17 ก.พ. 2023 เวลา 02:13 • ความคิดเห็น

"ทำตามฝัน หรือทำงานไปแหละดีแล้ว?"

1) ช่วงนี้ ดูรายการ 'คำนี้ดี' และช่อง knd บ่อยมาก เพราะแขกรับเชิญปัง ล่าสุดเขาเชิญคุณกรุณา บัวคำศรี แล้วตั้งคำถามพิเศษ 3 คำถามเป็น session คำถามจากทางบ้าน เรามองว่าคำถามที่เขา pick up มาให้คุณกรุณาตอบในรายการ เป็นคำถามสัมภาษณ์ที่ฉลาด เพราะเป็นคำถามที่เด็ก Gen นี้ หรือแม้กระทั่ง First Jobber และผู้ใหญ่วัยทำงานเอง ก็ถามตัวเองกันบ่อยๆ แล้ววันนี้ได้คำตอบที่ดีมากๆ จากคนที่มีประสบการณ์ชีวิต และตอบได้คมกริบ แบบที่ระบบตรรกะมีทั้งความเป็นผู้ใหญ่ และสะท้อนความจริงบางอย่าง
2) เอาจริงๆคำตอบนี้ ถ้าเป็นเราตอบก็คือ "ถ้าบ้านรวย (ไม่รวยมาก ก็ต้องไม่ลำบาก) และไม่มีภาระดูแลพ่อแม่ ก็ไปตามฝันได้ง่ายขึ้น" คำตอบเราก็ดูจะคล้ายของคุณกรุณาอยู่แฮะ แสดงว่าจริงๆแล้ว ลึกๆแนวคิดเรื่องการทำตามฝัน คนเราก็มีความคิดเรื่อง 'การติดสลักชีวิต' คล้ายๆกันคือภาระหน้าที่ของความเป็นลูก หรือคงคล้ายๆกับคำว่า 'ความกตัญญู'
3) เรามองปัญหาของคำถามนี้มี 2 steps คือ
1. ต้องมีฝันก่อนไหม? หรือถ้าไม่มีฝัน ก็ต้องมีความกล้าที่จะออกเดินทางตามหาคำตอบของชีวิต หรือตามหาความฝัน หรือแม้กระทั่ง แค่รู้ว่าตัวเองมีอะไรที่อยากทำ ไม่ต้องเป็นเป้าหมายใหญ่มากก็ได้ แต่ต้องมีก่อน ซึ่งถ้าไม่มี ก็จะทำอะไรไปเรื่อยๆ สะเปะสะปะ เพราะยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร หรือชอบอะไร แต่อย่างน้อย การชิมชีวิต หรือออกตามหาคำตอบของชีวิต และรู้จักตัวเอง โคตรสำคัญ
2. เป็น step ที่ต้องถามตัวเองว่า ไปทำตามที่ต้องการ แล้วเราเผลอทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือมีหน้าที่อะไรที่ต้องทำไหม? ส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช่คนที่ทางบ้านมีพร้อมอยู่แล้ว และต้องกลับไปดูแล ก็จะติดสลักเรื่องนี้ กว่าจะได้ทำตามฝันก็ต้องรอก่อนว่า ครอบครัวสุขสบายรึยัง? ถ้ายัง ก็ดูเหมือนว่าจะยังไปไหนไม่ได้ ทำอะไรที่อยากทำไม่ได้อย่างใจ เพราะต้องมั่นใจว่าคนในครอบครัวรอด เราจึงรอด
4) มันมีข้อความหนึ่งที่คุณกรุณาพูดออกมา "ให้เราทำจากใจ ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ" ประโยคนี้คือหัวใจของวิธีคิดทั้งหมดที่ดูจะเป็นคำถามต่อสำหรับคนเป็นลูกว่า "ความกตัญญู ที่เขาว่ากันนี่ ทำด้วยใจ ใช่ไหม?" ถ้าใช่ ก็คงทำไปด้วยความสุข และมีความภูมิใจ ความเต็มที่ที่จะทำมัน เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ต้องทำ และอยากทำ ไม่รู้สึกเป็นปัญหา หรือภาระอะไรเลย Happy มากๆที่จะแบกรับหน้าที่นั้นด้วยความเต็มใจ
5) คำถามที่ต้องถามตัวเองต่อ คำถามนั้นคือ 'ทำไมเราต้องรอครอบครัวสุขสบาย จึงได้ตามฝัน แล้วมีวิธีที่ทำให้เราได้ทำตามฝัน โดยที่ไม่ต้องเอาความกตัญญูมาเป็นสลักในการดำเนินชีวิตเราหรือไม่?' เรามองว่ารัฐสวัสดิการ คือ 1 ในคำตอบที่ดี ถ้ามีรัฐดูแลความเป็นอยู่ที่สุขสบายของคนในครอบครัว ทั้งเรื่องเบื้ยผู้สูงอายุ ค่ารักษาพยาบาลยามแก่ชรา การดูแลค่าครองชีพที่เอื้อต่อความเป็นอยู่
ประเทศไทย และสังคมโลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แล้วประเทศเรา พร้อม support อะไรเราบ้าง? ถ้าแค่ให้เดือนละ 600-800 บาทแบบทุกวันนี้ แต่ข้าวกระเพราจานละ 60-70 บาท ก็ต้องกตัญญูไง เพราะไปไม่รอด ถ้าทางบ้านยังลำบาก
6) คนที่โชคดีที่สุดคือ คนที่ไม่มีสลักความยากจน พอมันไม่ได้มีภาระทางการเงิน การโบยบินจะง่ายขึ้น ไม่มีฝันก็ยังมีโอกาสไปต่อได้ไกล พ่อแม่ support หรือทางบ้านมีกิจการหน่อย ก็ต่อยอดอะไรๆในชีวิตง่ายขึ้น ไม่ต้องมาตรากตรำกับการดูแลครอบครัว แต่จะมีใครปีนไปที่ยอดปิรามิดความสำเร็จตรงนั้นกันได้ทุกครอบครัว คงเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องเลี้ยงพ่อแม่วนไป นี่คือความจริงของมนุษย์ที่ไม่ใช่กลุ่ม elite และไม่มี privilege ใดๆให้ได้สุขสบายได้แบบนั้น
7) หลายคนอาจจะมองว่าบ่นทำไม? การเลี้ยงดูพ่อแม่คือหน้าที่ที่ต้องทำ หรือจริงๆคือ หน้าที่รัฐกำลังผลักให้เราดูแลครอบครัว คือคำถามว่าทำไมประเทศนี้ต้องฝังความกตัญญูใส่หัวคนไทย เพราะแค่เขาไม่ทำงานให้ดีพอ ตอบโจทย์วัยรุ่น วัยทำงาน ที่สามารถวิ่งตามฝันได้ยังไงล่ะ?!? เราถึงลำบากกันทุกวันนี้"
8 ) แล้วในความจริง "หลายๆความฝันมันมีวันหมดอายุ" ถ้าไม่ทำตอนนี้ บางช่วงอายุมันทำฝันก็ดูจะสายเกินไปแล้วไง สังขารไม่ได้ passion ไม่เหลือ แรงจะทำไม่มีแล้ว และมันไม่ใช่จังหวะชีวิตแล้วไง ฝันมันลอยไปหมดแล้ว แล้วเมื่อไหร่จะได้ทำ เมื่อมัวแต่ชะเง้อคอย เพราะวันนี้ยังทำหน้าที่ลูกที่ดีอยู่
แต่ปรากฏว่า แม้ทำงานหนักเท่าไหร่ หลายครอบครัวก็ยังลำบากอยู่อย่างนี้ ถึงไม่ได้ไปไหนซะทีไง ความจริงของชีวิตมันก็เศร้างี้แหละฮะ ถึงได้เขียนให้ทบทวนกันว่า "แกทำเต็มที่ ก็ยังไม่พอซะที หรือปัญหานี้ไม่ได้แก้แค่ที่เราเป็นลูกกตัญญู"
ขอให้คุณได้ทำตามฝันกันนะ (ถ้าเจอฝันของตัวเองแล้ว) โชคดีครับ
IG : Tootsyreview
TW : ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
#ThinkTalkLoud
โฆษณา