19 ก.พ. 2023 เวลา 14:53 • ความคิดเห็น
ผมมองว่า “small talks” เป็น “soft power” ที่ทรงพลังอย่างหนึ่ง มันเป็นศิลปะในการสื่อสารที่ใช่ว่าทุกคนจะมี
แต่ผมเชื่อว่า “มันเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้”
ผมเองเคยทำงานเป็น “เด็กเสริฟ” ในร้านอาหารมาก่อน
“การเดินดุ่ยๆ” เข้าไป “เปิดบทสนทนากับทั้งคนแปลกหน้าและคนหน้าแปลก” นั้น เป็น “ส่วนหนึ่งในชีวิต” ของผมเลยทีเดียว
ปกติผมเป็นคนชอบศึกษาด้านเทคโนโลยี และชอบใช้เวลาอยู่ใน “comfort zone” ของผม โดยการ “นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์” อย่างสงบแต่เต็มไปด้วย “ความกระหนักคิด” อย่างเข้มข้น!
1
จนกระทั่งผมได้มีโอกาสไปเป็นเด็กเสริฟในร้านอาหาร เพื่อหาเงินใช้ประทังชีวิต
และ “comfort zone” ในแบบของผมก็ถูกทำลายลง เปรียบประดุจ “Berlin Wall” ที่ถูกทุบทำลายลงอย่างราบคาบ!
2
ในแต่ละสัปดาห์ ผมพูดคุยและสื่อสารกับลูกค้าแปลกหน้าอยู่หลายร้อยราย และ “ส่วนใหญ่” เราสื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ
เมื่อผมทำงานในร้านอาหารไประยะหนึ่ง ผมเองก็พบว่า ผมได้มี “ทักษะ” ในลักษณะ “People Skills” มากขึ้น พูดจา “ตรงขึ้นและเข้าประเด็นเร็วขึ้น” และในที่สุด ผมรู้สึกได้ว่า “ผมมีความสามารถในการอ่านใจคนได้มากขึ้น”
2
ทุกวันนี้ผมมักบอกกับตัวเองว่า
“การเป็นเด็กเสริฟในร้านอาหาร” ได้มอบ “ปริญญาชีวิต” ให้ผมมาหนึ่งใบ และทักษะชีวิตใหม่ๆที่ผมเรียนรู้ในการ deal กับผู้คนในร้านอาหารนั้น มันช่างเป็นทักษะที่มีค่า ที่ผมสามารถนำมาใช้ได้จนถึงทุกวันนี้!
1
1) จากประสบการณ์ตรงของผม
ผมเป็นคนชอบรถยนต์มาตั้งแต่เด็กๆ ผมมักมีความสนใจศึกษารถยนต์ยี่ห้อต่างๆ
จนกระทั่งผมได้มีโอกาสใช้รถเอง ผมก็มีความอยากรู้อยากเห็นในชีวิตการใช้งานและการบำรุงรักษารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆที่ผมยังไม่มีโอกาสทดลองใช้
วันหนึ่งในขณะที่ผมลงจากรถที่ผมใช้ ในบริเวณลานจอดรถ
ผมพบว่า มีเจ้าของรถยนต์ยี่ห้อที่ผมไม่เคยไป “Test Drive” นำรถเข้ามาจอดเทียบข้าง
ทันใดนั้น ผมก็ตัดสิใจเดินเข้าไป สอบถามเจ้าของรถยนต์คันนั้น ถึงประสบการณ์การใช้งาน ทั้ง “handling characteristics” (การขับขี่) ไปจนถึง ประสิทธิภาพในการประหยัดนำ้มัน และที่สำคัญคือ ความพึงพอใจในการนำรถยนต์เข้ารับบริการจากศูนย์ฯ
ผมทำแบบนี้อยู่ประมาณ 2-3 ครั้ง ด้วย “ความสุภาพ” และ ความอยากรู้อยากเห็น “ด้วยความจริงใจ”
1
จนเจ้าของรถยนต์ที่ผมเดินเข้าไปสอบถาม มัก “เปิดใจ” แชร์ประสบการณ์การใช้งานรถอย่างตรงไปตรงมา!
1
ดังนั้น หากเราต้องการเปิดบทสนทนากับคนแปลกหน้าด้วยความ
มั่นใจ
1
“ความสุภาพ” คือ ข้อปฏิบัติข้อแรก เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่า คนแปลกหน้าเหล่านั้น พวกเขาและเธอ พานพบ
1
“bad day หรือ good day” มา!
และแน่นอนว่า “ประเด็นในการสนทนา” ต้องมีความ “ชัดเจน” และตรงไปตรงมา โดยการ “โต้ตอบกลับ” ของคู่สนทนานั้นจะถูกนำมาใช้เป็น “ข้อมูล” ในการประเมินสถานการณ์ว่า
2
“คุณมีโอกาสจะได้เปิดบทสนทนา” ต่อไปหรือไม่
หรือควร “จบบทสนทนา” แล้วให้โอกาสคู่สนทนาและตัวคุณเอง ทำธุรกรรมของใครของมันต่อไป!
และบทสรุปนี้ ผมได้มาจากประสบการณ์ตรงในการทำงานเป็น “เด็กเสริฟ” ในร้านอาหารนั่นเอง!
2) ปกติผมเองก็ไม่ค่อยจะได้ไปพูดคุยกับคนแปลกหน้ามากนัก
แต่สมมุติว่า ผม “มีแรงจูงใจ” ในการกระทำดังกล่าว ผมขอวาดภาพ scenario ในร้านกาแฟดังนี้
1
ผมเดินเข้าไปในร้านกาแฟที่ผมไม่เคยไปแห่งหนึ่ง ผมแค่อยากซื้อ Muffins มากินแก้หิว หลังจากขับรถมาเกือบสองชั่วโมง
1
ผมพบสุภาพสตรีสาวสวยท่านหนึ่งที่เธอนั่งจิบกาแฟพร้อมกับเล่น smartphone ของเธออยู่ แต่เผอิญ
ผมสังเกตเห็น “พวงกุญแจ Lexus” ของเธอตั้งอยู่ข้างๆกายเธอ ซึ่งผมเองเคยไป “Test Drive” รถ Lexus มาหลายรุ่น
ผมจึงเดินเข้าไปหาเธอแล้ว เปิดบทสนทนาว่า
“ขอโทษนะครับ ผมเคยไป ทดลองขับ Lexus ในกลุ่มตัวถังที่เป็น SUV
ไม่ทราบว่า คุณใช้ Lexus รุ่นไหนอยู่ และมีประสบการณ์ในการใช้งานยังไงบ้างครับ?”
ครับ ถึงเวลานี้ ผมกำลัง “รอ” การโต้ตอบกลับของเธอ ว่า “จะเป็นไปในทิศทางใด” คล้ายๆ การ “ยิงประตูตรงจุดโทษ” นั่นเอง!
> ถ้าเธอบอกว่า เธอกำลัง “ติดธุระ” เช่น กำลังเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ประชุมในช่วงบ่าย ผมก็จะให้โอกาสนั้นแก่เธอ
> แต่ถ้าหากเธอ ตอบกลับมาว่า ถ้าให้เธอบรรยายถึง “ความชื่นชอบ” ที่เธอมีต่อประสบการณ์การใช้งาน Lexus
เธอขอแนะนำให้ผมไปสั่ง Muffins มาสักสองชิ้น แล้วกลับมานั่งข้างๆเธอเพื่อฟังเรื่องที่เธออยากจะแชร์แบบนานๆไปเลย!
3) และผมอยากจะเพิ่มเติมว่า
ผมเคยได้ยินว่าคนเราส่วนใหญ่มักอยากจะเป็นฝ่ายเล่าเรื่อง ดังนั้นการชวนคุยโดยเราเป็นฝ่ายถามคำถามปลายเปิดหรือ open-ended questions ให้คู่สนทนาตอบนั้น น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลครับ
เช่น หากผมเพิ่งสนทนากับใครเป็นครั้งแรกแล้วไม่รู้จะคุยเรื่องอะไร ผมจะมองไปที่ smartphone ที่อีกฝ่ายใช้ แล้วถามคำถามเป็นต้นว่า คุณมีประสบการณ์การใช้งานเครื่องที่ติดตั้งระบบ iOS/Android อย่างไรบ้าง และคุณชอบระบบไหนมากกว่ากัน? เป็นต้นครับ
1
อีกวิธีที่สามารถใช้ควบคู่กันคือ การฟังอย่างตั้งใจแล้วหาสิ่งที่เป็น common ground เป็นต้นว่า คู่สนทนาเล่าว่าเคยใช้ smartphone ถ่ายภาพตอนที่ไปเรียนดำน้ำที่ภูเก็ต แน่นอนว่าถ้าคุณเคยไปภูเก็ตมาก่อน คุณก็จะมีหัวข้อสนทนาใหม่ๆอีกมากมายรออยู่ครับ!
โฆษณา