18 ก.พ. 2023 เวลา 03:53 • ประวัติศาสตร์

ตุตันคาเมน (Tutankhamen)ค.ศ.1341-1323 ปีก่อนคริสตกาล

กษัตริย์
ในบรรดาฟาโรห์ของอียิปต์เชื่อว่าชื่อของ ตุตันคาเมน ย่อมเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันมากที่สุดพระองค์หนึ่ง กล่าวกันว่าแม้พระองค์จะไม่ใช่มหาราชที่ยิ่งใหญ่หรือนักรบผู้เกรียงไกร แต่ชื่อของฟาโรห์ ตุตันคาเมน
ก็เป็นที่รู้จักดียิ่งกว่าฟาโรห์องค์อื่นๆเนื่องด้วยสุสานของพระองค์ที่ถูกขุดค้นพบคงสภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่าของฟาโรห์องค์ใด และกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการบอกเล่าถึงเรื่องราวของอียิปต์โบราณ
ตุตันคาเมน ประสูติเมื่อปี ค.ศ.1341 ปีก่อนคริสตกาล สิ้นพระชนม์ ค.ศ.1323 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นฟาโรห์อียิปต์พระองค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ระหว่าง ค.ศ.1333-1324 ปีก่อนคริสตกาล
ชื่อหรือพระอภิไธย ของพระองค์ที่ค้นพบนั้นมีหลายพระนาม แต่ที่คุ้นเคยและเรียกขานคุ้นเคยกันก็คือ ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ขณะที่บางแหล่งอาจอ่านว่า ทุตอังค์อามุน
พระรูปเหมือน สลักขึ้นจากไม้ พบในสุสานของพระองค์
ด้วยพระนามนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในจารึกของอียิปต์โบราณขณะที่ว่ากันว่าในตอนประสูตินั้นพระองค์ทรงมีพระนาม ตุตันคาเมน ซึ่งหมายถึงองค์อวตารแห่งสุริยเทพอาเทน
ฟาโรห์ ตุตันคาเมน ทรงเป็นพระโอรสของฟาโรห์ อัคเคนาตัน กับพระสนมคียา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปีที่ 4 นับแต่การสวรรคตของอัคเคนาตัน โดยทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษาเท่านั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นจึงทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุน ธิดาของฟาโรห์อัคเคนาตัน กับราชินีเนเฟอร์ตีติ ตามประเพณีในสมัยนั้น
ในสมัยของฟาโรห์ ตุตันคาเมน นั้นอำนาจในราชสำนักตกอยู่ในมือของ อัยย์ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและหัวหน้านักบวชแห่งจอมเทพอามอน กับนายพลโฮเรมเฮปผู้บัญชาการทหาร
เนื่องจากในยุคอาณาจักรนี้ อียิปต์มีกองทหารประจำการเป็นทหารอาชีพ ซึ่งผิดกับในสมัยก่อนที่จะเป็นแรงงานที่เกณฑ์มาเฉพาะในยามศึก การมีกองทัพประจำการทำให้นายทหารกลายเป็นกลุ่มอำนาจกลุ่มที่ 3 นอกเหนือจากฟาโรห์และหัวหน้านักบวช
ร่างมัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคาเมนในภาพ ถือเป็นสิ่งที่ทำให้แนวคิดคำสาปฟาโรห์เผยแพร่ไปอย่างแพร่หลาย แต่แท้จริงแล้วที่มาของคำสาปกลับเริ่มต้นมาจากการแสดงในลอนดอนก่อนที่จะมีการค้นพบร่างของยุวกษัตริย์องค์นี้เมื่อปี 1922 มานับร้อยปี ภาพถ่ายโดย KENNETH GARRETT
ฟาโรห์ ตุตันคาเมน สวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิชิเออร์ อัยย์ ถึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายให้เพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป
กลายเป็นว่าฟาโรห์ ตุตันคาเมนครองราชย์เพียง 10 ปีเท่านั้น พระองค์สวรรคตอย่างลึกลับ จากมัมมี่ของพระองค์ได้มีการพบรอยร้าวที่กะโหลกซึ่งแสดงว่าพระองค์น่าจะสวรรคตจากการตกจากรถศึก นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกลอบปลงพระชนม์โดยคนใกล้ตัว ซึ่งอาจจะเป็นเสนาบดีอัยย์หรือไม่ก็นายพลโอเรมเฮป
หลังการสวรรคตของพระองค์ ราชินีอนัคซูนามุนทรงส่งสาส์นไปยังกษัตริย์ฮิตไทต์ ให้ทรงส่งพระโอรสมาอภิเษกกับพระนางและเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ โดยพระนางแจ้งไปในศาสตร์ว่า
สามีหม่อมฉันสิ้นแล้ว และหม่อมฉันหาโอรสมิได้ ได้ฟังว่า พระองค์มีโอรสมากนัก จะประทานมาเป็นสามีหม่อมฉันสักองค์ได้หรือไม่ หม่อมฉันไม่ปรารถนาจะได้บริวารคนใดของหม่อมฉันมาเป็นสามีเลย หม่อมฉันกลัวเหลือเกิน
กษัตริย์ฮิตไทต์ ก็ทรงส่งพระโอรสเดินทางมาอียิปต์ แต่ทว่าทันทีที่ขบวนเสด็จมาถึงเขตแดนอียิปต์ ก็ถูกซุ่มโจมตีและสังหารจนหมดทุกคน ทำให้ทางฮิตไทต์โกรธมากความสัมพันธ์ระหว่าง 2 อาณาจักรจึงตึงเครียดขึ้น
เจ้าหญิงอนัคซูนามุนถวายบุปผาแก่ตุตันคาเมนเพื่อแสดงความรัก ภาพสลักบนหีบพระศพตุตันคาเมน
หลังจากนั้น อัยย์ ซึ่งชรามากแล้วก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุนและ ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แต่ครองราชย์ได้เพียง 3 ปีก็ประชวรสวรรคต และในที่สุดนายพลโอเรมเฮปก็กลายเป็นฟาโรห์องค์ใหม่
เพราะฟาโรห์ ตุตันคาเมน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิเซียร์ อัยย์ จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่ายๆ ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน
ทั้งๆที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมนนี้ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุดของอียิปต์โบราณ
ผลของความสมบูรณ์แห่งสุสานนี้เองที่ทำให้ชื่อเสียงของฟาโรห์ตุตันคาเมนโด่งดังขึ้นเมื่อมีการขุดและศึกษาเรื่องราวของพระองค์เวลาต่อมา โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นกับบรรดาคนขุดสุสานของพระองค์ทำให้เกิดข่าวลือต่างๆมากมายโดยเฉพาะเรื่องของคำสาปฟาโรห์ที่กลายเป็นอีกหนึ่งตำนาน
ทั้งนี้เพราะไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมน เปิดเมื่อปี ค.ศ.1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดในวันนั้นเสียชีวิตไป 22 คน ด้วยเหตุการณ์ลึกลับและหาคำอธิบายไม่ได้ทำให้เชื่อกันว่า ความตายเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
โฮวาร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) นักโบราณคดีและนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ
เรื่องของเรื่องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1922 โฮวาร์ด คาเตอร์(Howard carter) และลอร์ด คาร์นาร์วอน (Lord Carnarvon) ได้ค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก นั่นคือสุสานอันสมบูรณ์ของตุตันคาเมนและพวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานตุตันคาเมนที่นอนสงบในรอบ 3,000 ปี
ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมาย ซึ่งเจ้าของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า ตุตันคาเมน นั่นเองและเหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า มัจจุราชจะมาสู่ผู้รบกวนการบรรทมของฟาโรห์
สองเดือนต่อมา ลอร์ด คาร์นาร์วอน ก็ตายเพราะถูกยุงกัดทำให้เป็น นิวมอเรีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ด คาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน
หลังจากนั้นไม่นาน อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกัน ซึ่งร่วมทีมการขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นเขาก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่จะถึงมือหมอ และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร
ต่อมาก็เป็นผู้เชียวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่งคือ จอห์น กูล์ด ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ ลอร์ด คาร์นาร์วอน เขาได้รีบเดินทางมายังอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมรณกรรม จอห์น กูล์ด ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมง ต่อมาเขาถึงแก่กรรม
ลอร์ด คาร์นาร์วอน (Lord Carnarvon)
อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอกซเรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษ เพราะเกิดอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉยๆ และก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัวของ ลอร์ด คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องจากหัวใจวาย
โจเอล วูด ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาต่อมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้
ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผู้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คนและภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน
ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควรเช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งที่ฆ่าตัวตายด้วยเนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดียังมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เขาตายทำตามธรรมชาติเมื่อปี ค.ศ.1939
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ตุตันคาเมน (Tutankhamen) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา