21 ก.พ. 2023 เวลา 16:33 • ประวัติศาสตร์
ผมมองว่า
การศึกษา “ประวัติศาสตร์” ให้ประโยชน์ในเรื่อง
“situation awareness”
อะไรคือ “situation awareness” ตามความเห็นของผม?
ผมขอยกกรณีศึกษาดังนี้ครับ
1) ราวๆ ปลายยุค ค.ศ. 1920s
เกิด “ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ” ขั้นรุนแรงขึ้น หรือ “The Great Depression”
ทำให้ผู้คนจำนวนมากตกงาน และไม่นานหลังจากนั้น ก็เกิด “สงครามโลกครั้งที่ 2” ขึ้น
ปัจจุบัน ทั้ง “หนี้สาธารณะและหนี้ภาคครัวเรือน” ของทั้งประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา มีสัดส่วนที่มีขนาดใหญ่มากใน GDP ของประเทศเหล่านี้ และในบางประเทศมีสัดส่วนหนี้เกิน 100% ของ GDP ไปเรียบร้อยแล้ว!
เราทุกคนคงมีโอกาสได้เห็น “ข่าว” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ความขัดแย้งทางทหาร” ในหลายๆภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็น
- ยูเครน
- คาบสมุทรเกาหลี
- ตะวันออกกลาง
- ทะเลจีนใต้
มีการ “ซ้อมรบ” และมีการ “เพิ่มงบประมาณทางทหาร” ในหลายๆประเทศรวมถึง “ญี่ปุ่น” ซึ่งแทบจะไม่มีการขยายอำนาจทางทหารเลยตั้งแต่ ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี ค.ศ. 1945
นี่อาจเป็น “สัญญาณ” เบื้องต้นถึง “ความขัดแย้งทางทหาร” ระดับโลกครั้งต่อไปที่กำลังจะเกิดขึ้น อันมี “ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ” (Recession) เป็นตัวจุดชนวน เพราะหากประเทศของคุณ “ชนะสงคราม”
“หนี้สินของประเทศ” อาจถูก “ลบล้าง” แล้ว “ผู้ชนะสงคราม” ก็จะได้โอกาสในการจัดสรร “อำนาจ” ทั้ง “การเมืองและเศรษฐกิจ” ในระดับโลก ดังเช่น ที่
1
“ประวัติศาสตร์” เคยได้ถูกบันทึกไว้ในยุค WW II มาแล้วก็เป็นได้!
และจากข่าวตามสื่อต่างๆที่ชาวบ้านอย่างเราๆท่านๆได้ทราบกันนี้เองที่เป็นสัญญาณว่า
“เมฆหมอกแห่งสงคราม”
ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว!
“Storm clouds are gathering!”
2) ในช่วงที่บ้านเรา มีเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2011
ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก Hard drives (HDDs) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้มีน้ำปริมาณมหาศาลไหลท่วมโรงงานผลิต HDDs จนว่ากันว่า แม้แต่ Apple ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ก็มียอดการผลิตที่ลดลงเนื่องจากไม่ได้รับมอบ HDDs จากประเทศไทย!
ซึ่งก็ไม่ต่างจากช่วง Covid-19 Global Pandemic
ที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “semiconductors” ประสบปัญหาต้องปิดโรงงานชั่วคราว จนทำให้ไม่สามารถส่งมอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวให้กับ โรงงานผลิตรถยนต์ทั่วโลก จนทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ลดลง!
3) เมื่อมีเหตุภัยพิบัติขั้นรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น “แผ่นดินไหว, น้ำท่วมใหญ่, พายุพัดถล่ม ฯลฯ”
จนมี “ผู้ประสบภัย” จำนวนมาก ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ยังชีพพร้อมๆกัน
นี่เองเป็นปัจจัยทำให้ “อุปสงค์” ของสินค้าเหล่านี้พึ่งขึ้นสูงอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว
แต่ในทางตรงกันข้าม “อุปทาน” ถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลจากภัยธรรมชาติ
สิ่งที่ตามมาคือ เกิดการปล้นสดม (Social unrest) ในพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อแย่งชิง “ปัจจัยในการดำรงชีพ” ที่ขาดแคลนดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็น
“Hurricane Katrina” ในปี 2005
จนถึงนำ้ท่วมใหญ่ใน New Zealand ที่ทางเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ต้องพก “อาวุธ” ไปด้วย เพื่อป้องกันการถูกปล้น “เสบียง” ที่นำเข้าไปมอบให้ผู้ประสบภัย!
4) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง และสังคม
“ประวัติศาสตร์” สามารถทำให้เราเรียนรู้และนำไปสู่ “การคาดการณ์” ถึงเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้
และความสามารถในการคาดการณ์จะนำไปสู่ “ความสามารถในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์”
และเมื่อคุณเตรียมพร้อมมาอย่างดี นั่นก็เป็นการเพิ่มโอกาสในประเด็นเรื่อง
“ความสามารถในการอยู่รอด”
หรือ
“Survivability” นั่นเอง!
5) posts นี้ของผม
ได้ “ฉายภาพ” ถึงความสำคัญของการศึกษา “ประวัติศาสตร์”
ไว้ให้แล้วครับ
โฆษณา