21 ก.พ. 2023 เวลา 09:40 • สุขภาพ

“โรควิตกกังวล” ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

โรคนี้เกิดได้จากหลายปัจจัย
เกิดจากพันธุกรรม เกิดจากสถานการณ์รอบตัวที่ส่งผลต่อความรู้สึก เกิดจากการทำงานที่เกิดความเครียดเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder , CAD )
เกิดความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ การเรียน ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่หากวิตกกังวลแบบเดิมนานกว่า 6 เดือน ไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป
โรคแพนิค (Panic Disorder)
หรือโรคตื่นตระหนก เกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ หากเกิดอาการเจ็บปวดนิดหน่อยก็กลับมีความกังวล เช่น กลัวจะเป็นโรคร้าย ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ได้ป่วยทางกาย แต่ป่วยทางจิต อาการโรควิตกกังวลเกินเหตุ อาจเกิดเป็นพักๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น วูบเหมือนจะเป็นลม อาการแบบนี้จะส่งผลทำให้เสียสุขภาพจิต และนำไปสู่ภาวะอื่นๆได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ติดสารเสพติด
โรคกลัวสังคม (Social Phobia)
เกิดความวิตกเมื่อไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าตัวเองจะต้องถูกจ้องมอง ทำอะไรน่าอาย ต้องคอยหลบ และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลังทำให้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ แต่ที่น่าสนใจโรคนี้มักแอบแฝงอยู่ในบุคคลที่ดูปกติ มองภายนอกดูสดใสแข็งแรง สาเหตุของอาการอาจเกิดจากการเลี้ยงดู ขาดทักษะการเข้าสังคม
สามารถอ่านต่อได้ที่ลิงค์
โฆษณา