Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณ ขณะ
•
ติดตาม
20 ก.พ. 2023 เวลา 02:30 • นิยาย เรื่องสั้น
เพลงฟักทองและแท็กซี่ที่รัก
“หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา...........อีเลฟเว่น” วลีนี่ใช้ได้ผลอยู่เสมอ บิ๊กต้องการอาหารลงไปปราบพยศเจ้ากระเพาะสักหน่อย ที่จริงเขาอยากได้เกี้ยวน้ำกุ้งจักพรรดิ แต่เหรียญที่อยู่ในมือ คงถือได้แค่ถ้วยมาม่าคัพออกจากร้าน บิ๊กนั่งลงเก้าอี้ม้าหินอ่อน ตรงคิวรถแท็กซี่ ห้วยยอด-ตรัง
“ฟักทอง ของเรา หายไป หนใดเสียดาย ฟักทอง ของเรา หายไป”
เพลงฟักทองของอัสนี-วสันต์ ดังผ่านลำโพงที่ประตูเปิดแง้มไว้ ชายเลยวัยกลางคนกำลังปรุงเสียงผ่านเครื่องมิซ์ ขณะที่เพื่อนร่วมอาชีพอีกคนกำลังรื่นรมย์กับรสชาติกาแฟควันร้อนหอมฉุย บิ๊กเงี่ยหูฟังจังหวะโคนดนตรีแล้วกระดกเท้าตามจังหวะกลอง
เขานึกถึงวัยเด็กตอนที่คุณแม่พาขึ้นรถแท็กซี่ไปเที่ยวห้างสิริบรรณ
เช้าวันอาทิย์ แม่จะรีบมาจองเบาะนั่งด้านหน้าข้างคนขับ การได้สัมผัสกับลม ทำให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการสร้างตัวละครขึ้นมา โดยให้แขนขวาเป็นฝ่ายฮีโร่ส่วนแขนซ้ายคือเจ้าสัตว์ประหลาด พร้อมพากษ์เเสียงเลียนแบบน้าต๋อยแซมเบ้ บางทีเล่นจนเพลิน เผลอยื่นมือออกนอกตัวรถมากเกินไป จึงโดนแม่และคนขับหันมาดุ ถ้าวันไหนมีเหตุให้ต้องนั่งเบาะด้านหลัง เพื่อนผู้โดยสารจะได้เห็นสีสันของอาหารเช้า ที่พุ่งออกผ่านลำคอแน่นอน
ไม่รู้เป็นแผนที่เด็กชายบิ๊กตั้งใจไว้หรือเปล่า หลังจากทำการแสดง เขาจะได้ที่นั่งเบาะหน้าเหมือนเดิม
ตอนนี้บิ๊กมีรถยนต์ส่วนตัวขับแล้ว แต่มันก็ต้องแลกด้วยพลังงานชีวิต ทั้งแรงกายและแรงใจ รวมถึงต้องประหยัดมัธยัสถ์ วันนี้เงินเดือนออก เขาต้องจ่ายค่างวดรถ ซึ่งเกินครึ่งของรายได้ ยุคสมัยที่เราให้ค่ากับ หน้าตา ชื่อเสียงและเงินทอง เราถูก สังคมวัตถุนิยม โฆษณา ให้เราเชื่อในปัจเจกนิยม ต้องดีกว่า เด่นกว่า เมื่อคนกลายเป็นหน่วยย่อยที่ตัดขาดจากกัน เพราะใครๆก็มีรถยนต์ส่วนตัวกันทั้งนั้น การนั่งรถโดยสารกับคนไม่รู้จักจึงเป็นเรื่องแปลกในยุคสมัยนี้
เวลากำลังย่ำรุ่งในวันอาทิตย์ เขาเดินไปหาคนขับ ยื่นธนบัตร สีเขียวให้ 4 ใบ
“ลมปะทะหน้า กับจินตนาการ พระเจ้าโปรดบันดาล ให้ข้ากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง”
ความคิดที่ว่าอิสรภาพทางการเงินหมายถึง ความมั่งคั่งนั้น มาจากมุมมองเกี่ยวกับเงินในระดับถนนซึ่งเป็นมุมมองแรกสุด เป็นอิสรภาพทางการเงินในระดับวัตถุ มุมมองระดับนี้เรียกร้องให้เรายังมีปริศนาหนึ่งแฝงอยู่ว่า “ความรวย ” นั้นคืออะไร ความรวยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นหรือคนอื่น จอร์น สจวร์ต มิลล์ เคยกล่าวไว้ว่า “มนุษย์มิได้ปราถนาความร่ำรวย แต่ปราถนาเพียงให้ร่ำรวยกว่าผู้อื่น”
หน้า 162-163 อิสรภาพทางการเงิน
ชื่อหนังสือ เงินหรือชีวิต(YOUR MONEY YOUR LIFE)
สำนักพิมพ์ Openbooks เขียนโดย วิกกี โรบิน และ โจ โดมิงเกซ แปลโดย ฐณฐ จินดานนท์
ณ ขณะ
book/camp/space
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย