16 ก.พ. 2023 เวลา 01:00 • ธุรกิจ

ข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรม EV เมื่อ อินเดียพบแหล่งแร่ลิเธียมขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก

อินเดียประกาศการค้นพบครั้งสำคัญ นั่นคือ การค้นพบแหล่งแร่ลิเธียมขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นแร่ที่มีความสำคัญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
1
โดย ลิเธียมเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จซ้ำได้
ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานแก่อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า
4
ซึ่งจากข้อมูลของ Statista พบว่า 5 อันดับประเทศที่มีแหล่งแร่ลิเธียมมากที่สุดคือ
1
  • ชิลี 9.3 ล้านเมตริกตัน
  • ออสเตรเลีย 6.2 ล้านเมตริกตัน
  • อาร์เจนตินา 2.7 ล้านเมตริกตัน
  • จีน 2 ล้านเมตริกตัน
  • สหรัฐอเมริกา 1 ล้านเมตริกตัน
1
ทางรัฐบาลอินเดีย ได้ออกมาประกาศเมื่อวันอังคารว่า ได้มีการค้นพบแหล่งแร่ลิเธียมขนาด 5.9 ล้านตัน บริเวณ Jammu และ Kashmir ซึ่งอินเดียต้องนำเข้าลิเธียมจากออสเตรเลียและอาร์เจนตินา
2
โดยในปี 2021 อินเดียได้ค้นพบแหล่งแร่ลิเธียมขนาดเล็กที่บริเวณ Karnataka
ทำให้อินเดียต้องพึ่งการนำเข้าจากออสเตรเลีย ชิลี และอาร์เจนตินา
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การค้นพบในครั้งนี้จะช่วยให้อินเดียสามารถเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลได้ 30% ภายในปี 2030 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
ในขณะที่คุณ Vivek Bharadwaj เลขาธิการกระทรวงเหมืองแร่ของอินเดียก็ได้กล่าวว่า
การค้นพบลิเทียมจำนวนมหาศาลนี้จะทำให้อินเดียสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และการค้นพบในครั้งนี้จะช่วยให้อินเดียก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการผลิตระดับโลกอีกด้วย
2
📌 การค้นพบในครั้งนี้ จะพลิกโฉมอินเดียไปอย่างไร
1
ลิเธียม ถือว่าเป็นแร่ที่สำคัญ และถูกเปรียบเปรยว่าเป็น ทองคำขาว
เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า แบตเตอร์รี่ลิเธียมจะมีมูลค่ามากขึ้น จากการขยายตัวของอุตสาหกรรม EV
และตั้งแต่ปี 2020 ราคาลิเธียมเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า โดยอยู่ที่ประมาณ 75,000-80,000 ดอลลาร์ต่อตัน
นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดมากกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2030 ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้อาจทำให้อินเดียมีรายได้มหาศาล
ซึ่งการค้นพบแหล่งแร่ลิเธียมทำให้อินเดียวก้าวขึ้นมายืนในแถวเดียวกับผู้เล่นหลักอย่าง ชิลี ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา และ จีนได้ รวมไปถึงการก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองลิเทียมมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
1
อย่างไรก็ตามการกลั่นแร่ลิเทียมให้ออกมาใช้ผลิตเป็นแบตเตอรี่ได้นั้นต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อน
ดังนั้น อินเดียอาจต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกอย่างน้อย 2-3 ปี
2
และปัญหาในขณะนี้ คือ การที่จีนนั้นครองกำลังการผลิตของโลกในแง่ของการแปรรูปลิเทียมดิบให้เป็นแบตเตอรี่ กว่า 60% ซึ่งประเทศต่าง ๆ ก็ได้ออกมาใช้นโนบายต่าง ๆ เพื่อลดอำนาจการผลิตของจีน
3
เช่น การค้นพบในครั้งนี้อินเดียจึงเข้าร่วมใน Minerals Security Partnership (MSP) ที่ริเริ่มโดยสหรัฐฯ ในปี 2022 เพื่อป้องกันห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุที่สำคัญ และ ต่อต้านการครอบงำห่วงโซ่อุปทานจากจีน
4
ดังนั้นจากนี้ไป อินเดียจะก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว เช่น ในอีก 1-15 ปี อินเดียไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การขุดเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ความสำคัญกับการกลั่นด้วย เพราะการกลั่นจะทำให้อินเดียสามารถดึงดูดการลงทุน และ เม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล และเป็นผลดีมากกว่าการขุดแร่เพียงอย่างเดียวแล้วนำไปกลั่นที่อื่น
2
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
โฆษณา