Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ditto Thailand
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2023 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
4 ประโยชน์ e-Signature เทคโนโลยีช่วยพัฒนาระบบหน่วยงานรัฐ
e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีในการลงลายมือชื่อบนเอกสารออนไลน์ สามารถใช้ทดแทนลายเซ็นที่เป็นปากกาได้
อีกทั้งลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ยังได้ถูกรองรับตามกระบวนการกฎหมาย มาตรา 26 สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมได้ไม่ว่าจะเป็น การเงิน อสังหาริมทรัพย์ หรือทางด้านกฎหมาย และตอนนี้ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเข้าถึงบริการของราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากคุณยังไม่รู้จักหรือไม่รู้ว่าข้อดีของการมีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างไร แล้วหน่วยงานรัฐไหนใช้ e-Signature บ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
4 ประโยชน์ e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่คุณควรรู้
●
เซ็นได้ทุกที่ทุกเวลา
เราสามารถเซ็นชื่อ เซ็นเอกสารสำคัญได้ทุกที่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้าน อยู่ต่างประเทศ ก็สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการอนุมัติหรือเซ็นรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปถึงบริษัท หรือหน่วยงานราชการให้เสียเงินเสียเวลา ก็สามารถเซ็นเอกสารได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต
●
เก็บเอกสารเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เพราะฉะนั้นไฟล์เอกสารที่เซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน ซึ่งข้อดีนี้จะช่วยให้การเก็บเอกสารนั่นง่ายขึ้น ลดพื้นที่เก็บกระดาษในหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
●
ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการ
เมื่อใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะทำให้การทำงาน ในการวิเคราะห์และตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์เองยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา ลดความผิดพลาดของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
●
ลดเวลาการทำงาน จัดส่งเอกสารได้รวดเร็ว
ปกติถ้าเวลาที่เราไปเซ็นเอกสารที่หน่วยงานราชการ นอกจากเสียเวลาเดินทางไปเซ็นแล้ว ยังต้องเสียเวลาในการรอคอยระบบปฏิบัติการที่ใช้คนในการทำงาน แต่ถ้าเราเซ็นเอกสารด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เราไม่ต้องเดินทางไปเซ็น แถมยังใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบลายเซ็นได้อีกด้วย ลดการทำงาน เอกสารดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยงานรัฐที่ใช้ e-Signature
●
กรมสรรพากร
เรียกว่าเป็นหน่วยงานแรก ๆ ของประเทศไทยที่ได้นำลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานบริการประชาชน ได้มีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนการยื่นคำขอแบบ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax & invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
●
กรมบัญชีกลาง
อีกหนึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนให้มีการใช้งานลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยออกแนวทางการใช้ เพื่อให้หน่วยงานรัฐนำไปใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อความว่องไวในการอนุมัติ ลดขั้นตอนการทำงาน
●
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ได้ออกหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล โดยใช้ลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ Digital Signature ซึ่งจะต้องใช้รหัสที่มีความปลอดภัยสูง อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเซ็นชื่อ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวของผู้ประกอบการ
●
กรมการค้าต่างประเทศ
ใช้สำหรับในการเข้าระบบลงทะเบียนผู้ประกอบการ และระบบในการให้บริการออกใบอนุญาตและออกหนังสือรับรองการส่งออก – นำเข้าสินค้าทั่วไป
●
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จัดทำระบบภายในของตัวเอง เพื่อรองรับการใช้งาน Digital Signature ภายในหน่วยงานอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการเจ้าอื่น ๆ อีกมากที่เปิดใช้ระบบ e-Signature เพื่อให้ง่ายต่อการบริการ ให้ประชาชนได้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าใช้บริการของหน่วยงานราชการ
นอกจากนี้การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา เน้นความปลอดภัยของผู้ใช้ทุกคน อีกทั้งเมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
ทำให้หน่วยงานราชการต้องปรับตัวมาใช้อิเล็กทรอนิกส์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเซ็นเป็น แบบอิเล็กทรอนิกส์ในไม่ช้า เพื่อให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
ขอบคุณข้อมูล:
crossingsoft.com
,
fusionsol.com
,
standard.dga.or.th
,
thansettakij.com
.
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
02 517 5555
063 204 0321
Line Official: @dittothailand
https://line.me/R/ti/p/%40dittothailand
https://www.dittothailand.com/
.
#Ditto #DittoTH #DittoThailand #DittoDMS #DittoECM #DocumentManagementSolution #DMS #eDMS #ระบบจัดเก็บเอกสาร #ECM #Amagno #Laserfiche #OCR #Digitization #Digitalization #DigitalTransformation
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย