18 ก.พ. 2023 เวลา 23:35 • ประวัติศาสตร์

ASEAN “มอง” ไทย

เหตุใด ? สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จึงสามารถยกทัพไปพิชิตเมืองนครธมแห่งกัมพูชาได้สำเร็จ ทั้ง ๆ ที่พึ่งสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้เพียง 3 ปี พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร ? กองทัพที่ยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยามาจากไหน ? และ
ทำไมถึงกล้าหน้าใหญ่ไปตีเมืองนครธมได้ ซึ่งในขณะนั้นเมืองนครธมเป็น 1 ในเมืองที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราลองมาอ่านเนื้อเรื่องคร่าว ๆ กัน.....
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถานากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 (ตามปฏิทินสากล) นโยบายแรกหลังการสถานากรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอู่ทอง คือ “ศึกเขมรแปรพักตร์” หรือ การยกทัพไปตีกรุงพระนครธม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิเขมรในสมัยนั้น เจริญรุ่งเรืองมากว่า 550 ปี นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
หลังจากทรงวางโครงสร้างพื้นฐานในกรุงศรีอยุธยาแล้วเสร็จราว 3 ปี พระเจ้าอู่ทอง
ทรงมีพระราชโองการ ให้สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรส) และขุนหลวงพ่องั่วแห่งเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสี “ยกทัพไปตีเมืองนครธม” กองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปิดล้อมเมืองนครธม 1 ปี 5 เดือน จึงสามารถถล่มกองทัพเมืองนครธมได้อย่างราบคาบ กษัตริย์เมืองนครธมนามว่า "พระบรมลำพงษ์ราชา" (ราชวงศ์แตงหวาน) แพ้ย่อยยับ และเสด็จสวรรคตในสนามรบ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กองทัพกรุงศรีอยุธยาสามารถพังทลายประตูเมืองนครธม เข้าไปถึง
ปราสาทบายนอันเป็นศูนย์กลางของเมืองได้ ขุนหลวงพ่องั่วได้มอบให้ "พระบาสาต" ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองนครธมสืบต่อมา ซึ่งนี่เป็นเพียงการยกทัพไปตีเมืองนครธมครั้งที่ 1 ของกรุงศรีอยุธยา
แล้วเหตุใดสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงไม่พอใจกษัตริย์เมืองนครธมถึงขนาดนี้ ถึงขั้นที่ “ยกทัพไปตีเมืองนครธมเพื่อฆ่าแกง” และจะยึดเอาเมืองนครธมให้ได้ ทั้ง ๆ ที่เมืองนครธมเป็นเมืองใหญ่มาก มีประชากรมากเป็นลำดันต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พระเจ้าอู่ทองไม่ทรงเกรงกลัวใครเลยหรือ ? หาก
ถึงแม้พระองค์จะไม่เกรงกลัวผู้ใด แต่พระองค์สามารถปลุกขวัญกำลังใจทหาร ให้เข้าไปตีเมืองนครธมอันแข็งแกร่งได้อย่างไร ?
เท้าความกลับมาก่อนหน้าการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของพระเจ้าอู่ทอง ดินแดนแถบนี้เป็นเพียงนครรัฐเล็ก ๆ นามว่า "ละโว้-อโยธยา" เหตุการณ์บาดหมางระหว่างเมืองนครธมเริ่มจากที่ “กรุงละโว้-อโยธยา” ที่มีความสัมพันธ์กันในขณะนั้น ได้ส่งราชทูตนามว่า "เจ้าใส้เทวดา" ไปเจริญสัมพันธไมตรีที่เมืองนครธม แต่
กษัตริย์เมืองนครธมนามว่า "พระบรมนิพพานบท" ทรงไม่ไว้ใจทูตจากกรุงละโว้-อโยธยา จึงสั่งให้สังหารคณะทูตเสียสิ้นทั้งหมด เหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อทราบถึงกรุงละโว้-อโยธยา ทำให้ผู้ปกครองเมือง และอาจรวมถึงประชาชนไม่พอใจอย่างมาก กรุงละโว้-อโยธยา จึงยกทัพมาตีเมืองนครธม โดยการปิดล้อมเมืองนครธมยาวนานถึง 1 ปีเศษ ถึงแม้จะยังไม่สามารถตีเมืองนครธมได้ แต่พระบรมนิพพานบททรงปริวิตกเป็นอันมาก เนื่องจากการปิดล้อมเมืองนครธมอันยาวนานกว่า 1 ปี และ
ประชากรเมืองนครธมที่มากมายมหาศาล ทำให้ภายในกำแพงเมืองพระนครเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนัก พระองค์จึงทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.1889
ท่ามกลางเหตุการณ์บีบบังคับของกองทัพละโว้-อโยธยา ที่ยังคงล้อมเมืองนครธมไว้ในขณะนั้น "พระสิทธานราชา" ผู้เป็นพระปิตุลา จึงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์นครธมพระองค์ใหม่ กองทัพละโว้-อโยธยา จึงตัดสินใจยกทัพกลับ พระสิทธานรา
ชาทรงครองราชสมบัติได้เพียง 1 ปี จึงสละราชสมบัติให้ "พระบรมลำพงษ์ราชา" ผู้เป็นพระโอรสของกษัตริย์องค์ก่อนขึ้นครองราชย์ต่อในปี พ.ศ.1891
เหตุการณ์ดังกล่าวดูเหมือนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ใครจะรู้ว่า นี่เป็นเพียงปฐมบทของการเสียกรุงนครธม ที่มีมายาวนานกว่า 550 ปี “แค้นนี้ต้องชำระ” ของพระเจ้าอู่ทอง ทรงมีแผนที่จะกลับไปตีเมืองนครธมอีกครั้ง หลังจากที่คณะทูตของ “เจ้าใส้เทวดา” ถูกสังหารที่เมืองนครธม แล้วเจ้าใส้เทวดาคือใคร ? เหตุใดการถูกฆ่ากรรม
หมู่ในเมืองนครธมถึงทำให้พระเจ้าอู่ทองทรงพิโรธขนาดนี้ เจ้าใส้เทวดาอาจเป็นเครืองญาติ หรือเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองก็เป็นได้ หรือเป็นพระสหายอันเป็นที่รัก
หลังการเดินทางกลับจากเมืองนครธมของกองทัพกรุงละโว้-อโยธยา และพระบรมลำพงษ์ขึ้นครองราชย์กรุงนครธม พระเจ้าอู่ทองทรงปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติถึง 3 ปี และกลับมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ.1894
ทรงโปรดให้ขุนหลวงพ่องั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี ส่วนพระราเมศวร (พระราชโอรส) ให้ไปครองเมืองละโว้ นี่จึงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “กรุงละโว้” เป็นฐานอำนาจเดิมของสมเด้จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และเป็นกองกำลังชุดเดียวกับที่ยกทัพไปตีเมืองนครธมเมื่อ 6-8 ปีก่อน
หลังจากพระเจ้าอู่ทองทรงวางโครงสร้างพื้นฐานกรุงศรีอยุธยาได้ 3 ปี พระเจ้าอู่ทองจึงมีพระราชโองการ ให้สมเด็จพระราเมศวรแห่งเมืองละโว้ (พระราชโอรส) และขุนหลวงพ่องั่วแห่งเมืองสุพรรณบุรี “ยกทัพไปตีเมืองนครธม” กองทัพของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้อาจมีความใหญ่โตกว่ากองทัพครั้งแรกของ “กรุงละโว้-อโยธยา” เมื่อ 6-8 ปีก่อน เป็นอย่างมาก ในขณะที่ขบวนทัพยังเดินทางมาไม่ถึงเมืองนครธม ความทราบข่าวถึงฝ่ายเขมร “พระสุริโยทัย” พระอนุชาในพระบรมลำพงษ์ราชา
กษัตริย์เมืองนครธมขณะนั้น จึงได้ยกกองทัพหน้าไปสกัดตีกองทัพของกรุงศรีอยุธยาแตกทัพพ่ายไป (สันนิฐานว่าเป็นทัพของพระราเมศวรในครั้งแรก)
พระบรมลำพงษ์ราชา นึกนอนใจว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่อาจทำอะไรได้อีก เพราะพระเจ้าอู่ทองพึ่งสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้เพียง 3 ปี จะเอาฤทธิ์เดชที่ไหนมาสู้กับเมืองนครธมที่ใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถมดินแดนละโว้-อโยธยา ก็เคยเป็นเมืองขึ้นของนครธม (กรุงยโสธรปุระ) มาแล้ว
พระบรมลำพงษ์ราชาจึงทรงบัญชาให้ถอนทัพกลับกรมกอง แต่เมื่อกองทัพของกรุงศรีอยุธยายกกองทัพกลับมานครธมอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีกองทัพของขุนหลวงพ่องั่วตามมาด้วย ด้วยความตกใจของพระบรมลำพงษ์ราชา จึงออกพระราชโองการให้กวาดต้อนราษฎรนอกกำแพงเมืองนครธม ให้เข้ามาไว้ในกำแพงเมืองนครธมให้หมด กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้เข้าล้อมเมืองนครธมไว้เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน ราษฎรในเมืองนครธมเกิดการ "อดอาหารอย่างหนัก" ไม่ต่างอะไรกับ
เหตุการณ์การโจมตีของกองทัพ “ละโว้-อโยธยา” เมื่อ 6-8 ปีที่แล้ว แต่ความแค้นของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ถึงขีดสุด กองทัพกรุงศรีอยุธยาตัดสินใจไม่ยกทัพกลับ ปิดกั้นทางเข้าออกอย่างแน่นหนา ห้ามคนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า ทำให้ราชฎรในเมืองนครธมหลายแสนคน “อดอาหาร”
(งานวิจัยล่าสุดของ “Diachronic modeling of the population within the medieval Greater Angkor Region settlement complex” ในวารสาร Science
Advance เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 กล่าวว่า จากการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยในเมืองนครธม ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือพุทธศตรรษที่ 18 เมืองนครธมมีประชากรอยู่ที่ 700,000 - 900,000 คน)
เมื่อเริ่มอดอาหารไม่ไหว พระบรมลำพงษ์ราชาจึงตัดสินพระทัยออกรบ โดยให้พระศรีสุริโยทัย (พระอนุชา) เป็นทัพหน้า ส่วนพระบรมลำพงษ์ราชา (กษัตริย์นครธม)
เป็นทัพหลวง และพระศรีสุริโยวงศ์ (สันนิฐานว่าเป็นพระอนุชาอีกพระองค์) เป็นทัพหลัง แต่การอดอาหารของชาวเมืองนครธมเป็นเวลานาน ทำให้ทหารเมืองนครธมอ่อนแรง มิอาจต้านทานกองกำลังของกรุงศรีอยุธยาได้ “พระบากษัตร” แม่ทัพกรุงศรีอยุธยาสามารถตีทัพหน้าของพระสุริโยทัย (พระอนุชา) ได้ และทำลายประตูเมืองนครธมลง ทะลวงเข้าไปถึงปราสาทบายนอันเป็นศูนย์กลางเมืองนครธม พระ
สุริโยทัยทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระบรมลำพงษ์ราชา กษัตริย์เมืองนครธมได้เสด็จสวรรคตด้วย พระศรีสุริโยวงศ์กองหลังเห็นว่ามิอาจต้านทานรักษาพระนครไว้ได้แล้ว จึงสั่งเหล่าราชครู ปุโรหิต พากันนำเครื่องสำหรับราชย์กกุธภัณฑ์ อันมีพระขรรค์ราช พระแสงหอกลำแพงชัย ตีฝ่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาหนีออกไปได้ หลบหนีอยู่แถบชายแดนล้านช้าง (สันนิฐานว่าเป็นเมืองสตึงเตรง หรือถาลาบริวัติ)
เมืองนครธม หรือเมืองพระนครหลวง อันเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิเขมรที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า 550 ปี ได้ถูกลำลายลง (ครั้งแรก) ในปี พ.ศ.1895 ต่อมาพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทั้ง 3 พระองค์คือ พระบากษัตร, พระบาอัฐ และ พระกฎุมบงพิสี แห่งราชวงศ์อู่ทอง ขึ้นเสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองนครธม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1896 – 1900 แทนที่ราชวงศ์แตงหวานเดิม
แต่หลังจากพระกฎุมบงพิสี ขึ้นครองราชย์ได้เพียง 1 เดือน พระศรีสุริโยวงษ์ เชื้อ
สายราชวงศ์แตงหวานเก่าที่หลบหนีออกไปยังเขตแดนล้านช้างครั้งกรุงนครธมแตก ได้กลับมาก่อกบฎอีกครั้ง โดยยกทัพเข้ามาเมืองนครธมยึดอำนาจจากพระกฎุมบงพิสีแห่งราชวงศ์อู่ทอง พระกฎุมบงพิสีสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระศรีสุริโยวงษ์ได้ขับไล่อิทธิพลอยุธยาออกไปจากนครธมทั้งหมด และสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์นครธมนามว่า “พระศรีสุริโยวงศ์” ทำให้ราชวงศ์แตงหวานกลับขึ้นมามีอำนาจในเมืองนครธมอีกครั้ง
เชื้อสายราชวงศ์อู่ทองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ที่ขึ้นเป็น
กษัตริย์ (ตามลำดับทำเนียบเดิม) หรือเจ้าเมืองนครธม ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
1. พระบาสาต (พระบากระษัตร) พ.ศ. 1896 – 1899
2. พระบาอาต (พระบาอัฐ) พ.ศ. 1899 – 1900
3. พระกฎุมบงพิสี พ.ศ. 1900 (1 เดือน) พงศาวดารเขมรในประชุมพงศาวดารภาคที่ 1 ระบุว่าเป็นพระโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชา พระมหากษัตริย์เขมรพระองค์ก่อน แต่พงศาวดารเขมรฉบับนักองค์เองระบุแตกต่างออกไปว่า พระกฎุมบงพิสี เป็นพระ
โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
หลังจากที่พระศรีสุริโยวงศ์ ราชวงศ์แตงหวานเก่ากลับเข้ามายึดอำนาจเมืองนครธม ได้มีการปกครองต่อไปอีก 2-3 รัชกาล ราว 30 ปี ถึงแม้กรุงศรีอยุธยาจะพยายามกลับเข้ามายึดเมืองนครธมคืนอีกครั้ง แต่ไม่อาจทำสำเร็จ เพราะในกรุงศรีอยุธยามีการผลัดเปลี่ยนขั้วอำนาจของราชวงศ์ อู่ทอง-สุพรรณภูมิ และการเข้ามามีอิทธิพลของราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย คือการแต่งงานดองญาติระหว่าง สุพรรณ
ภูมิ-พระร่วงสุโขทัย ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์ รวมถึงการหมดอำนาจของสมเด็จพระเจ้ารามราชาแห่งราชวงศ์อู่ทอง ที่ถูกเนรเทศไปอยู่ฟากปท่าคูจาม
จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พระเจ้าพระยา) รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รวมประเทศสำเร็จ ยึดแคว้นสุโขทัยเข้ามาส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาแล้ว ด้วยพระองค์มีแม่เป็นเจ้าหญิงสุโขทัย ทำให้ถือสิทธิ์เลือด 2 สาย เข้ารวม
ประเทศเป็นหนึ่ง พระองค์ได้ตัดสินใจยกกองทัพกลับมาทำลายเมืองนครธมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้พระองค์ต้องการทำให้ล่มสลาย มิอาจกลับขึ้นเป็นพระนครหลวงที่ยิ่งใหญ่แบบอดีตได้อีก ถึงแม้พระองค์จะส่งพระราชโอรส ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์สุพรรณภูมิกลับมาขึ้นครองเมืองนครธมในระยะเวลาสั้น ๆ อีก 2 รัชกาล แต่ด้วยประชากรเมืองนครธมที่น้อยลงมาก หลังจากถูกกวาดต้อนกลับไปกรุงศรีอยุธยาหมด ทั้งพระ
ประยูรญาติเชื้อพระวงศ์ พระยาแก้วพระยาไท เหล่าขุนนาง อีกทั้งรูปหล่อพระโคสิงห์สัตว์ต่าง ๆ รวมถึงพระพุทธรูป เทวรูป โลหะสำริด เพื่อเป็นการทำลายขวัญเมืองตามความเชื่อ จึงถูกขนย้ายออกไปจากปราสาทหินที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ปราสาทนาคพัน หลายอย่างอาจถูกทำลายในรัชกาลของเจ้าสามพระยาด้วยเช่นกัน จากการปิดล้อมนานกว่า 1 ปี 5 เดือน เช่น การทำลายบารายและระบบชลประทานในเมืองนครธม เพื่อมิให้มีประชากรอาศัยอยู่ได้มาก เมื่อเขมรกลับขึ้น
มามีอำนาจได้อีก จึงได้ทิ้งเมืองนครธม ปล่อยให้นครธมกลายเป็นป่า และย้ายราชธานีหนีอิทธิพลอยุธยาลงไปใต้เรื่อย ๆ ไปสร้างกรุงจตุมุข, กรุงละแวก, กรุงศรีสุนธร, กรุงอุดงมีชัย และตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสได้ทำการย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เมืองจตุมุข หรือ “กรุงพนมเปญ” ในปัจจุบัน
เรียบเรียง : เพจ ASEAN "มอง" ไทย
ภาพ : กองทัพสฺยำกุกฺและเชงฌาล บนกำแพงนครวัด
โฆษณา