19 ก.พ. 2023 เวลา 14:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ขั้นตอนการติดตั้ง Cooling Tower

𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 (คูลลิ่ง ทาวเวอร์) หรือหอระบายความร้อนของน้ำ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น หอหล่อเย็น หอผึ่งลม ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำกับอากาศ เพื่อทำให้อุณหภูมิของน้ำต่ำลง มีหน้าที่ลดความร้อนในกระบวนการผลิต และระบายความร้อนให้กับ Condenser และอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ
𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 เป็นส่วนหนึ่งของระบบปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chilled Water System)
อ่านบทความ > Cooling Tower (คูลลิ่ง ทาวเวอร์) ทำงานอย่างไร : http://www.advance-cool.com/cooling-tower-work/
เนื่องจากคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นระบบหมุนเวียนน้ำที่ใช้กำจัดความร้อนออกจากอาคาร อุปกรณ์ปรับอากาศ และกระบวนการทางอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีหลักการออกแบบ ติดตั้งที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องคำนึงไปถึงเรื่องของการบำรุงรักษา 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 อีกด้วย เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการใช้งาน รวมไปถึงการลดต้นทุนการดำเนินงานของระบบทำความเย็น และความเสี่ยงในการหยุดทำงาน
• ขั้นตอนการติดตั้ง 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿
1. พิจารณาเอกสารขออนุมัติใช้ (เบื้องต้น)
เมื่อผู้รับเหมาส่งเอกสารขออนุมัติใช้ 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 มาให้พิจารณา ผู้ควบคุมงานต้องพิจารณาเบื้องต้นก่อนส่งต่อให้ผู้ออกแบบพิจารณาอีกครั้ง เพื่ออนุมัติขั้นสุดท้าย โดยมีรายละเอียดสำคัญในเอกสารดังนี้
ศึกษาตาราง 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 พร้อมรายละเอียดทางเทคนิค รวมทั้งรายชื่อผู้ผลิต ที่ระบุอยู่ในรายละเอียดประกอบแบบ (Specification) เช่น
• ส่วนประกอบหลักของ Cooling Tower (Structural Details)
• Material Specifications
• Overall Dimension
• การต่อท่อ (Pipe Connection)
• ระบบงานทั้งหมดในการทำส่วนรองรับน้ำหนักขององค์รวม (Concrete Foundation Details)
• ตารางการไหลของน้ำ (Water Flow Selection Table)
• เสียงรบกวน (Noise Level)
2. พิจารณารายการข้อมูลให้ตรงกับ เอกสารที่ระบุในข้างต้น (ข้อ1)
• ชื่อและประเทศผู้ผลิต (ทุกๆ ส่วนประกอบหลักที่ระบุข้างต้น) ได้แก่ 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 อุปกรณ์ขับเคลื่อน (Gear หรือ Belt หรือ Direct Drive), มอเตอร์, ฯลฯ เป็นต้น
• ชนิด จำนวน และรุ่นที่เลือกใช้
• การเลือกขนาดรุ่นที่เลือกใช้ใน Selection Chart ให้สอดคล้องกับค่าอุณหภูมิน้ำเข้า-ออก และค่า Ambient Temperature ที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้
• วิธีพิจารณาเลือกขนาดของ 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 โดยทราบจากพารามิเตอร์ต่อไปนี้
2.1 อัตราการไหลของน้ำ (Water Flow Rate)
2.2 อุณหภูมิน้ำเข้า, อุณหภูมิน้ำออก
3.3 อุณหภูมิกระเปาะเปียกของบรรยากาศ (Ambient Wet Bulb Temperature)
โดยคำนวนเลือกขนาดของ 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 ที่จุดตัดใกล้กับเส้นแสดงขนาดต่างๆ ให้มากที่สุด หรือเส้นที่อยู่เหนือจุดตัดที่ใกล้ที่สุดใน Selection Chart
3. การตรวจสอบวัสดุเข้าไซต์งาน (𝗠𝗮𝘁𝗲𝗿𝗶𝗮𝗹 𝗼𝗻 𝗦𝗶𝘁𝗲 𝗜𝗻𝘀𝗽𝗲𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻)
Cooling Tower หรือหอหล่อเย็น ส่วนมากจะมาในรูปแบบที่ยังไม่ประกอบแล้วเสร็จ แต่จะแยกส่วนต่างๆ เพื่อนำเข้ามาประกอบที่สถานที่ติดตั้ง ดังนั้นควรตรวจสอบเบื้องต้นในด้านของวัสดุให้ตรงกับที่ได้รับการอนุมัติ
• ผลิตภัณฑ์
• รุ่น/ชนิด
• ขนาดมอเตอร์
• อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีครบตามเอกสารที่ได้รับการอนุมัติ
4. ตรวจสอบ 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 (หลังจากการประกอบแล้วเสร็จ)
• ขนาดและทิศทางของท่อน้ำ เข้า-ออก, ท่อ Equalizer, ระบบ Bleed-off, ระบบน้ำเติม (Make-up water), ชุดลูกลอย, Over Flow&Drain ที่ได้รับการอนุมัติ
• ความเรียบร้อยทั่วไป เช่นองค์ประกอบภายนอกอย่างสี ป้ายต่างๆ
• คู่มือแนะนำการใช้งานและบำรุงรักษา
ข้อควรระวังในการติดตั้ง (𝗜𝗻𝘀𝘁𝗮𝗹𝗹𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗣𝗿𝗲𝗰𝗮𝘂𝘁𝗶𝗼𝗻)
• ฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก (𝗖𝗼𝗻𝗰𝗿𝗲𝘁𝗲 𝗙𝗼𝘂𝗻𝗱𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻)
- ขนาดของฐานต้องเหมาะสมกับขนาดฐาน 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿
- ฐานคอนกรีตจะต้องติดตั้งบนพื้นที่แข็งแรง และมั่นคง
- ความสูงของฐานคอนกรีต 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 ต้องมีความสูงเหมาะสมกับการเข้าบำรุงรักษาท่อน้ำ/อุปกรณ์ที่ติดตั้งใต้ฐาน
- ในกรณีที่ติดตั้งบนหลังคา จะต้องให้ผู้รับเหมาก่อสร้างคำนวณน้ำหนัก ขณะใช้งาน หรือ Operating Weight และกำหนดตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม (เช่นหัวเสา, กึ่งกลางคาน ฯลฯ)
- หากพื้นที่หลังคา มีการติดตั้ง Waterproof Membrane จะต้องประสานงานกับฝ่านอื่นๆ ในเรื่องวิธีการติดตั้ง Cooling Tower Support, Pipe Support เป็นต้น
• ตรวจสอบการติดตั้ง 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 และอุปกรณ์ประกอบให้ถูกต้องและครบถ้วนตามแบบทำงาน
• ระดับ/ระยะ และแนวท่อน้ำเข้า-ออก
• ระดับท่อน้ำด้านออกจาก Condenser water supply : CDS จะต้องติดตั้งในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่า ท่อทางออกที่ Sump Cooling Tower เพื่อป้องกัน Air lock ในระบบ
• ขนาดท่อ Equalizer ควรมีขนาดเท่ากับท่อ CDS เพื่อรักษาระดับน้ำใน Basin ของ Cooling Tower
• อุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือน (ถ้ามี)
• พื้นที่รอบ Cooling Tower ต้องมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง ตรวจสอบ และซ่อมบำรุง และต้องไม่ชิดกับอาคาร แผงระบาย
• ระวังอากาศที่มากเกินไป เพราะจะทำให้การระบายความร้อนไม่ดีพอ
• การติดตั้ง Flexible Pipe Connector & Tie Rod (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตาม Typical Detail และคำแนะนำของผู้ผลิต
• ตรวจสอบความถูกต้องของการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ท่อน้ำเติม (Make up Water), Safety Switch, งานไฟฟ้าอื่นๆ
• ตรวจสอบการทาสีท่อ วิธีการป้องกันสนิมของ Support ให้ถูกต้องตามข้อกำหนด
5. วิธีการทดสอบ
5.1 𝗣𝗿𝗲-𝗧𝗲𝘀𝘁 𝗥𝘂𝗻
• ตรวจสอบการหล่อลื่นของมอเตอร์ จะต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นหรือจารบีตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
• ตรวจสอบศูนย์ของเพลา (Shaft) ของมอเตอร์ พัดลม,สายพาน, Gear Reducer จะต้องไม่คดงอ ใช้มือหมุนเพลา ใบพัด เพื่อตรวจสอบและปรับแต่ง
• ตรวจสอบความเรียบร้อยของสายไฟฟ้า และวัดค่าความต้านทานของขดลวดมอเตอร์และสายไฟฟ้า รวมทั้งสายดิน
• ตรวจสอบขนาด และการทำงานรวมทั้งการตั้งค่าของอุปกรณ์ควบคุม
• กดปุ่มเปิด-ปิด เพื่อเดินมอเตอร์ไฟฟ้า และดูทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้สอดคล้องกับทิศทางหมุนของพัดลม
• ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้าและรอบความเร็วของมอเตอร์
• ตรวจสอบอุณหภูมิ และเสียงที่ผิดปกติของมอเตอร์และพัดลม
• ตรวจสอบน้ำในระบบและแหล่งจ่ายน้ำ ความสะอาด
• ตรวจสอบจุดต่อต่างๆ ในเส้นท่อน้ำ และอุปกรณ์เครื่องมือวัดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ในขั้นตอนนี้ ควรให้ผู้รับเหมานำเสนอแบบฟอร์ม Test Report เพื่อสรุปรายการทดสอบ และจัดหาเครื่องมือวัดที่มีใบ Calibration Certificate เช่น
• เครื่องวัดรอบ (Tachometer)
• เครื่องวัดความดัน (Pressure Gauge)
• เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)
• เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer)
• เครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Hygrometer)
• เครื่องวัดค่าความต้านทาน (Insulation Tester)
• เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบคล้อง (AC/DC Clamp meter)
• เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า (Volt meter) เป็นต้น
5.2 𝗧𝗲𝘀𝘁 𝗥𝘂𝗻
• เปิดวาล์วน้ำเติม (Make up water)
• เปิดวาล์วท่อน้ำจ่ายและกลับ (CDS / CDR) ที่ Cooling Tower, Condenser Water Pump และ Chiller
• เปิดวาล์วท่อ Equalizer ที่ Cooling Tower
• ให้มีน้ำใน Sump Cooling Tower และห้องเครื่องสูบน้ำจนเต็มระบบก่อนเดินเครื่อง
• กดปุ่มเดินเครื่องสูบน้ำที่ Cooling Tower และ Chiller
• ตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์และพัดลม และเสียงที่ผิดปกติ
• ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า และรอบความเร็วของมอเตอร์
• ตรวจสอบอุณหภูมิของมอเตอร์ไฟฟ้า และจุดหล่อลื่นต่างๆ ของ มอเตอร์และพัดลม
• ตรวจวัดแรงดันน้ำด้านเข้า-ออกที่เครื่องสูบน้ำ และหาค่าแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบแรงดัน
• ตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำโดยดูจาก Pump Curve
• ตรวจวัดปริมาณลม โดยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)
• ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศบริเวณรอบตัว Cooling Tower และที่ด้าน Fan Discharge
• ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำเข้า-ออก ที่ท่อน้ำ Condenser ของตัว Chiller
• จดค่าปริมาณน้ำเติมจากมิเตอร์น้ำเติม เพื่อตรวจสอบปริมาณน้ำที่สูญเสียในระบบ
ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ มีประเภท ขนาดและการออกแบบที่หลากหลาย สำหรับการระบายความร้อนไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ การตรวจสอบ หรือพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกซื้อ ไปจนถึงการตรวจสอบก่อนใช้งานอย่างละเอียด และถูกวิธี
ที่ขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าหลังจากการทำการติดตั้ง 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗧𝗼𝘄𝗲𝗿 แล้วเสร็จ จะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดปัญหาการหยุดชะงักของเครื่องจักรได้เป็นอย่างดีครับ
หากคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบของหอทำน้ำเย็น และการระบายความร้อนที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานของคุณ ผู้เชี่ยวชาญที่ 𝗔𝗖𝗧 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗼𝗹 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 จะช่วยให้คำแนะนะในการเลือกซื้อ Cooling Tower พร้อมบริการจำหน่าย/ติดตั้ง Cooling Tower โดยทีมงานมืออาชีพเฉพาะทาง ประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และบริการรับประกันหลังการขาย
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#CoolingTower #หอหล่อเย็น #คลูลิ่งทาวเวอร์ #ติดตั้งCoolingTower
โฆษณา