21 ก.พ. 2023 เวลา 15:29 • ท่องเที่ยว
Memorial and Museum Auschwitz II-Birkenau

Auschwitz-Birkenau ความทรงจำแสนทรมาน (Part 1/2)

เมื่อเอ่ยถึงยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) อันที่จริงเรื่องนี่น่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินผ่านหูถึงเรื่องความโหดร้ายและรุนแรงในอดีตมาบ้างแล้ว แต่เราต้องขอเตือนก่อนว่าเรื่องราวในการเดินทางไปพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Auschwitz-Birkenau ในครั้งนี้จะไม่มีความสดใส จะมีเพียงความรู้สึกหนักอึ้ง โหดร้าย และโศกเศร้าที่ถูกส่งมายังความทรงจำของคนรุ่นหลังอย่างเราๆ
2
พิพิธภัณฑ์ Auschwitz-Birkenau หรือค่ายกักกันชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองแห่งนี้ ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ ค่าย Auschwitz I และ Auschwitz II (Birkenau) ค่ายทั้งสองแห่งนี้นับว่าเป็นค่ายที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุด ทั้งในเรื่องขนาดพื้นที่และจำนวนเหยื่อที่ถูกสังเวยชีวิตในที่แห่งนี้
ด้านหน้าทางเข้า
สำหรับการเดินทางและการเข้าชม แนะนำว่าควรเปิดจองตั๋วผ่านเว็บไซต์ก่อนที่จะเดินทางมาจริงๆ โดยอาจจะหาทัวร์แบบครึ่งวันหรือหนึ่งวัน ที่รวมการเดินทาง ตั๋วเข้าชมค่าย และเหมืองเกลือ (กรณีทัวร์หนึ่งวัน) หรือถ้าอยากลุยเดี่ยว ซุยเองแบบเราก็จองตั๋วผ่านเว็บพิพิธภัณฑ์ได้โดยตรง และไปซื้อตั๋วบัสในเมือง Krakow เพื่อไปที่ค่ายอีกต่อนึงก็ได้เช่นกันจ้า
เริ่มต้นจากที่เราตรวจตั๋ว เราจะได้รับสติ้กเกอร์บอกกลุ่มทัวร์และหูฟังจากเจ้าหน้าที่ จากนั้นเขาจะให้เราเข้าชมภาพยนตร์สั้นประมาณ 10 นาที ที่สรุปเรื่องราวความเป็นมาของค่ายแห่งนี้ โดยส่วนมากจะเป็นการเล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายจากในอดีตที่เป็นภาพขาวดำ และมีการตัดต่อเพื่อเปรียบเทียบกับรูปถ่ายสีในยุคปัจจุบัน นับว่าเป็นการนำเสนอที่ดีมากๆ ส่วนเนื้อหาเรื่องราวก็จัดว่าหดหู่พอควร
1
ประตูทางเข้า
เอาล่ะ...ถ้าพร้อมกันแล้ว เรามาเปิดใจ รับฟังเรื่องราวในอดีตกัน ขอออกตัวก่อนว่าเรื่องราวต่อจากนี้ เป็นเรื่องราวที่ฟังมาจาไกด์คนที่นำชมในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นการทัวร์ภาษาอังกฤษ ดังนั้นอาจจะมีการตกหล่นบ้าง หรือมีข้อผิดพลาดใดก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ
วิวระหว่างยืนรอไกด์พาเข้าชมค่าย
มาเริ่มกันที่จุดยอดฮิต ซุ้มประตูแห่งความหลอกลวง เป็นซุ้มประตูเหล็กที่มีคำว่า ‘ARBEIT MACHT FREI’ ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ ‘work will set you free’ ซึ่งเป็นประโยคที่ไม่เคยเป็นจริง เพราะว่าที่แห่งนี้เป็นค่ายแห่งความตาย คนที่เข้าไปแล้ว (แทบ)ไม่มีโอกาสรอดชีวิตได้เลย สุดท้ายแล้วประโยคนี้ก็เป็นเพียงคำหลอกลวงที่นาซีใช้เพื่อแลกกับแรงงานไร้ราคาจำนวนมาก
3
The lier gate
หลังจากที่เราเดินผ่านซุ้มประตูไปแล้ว ไกด์จะพาเราไปยังพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงภาพในอดีต แผนที่จำนวนค่ายในอดีต ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่น่าตกใจ อย่างเช่นจำนวนคนที่เสียชีวิตในค่าย Auschwitz แห่งนี้ ระหว่างปี 1940 - 1945 ที่มีมากถึง 1,300,000 คน ซึ่งจุดนี้ไกด์ได้แทรกเพื่อมเติมว่า จำนวนที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่จำนวนคนคร่าว ๆ ที่มีการยืนยันจริง
2
ส่วนคนที่ไม่มีการยืนยัน เช่น คนที่ถูกฆ่าทันทีตั้งแต่มาถึงหน้าค่าย จะไม่มีการจดบันทึกไว้ ดังนั้นจำนวนคนที่เสียชีวิตในที่แห่งนี้อาจมีมากถึง 2 ล้านคนหรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ค่ายแห่งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ชาวยิวเท่านั้น ยังมีชนชาติอื่นๆ เช่นยิปซี หรือแม้กระทั่งคนโปแลนด์ที่แอบให้ความช่วยเหลือชาวยิวด้วยเช่นกัน
1
จำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน
จากนั้นห้องถัดไปจะมีการจัดแสดงตัวอย่างห้องรมแก๊สในตำนาน โดยเรื่องราวได้รับฟังมาคือ เมื่อคนยิวที่เดินทางมาจากทางรถไฟมาถึง ทางทหารจะชี้แจงว่าให้เขาไปอาบน้ำ ให้สะอาด สบายตัวก่อนที่จะเริ่มทำงาน โดยทางกองทัพได้เตรียมเสื้อผ้าสะอาดเอาไว้ให้พร้อมแล้ว เชิญเข้าไปอาบน้ำ โดยให้ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด และกองไว้ในห้องแรก
จากนั้นจึงเดินตัวเปล่าเข้าห้องอาบน้ำ แต่ภายในห้องนั้น ไม่มีน้ำออกมาจากท่อ มีเพียงแก๊สพิษที่คร่าชีวิตคนทั้งหมดในคราวเดียวและเรื่องราวแบบนี้ยังเกิดขึ้นอีกนับครั้งไม่ถ้วน ด้วยเหตุผลเพียงแค่การฆ่าคนด้วยแก๊สพิษ เป็นการกำจัดคนจำนวนมากได้สะดวก ประหยัดเวลา และสะอาดที่สุด ไม่ต้องมาล้างคราบเลือด... ส่วนที่หลอกว่าให้อาบน้ำ เพราะว่าคนจะได้ถอดเสื้อผ้าและของมีค่าออก จะได้เอาไปเก็บ แบ่งเป็นส่วนและขายต่อได้อีก ถึงจุดนี้เราก็แอบอึ้งไปพอควร มันก็มีความสมเหตุสมผลในความโหดร้ายนี้อยู่
แบบจำลองห้องรมแก๊ส
ถัดมาก็จะเป็นส่วนของการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของคนที่นำมาก่อนจะเข้ามาอยู่ในค่าย มีทั้งกระเป๋าเดินทาง รองเท้า แว่นตา เสื้อผ้า รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น ขาเทียมของผู้พิการ ของเหล่านี้ถูกจัดแสดงเป็นภูเขาภายใต้กระจกขนาดใหญ่ในห้องจัดแสดง และความจริงที่โหดร้ายอีกอย่างนึงที่รับได้รับรู้ที่นี่คือ บุคคลพิการทั้งหมดที่ถูกส่งมาที่นี่ จะถูกสังหารทันทีที่มาถึงค่าย เพราะจัดว่าเป็นบุคคลไร้ประโยชน์ไม่สามารถใช้งานได้ (และดูจำนวนขาเทียมที่กองอยู่นั่นสิ)
1
อันที่จริงส่วนที่สยองที่สุดคือการจัดแสดงผมของสุภาพสตรีที่ถูกโกนทิ้งไว้ตอนเข้ามายังค่าย ส่วนนี้เป็นส่วนจัดแสดงที่ไม่สามารถถ่ายภาพได้ เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่ผู้วายชนม์ ภายในห้องจะมีการจัดแสดงกองผมขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักคร่าวๆ อยู่หน่วย ตัน ซึ่งส่วนที่นำมาจัดแสดงนั้นเป็นเพียงส่วนที่หลงเหลืออยู่หลังจากการปลดปล่อยค่าย ส่วนเส้นผมก่อนหน้านี้นั้นถูกนำไปแปรรูปเปลี่ยนเป็นพรมและขายออกไปเรียบร้อย
2
ข้าวของเครื่องใช้ของคนในค่าย
และยังมีการพาเดินชมโถงภาพถ่ายของคนในค่ายที่มีการถ่ายภาพบันทึกประวัติ ในภาพถ่ายจะเป็นคนหัวโล้น ใส่ชุดลายทาง ปักชื่อ สัญลักษณ์ระบุกลุ่มชาติพันธุ์หรือประวัติอาชญากรรมภายในค่าย และมีการบรรยายชื่อ ชนชาติไว้ใต้ภาพ ส่วนนี้เขาอนุญาติให้ถ่ายภาพได้ แต่เราไม่ได้ถ่ายมา เพราะรู้สึกไม่ดี ที่จะไปถ่ายภาพของผู้เสียชีวิต ซึ่งจริงๆ แล้วเขาไม่ได้อยากถ่ายภาพเหล่านี้เลย
1
นอกจากนี้ยังมีการพาเดินชมห้องนอน คุก และห้องรมแก๊ส ซึ่งในส่วนของคุกนั้นไม่สามารถถ่ายภาพได้ รายละเอียดคร่าวๆ คือจะเป็นห้องขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียงพอให้เรายืนและนั่ง ปิดมิดทึบ มีแค่ช่องระบายอากาศขนาดเล็กเท่านั้น นับว่าไม่เห็นเดือนเห็นตะวันของจริง เพราะพื้นที่แค่นั้น เรียกว่าแทบจะขยับตัวไม่ได้ด้วยซ้ำ
1
ห้องเผาศพม ห้องรมแก๊ส คุก ทางเข้าห้องรมแก๊ส
ส่วนความเป็นอยู่ในยามปกตินั้น ต้องเรียกว่าแย่มาก โดยเฉพาะหน้าหนาวที่ในอดีตมีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส เพราะภายในค่ายแห่งนี้จะมีเพียงฮีตเตอร์แบบโบราญ ตั้งอยู่กลางห้อง 1 - 2 แห่ง ตามขนาดห้อง จัดว่าให้ความอบอุ่นเพื่อกันตายเท่านั้น
1
สภาพความเป็นอยู่และฮีตเตอร์
นอกจากนี้ยังมีจุดสำคัญอีกแห่ง นั่นก็คือจุดยิ่งเป้า หรือ Death wall เป็นจุดที่ผ่านการจบชีวิตของคนมานับไม่ถ้วน ลานประหารนี้ถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณบล็อกที่ 10 และ 11 เป็นลานประหารขนาดไม่ใหญ่ ถูกสร้างขึ้นมาจากอิฐเทาก่อวางเรียงกันแบบง่ายๆ เช่นเดียวกันกับชีวิตคนจำนวนมาก (ประมาณ 5,000 คน) ที่จบลงอย่างง่ายดายในบริเวณแห่งนี้
ด้านหน้าลานยิงเป้าจะมีดอกไม้ และเทียนที่แสดงถึงการเคารพแด่ผู้ที่จากไป ส่วนนี้เราไม่มั่นใจว่ามีตลอดทั้งปีรึป่าว เพราะว่าวันที่เราไปคือวันที่ 28 มกราคม หลังจากวันปลดปล่อยเชลยศึกหรือวันรำลึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในวันที่ 27 มกราคม เราเลยไม่มั่นใจว่าเป็นดอกไม้จากงานเมื่อวาน หรือวางปกติตลอดทั้งปี
Death wall - the final destination of prison
จบกันไปแล้วสำหรับค่ายแห่งแรก Auschwitz I ยังมีต่อภาค 2 Auschwitz II (Birkenau) ในโพสถัดไปนะคะ
โฆษณา