17 ก.พ. 2023 เวลา 12:00

ฝึกยื่นภาษีครั้งแรก! รวมข้อมูลการยื่นภาษีที่ First jobber ต้องรู้

สำหรับ First jobber ที่เพิ่งเรียนจบ หรือเริ่มเข้าทำงานได้ไม่นาน ไม่เคยมีประสบการณ์ในการ “ยื่นภาษี” อาจเกิดข้อสงสัยว่า เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องยื่นภาษี ถ้าไม่ยื่นภาษีจะผิดกฎหมายหรือไม่? วันนี้ ConNEXT ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นภาษีมาฝาก ไปดูกันเลย!
🟥 เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
หากได้รับเงินเดือนหรือมีรายได้จากหลายทางเกิน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี จำเป็นต้องยื่นภาษีทุกคน ซึ่งหมายความว่า เด็กจบใหม่ที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่านั้น ต้องยื่นภาษีตามกฎหมายและการยื่นภาษีเงินได้ แต่ไม่ต้องเสียภาษี
🟥 ภาษีต้องยื่นเมื่อไหร่ และต้องทำอย่างไร?
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นปีละ 1 ครั้ง ของวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี และสามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ซึ่งการยื่นเสียภาษีสามารถยื่นได้ที่ :
1. สำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
ยื่นแบบการเสียภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของสรรพากร ได้ที่ : https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
2. ยื่นภาษีผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ ได้ที่ :
🟥 ยื่นภาษีต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง
2. เอกสารรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่างๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอกสารช้อปดีมีคืน (ถ้ามีให้ยื่นพร้อมกันกับ 50 ทวิ)
หากอ่านถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าการยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ถึงแม้การเสียภาษีในปีแรกของเหล่า First jobber จะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ทั้งนี้ควรต้องหมั่นศึกษาเรื่องภาษีให้มากขึ้น แล้วเรื่องภาษีก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3ZfU3RN
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา