้นอีกในสมัยของเหล่า นาบะกะ ในศตควรรษที่ 17 .. มีโคปุรัมขนาดใหญ่ที่ทองเห็นชัดจากระยะไกลด้วย
Courtyard ภาพจาก wikipedia
ภายในลานชั้นที่ 3 ใกล้กับโคปุรัมด้านทิศเหนือ มีบ่อพระศิวะ ศาลาพันเสา มณฑปของพระนางปาราวตี .. ทางเข้าอีก 3 ด้านใกล้กับเทวาลัยประธาน .. พื้นที่ทุกด้านของเทวาลัยเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยทางเดินที่ผังซับซ้อน
กำแพงและประตูทางเข้าด้านในนี้ สร้างด้วยหินที่ตัดออกมาเป็นก้อนๆ ผสมผสานกับอิฐ .. มีสวน และต้นปาล์มอยู่ในลานชั้นที่ 4 ซึ่งส่วนนี้สร้างเพิ่มเติทขึ้นในสมัยกษัตริย์ Vijayanagarนศตวรรษที่ 16
Shrines
กลุ่มศาสนสถานแห่งนี้ มีหลายเทวาลัย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระศิวะ
Durga in the Shivakama Sundari shrine, in her Mahishasuramanrdini form killing the buffalo demon below het foot. - wikipedia
แต่ยังมีบางแห่งที่มีการบูชาพระวิษณุ และศักติ รวมอยู่ด้วย .. อาคารมั้งหมดมีลักษณะสี่เหลี่ยม
.. รูปพระศิวะนาฏลาส อยู่ชั้นในสุด และสำคัญที่สุด
ศาลาโถง (Sabha)
เทวาลัยจิดัมพรัม ปนระกอบไปด้วยศาลาโถง 5 ศาลา คือ Kanaka Sabha, the Cit Sabha, Nritta Sabha, Deva Sabha and Raja Sabha
ภาพจาก Internet
นาฏศาลา (Natya Sabha หรือ Hall of Dance หรือศาลา 56 เสา - ปัจจุบันเหลือเพียง 50 เสา) ซึ่งอยู่ที่ลานชั้นที่สองทางทิศใต้
.. ศาลาแห่งนี้ถือว่าเป็นสถานที่ที่องค์พระศิวะ และพระแม่กาลี เข้ามาทำการแข่งร่ายรำ ซึ่งผลปรากฏว่า พระศิวะชนะ ด้วยท่า urdhva-tandava ซึ่งต้องยกชูขาข้างขวาตรงขึ้นไป
.. การร่ายรำท่านี้ พระแม่กาลีปฏิเสธที่จะไม่ทำ เพราะพระนางเป็นผู้หญิง
Subrahmanya shine in ruins, early 19th century - wikipedia
เสาภายในศาลาได้รับการสลักเสลาจากเพดานถึงพื้น ส่วนล่างแกะเป็นภาพการร่ายรำในแบบ Natya Shastra มุทรา มีภาพสลักนักดนตรีในท่วงท่าสนุกสนาน และมีคำจารึกตำนานของฮฺนดู เช่น ภาพของพระนางทุรคาต่อสู่กับอสูรควาย .. ด้านล่างมีรูปปั้นบุคคลในลักษณะสาธุการราว 200 รูป
ด้านล่างของศาลาสลักเสลาเป็นรูปราชรถเทียมม้า เหมือนดั่งราชรถเหล่านี้กำลังจะทะยานขึ้นจากพื้นดิน .. จากจารึกโบราณกล่าวว่า ราชรถสูง 1.55 เมตร ล้อของรถม้าได้รับการแกะสลักอย่างวิจิตร แต่ละล้อมีเส้นผ้าศูนย์กลาง 1.25 เมตร มี 28 ซี่ มี 33 ดุมล้อ .. ม้าเทียมรถมีเครื่องประดับอย่างวิจิตรอลังการ มีบุคคลนั่งอยู่บนรถ เสมือนว่ากำลังควบคุมการเคลื่อนไหวของรถม้า
.. ปัจจุบันเหลือเพียงเศษซาก
.. ด้านทิศเหนือของศาลา นอกจากจะมีรูปสลักขององค์พระศิวะ ซึ่งเดิมชำรุดเสียหาย แต่ได้รับการบูรณะใหม่แล้ว .. ยังมีรูปสลัก 14 รูปของเทพต่างๆ รวมถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และฤษี 12 ตน ซึ่งรวมถึงฤษี Narada และ Tumburu
.. รูปสลักอื่นๆอยู่ในสภาพชำรุดเสียหายมากจนไม่อาจจะระบุได้ .. นอกจากนั้นมีรูปสลักหญิงในท่วงท่ายั่วยวน บางรูปเปลือย ซึ่งอาจจะเป็นภริยาของเหล่าฤษีก็เป็นได้ .. มีรูปสลักนักรบซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์แห่งโจฬะก็เป็นได้เช่นกัน
.. ตรงกึ่งกลางศาลา เพดานประดับด้วยภาพดอกบัว
A Mandapam in 1869 - wikipedia
Raja sabha: ศาลา 1000 เสา .. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสระ Shivaganga ซึ่งสระนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคปุรัม
ภาพจาก wikipedia
ส่วนล่างของศาลามีรูปนางรำ และนักดนตรีกำลังเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ .. ศาลาแห่งนี้ปิด ยกเว้นในช่วงงานเทศกาล
One of the trmple’s pillared halls before demolition in the late 19th century - wikipedia
Shatasila sabha: ศาลา 100 เสา .. อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทวาลัยประธาน อยู่ในสภาพเสียหายมาก และห้ามเข้า
Deva sabha .. ศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของลานชั้นที่สอง เรียกว่า ศาลา Perampalam หรือ "Great Hall" .. ซึ่งน่าจะเป็นศาลาที่มีมาดั้งเดิม และน่าจะเป็นสถานที่ที่สวดมนต์ หรือเป็นพลับพลารับเสด็จกษัตริย์โจฬะในสมัยโบราณ
ศาลาแห่งนี้มีรูปปั้นบรอนซ์ และงานปูนปั้นเฟรสโกในสมัยไม่นาน .. มีภาพวาดของพระนางปาราวตีนั่งยนเก้าอี้มองออกไปยังศาลา Nrtta sabha
Sacred pool sketched in 1870s - wikipedia
เทวาลัยแห่งมีสระน้ำจำนวนมาก ซึ่งสระศักดิ์สิทธิ์ Shivaganga เป็นสระสี่เหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด
สนะน้ำปัจจุบัน
เทวาลัยจิดัมพรัม เป็นเทวาลัยที่บูชาพระศิวะปางนาฏราช ที่สำคัญที่สุดของอินเดีย .. เทวาลัยแห่งนี้มีความสำคัญทั้งทางด้านศาสนาและประวัติศาสตร์ .. นอกจากนี้จุดที่นิ้วหัวแม่โป้งของพระศิวะแตะพื้น ยังเป็นจุดที่เรียกว่า Centre Point of World ‘s Magnetic Equator ในทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
Carved pillars in the temple hall. - wikipedia
An 1847 sketch of gopuram with ruined pillars, published by James Fergusson - wikipedia
เทวาลัยจิดัมพรัม มีความสำคัญ ดังนี้
• ตั้งอยู่ ณ จุดที่เรียกว่า the Center Point of world ‘s Magnetic Equator และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น คือ เทวาลัยจิดัมพรัม เป็นตัวแทนท้องฟ้า .. เทวาลัย Kalahasthi เป็นตัวแทนอากาศ .. เทวาลัย Kanchi Ekambareswar เป็นตาแทนผืนดิน และทั้ง 3 เมวาลัยตั้งอยู่บนเส้นตรงที่ 79 degrees 41 minutes Longitude. เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก
• เทวาลัยจิดัมพรัม มีประตูเข้าออก 9 ประตู ซึ่งเท่ากับทวารทั้ง 9 ของมนุษย์
• หลังคาของเทวาลัย มุงด้วยแผ่นกระเบื้องทองคำ 21600 แผ่น เท่ากับการหายใจของมนุษย์ในแต่ละวัน (15 x 60 x 24 = 21600)
• แผ่นกระเบื้องทองคำ 21600 แผ่นบนหลังคาพระวิมาน ใช้หมุดทองคำ 72000 ตัว ซึ่งจะเท่ากับเส้นประสาท (Nerves) ในร่างกายของมนุษย์
• มีคำกล่าวว่า .. ร่างกายมนุษย์ เป็นตัวแทนของรูปศิวลึงค์ ซึ่งคือ จิดัมพรัม Sadashivam ซึ่งหมายถึง การร่ายรำของพระศิวะ
โฆษณา