16 ก.พ. 2023 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เงินบาทไทย สกุลเงินที่ฟื้นตัวได้เร็วที่สุด ในมุมมองของ “รูชีร์ ชาร์มา”

รูชีร์ ชาร์มา” นักลงทุนมากประสบการณ์ ประธานร็อคกี้เฟลเลอร์ แคปพิทอล แมเนจเมนท์ ยกให้ "เงินบาท" เป็นสกุลเงินที่ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดในโลก เมื่อย้อนมองพัฒนาการ 25 ปี
นาย รูชีร์ ชาร์มา (Ruchir Sharma) นักลงทุนมากประสบการณ์ ประธานร็อคกีเฟลเลอร์ แคปพิทอล แมเนจเมนท์ (Rockefeller Capital Management) บริษัทการเงินระดับโลก ซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวของเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลกมานานเกือบ 30 ปี ได้กล่าวถึง เงินบาทของไทย ด้วยความชื่นชมผ่านบทความ The untold story of the world’s most resilient currency ตีพิมพ์ในคอลัมน์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส (Financial Times) สื่อใหญ่ของอังกฤษ ระบุว่า ในมุมมองของเขา เงินบาทของไทยคือสกุลเงินที่ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดในโลก
ชาร์มาย้อนถึงที่มาของการเขียนบทความเกี่ยวกับ “เงินบาท”ในครั้งนี้ว่า เนื่องด้วยเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ จะครบรอบ 25 ปี ที่เขาเคยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นช่วงเวลาที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตการเงินที่ชาวโลกรู้จักดีในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” (ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2540) ที่จุดศูนย์กลางความเสียหายหนัก หรือ ground zero นั้น อยู่ในไทย และได้ขยายลุกลามไปยังหลายประเทศในเอเชีย
1
รูชีร์ ชาร์มา นักลงทุนมากประสบการณ์ ประธานร็อคกีเฟลเลอร์ แคปพิทอล แมเนจเมนท์
จากเสียหายหนักสุด กลายเป็นแข็งแกร่งที่สุด
แต่หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เงินบาทก็ค่อยๆกลับมามีสเถียรภาพได้อย่างยาวนาน จนกล่าวได้ว่า ในบรรดาสกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วยกัน เงินบาทรักษาค่าได้ดีกว่าใครเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หรือหากจะเทียบกับสกุลเงินของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เงินบาทก็มีสเถียรภาพมากกว่าสกุลเงินใดๆ ยกเว้นเพียงสวิสฟรังก์
3
ในช่วงเวลาแห่งวิกฤตต้มยำกุ้ง เงินบาทของไทยลดค่าลงอย่างรุนแรงกว่า 50% เมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่หดตัวลงเกือบๆ 20% ในพริบตา ตลาดหุ้นดิ่งเหวกว่า 60% สถาบันการเงินหลายแห่งเข้าสู่ภาวะล้มละลาย หนี้สาธารณะพุ่งสูงจนรัฐบาลไทยต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ตั้งแต่ต้นปี 1998 (พ.ศ. 2541) มานั้นซึ่งเป็นช่วงที่ชาร์มาเข้ามาทำงานที่ประเทศไทย แทบไม่มีนักลงทุนต่างชาติคนไหนกล้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย นับเป็นหนึ่งในวิกฤตการเงินที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ แต่สุดท้ายเงินบาทก็สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาเป็นหนึ่งในเงินสกุลหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่รักษามูลค่าไว้ได้อย่างเหลือเชื่อเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ กลายเป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง กว่าเงินสกุลอื่นๆในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่
1
และดูดีกว่าเงินสกุลของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ ชาติ ยกเว้นเพียงสวิสฟรังก์เท่านั้น จึงนับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา
2
ยกตัวอย่าง เวลานี้ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่ได้อ่อนลงมากนักเมื่อเทียบกับอัตราก่อนเกิดวิกฤตการเงิน ที่ค่าเงินบาทเวลานั้นอยู่ที่ราว 26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ขณะนี้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่เกือบๆ 15,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ถือว่าอ่อนลงมามากเมื่อเทียบกับอัตรา 2,400 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินเอเชีย
1
โฆษณา