Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
17 ก.พ. 2023 เวลา 00:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประกันสังคมใน "ยุคสังคมสูงวัย"
อย่างที่ผู้ประกันตนทราบกันดีว่า เงินที่จ่ายไปทุกเดือนให้กับกองทุนประกันสังคมไทย ถูกแบ่งใช้ไปกับ 3 ส่วน ดังนี้ ใช้ประกันการว่างงาน (10%) ดูแลเรื่องการเจ็บป่วย คลอดบุตร และเสียชีวิต (30%) และ ส่วนสุดท้ายที่เก็บเป็นเงินออม โดยจะได้คืนเมื่ออายุครบ 60 ปี (60%)
แต่ด้วยค่าครองชีพในปัจจุบันรวมถึงสภาวะสังคมสูงวัยที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องไม่แน่นอนว่าเมื่อเราเกษียณในอีกหลายปีข้างหน้า สถานการณ์ระบบบำนาญจะเป็นเหมือนขณะนี้หรือไม่
📌 จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยกำลังเข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัย
การมีประกาศเก็บเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นของกองทุนประกันสังคมในลักษณะขั้นบันได ซึ่งจะขยายเพดานเงินเดือนสูงสุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อแรงงาน หากทุกอย่างเป็นไปตามสูตรที่กำหนดมา เราทุกคนจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น 400 บาท (จากปัจจุบันที่จ่าย 750 บาท) คิดเป็น 53% ตามเพดานเงินเดือนสูงสุด ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เท่ากับเงินบำนาญที่จะได้รับเพิ่มขึ้นรายเดือนเช่นกัน โดยกรณีนี้หากทำงานมา 25 ปี เมื่อเกษียณจะได้เงินมาใช้ 8,050 บาทต่อเดือน
โดยสาเหตุที่เราต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นนั้น คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากพิษเศรษฐกิจที่ถาโถมเข้ามาในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้กองทุนประกันสังคมถูกใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเงินที่ใช้ไปสำหรับค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากด้านโครงสร้างประชากรของไทยที่เข้าสู่สังคมสูงวัย
1
จากข้อมูลของ World Bank, 2018 พบว่าคนไทยมีอายุขัยเพิ่มขึ้นจาก 55 ปี เป็น 77 ปี ทำให้ภาครัฐมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่รายรับลดลง ดังนั้น เพื่อลดระยะเวลาการจ่ายเงินของระบบบำนาญหลังเกษียณลงไป ทุกภาคส่วนจึงจำเป็นต้องร่วมมืองกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น
📌 แนวทางการพัฒนาประกันสังคมในยุคสังคมสูงวัย
การปรับเพดานเงินสมทบให้เป็นไปตามอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นอย่างที่มีแนวโน้มว่ากำลังทำอยู่นั้น เป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ซึ่งทำพร้อมกับการปรับสิทธิประโยชน์ของเงินบำนาญตามค่าครองชีพที่สูงขึ้นนี้ ก็ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้คนอยากจ่ายเงินสมทบจำนวนมากขึ้น
1
โดยแนวทางอื่นที่สามารถทำได้ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจให้เอกชนจ้างงานต่อเมื่ออายุเกิน 60 ปี อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อายุเกษียณจะปรับขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ยืดหยุ่นต่อโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ดังเช่นในประเทศญี่ปุ่นที่จ้างงานผู้สูงอายุตามสายงานต่าง ๆ
นอกจากนี้ การเปลี่ยนสูตรการคำนวณเงินบำนาญของไทยจากเดิมที่ใช้ค่าเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย เปลี่ยนมาเป็นคำนวณรายได้ทั้งชีวิตที่ทำงานก็ช่วยให้เงินบำนาญเพิ่งสูงขึ้นได้เช่นกัน
📌 โดยสรุป
โดยสรุป การที่ภาครัฐอย่างสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเล็งเห็นถึงปัญหาและเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องระบบเงินออมระยะยาวเพื่อให้ทุกคนมีเงินไว้ใช้เพียงพอยามเกษียณ รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำของสังคมนั้นเป็นสัญญาณที่ดี โดยต้องเร่งผลักดันร่วมกับหน่วยงานอื่น ประชาสัมพันธ์ให้แรงงานนอกระบบ ส่งเสริมความรู้และสร้างวินัยการออมให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้ามาออมผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ
อย่างไรก็ดี การนำ Know-How จากที่อื่นมาปรับใช้ด้วยยิ่งช่วยให้เห็นความแตกต่างของระบบบำนาญจากทั่วโลก และได้แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ผู้เขียน: ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์, Economics Data Analytics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Source:
●
สำนักงานประกันสังคม วิเคราะห์โดย Bnomics
https://www.pier.or.th/abridged/2020/22/
ผู้สูงอายุ
ประกันสังคม
การเงิน
7 บันทึก
17
14
7
17
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย