Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
T
Ton Jiratouch
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2023 เวลา 07:53 • การศึกษา
การดำเนินคดีอาญาน่ารู้ : ผู้เสียหายคือใคร EP.1
เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้น บุคคลหนึ่งซึ่งหากเปรียบเสมือนเป็นตัวละครในซีรีส์ ก็คงจะเป็นตัวละครที่สำคัญมากๆคนหนึ่ง บุคคลนั้นคือ “ผู้เสียหาย”
แล้ว “ ผู้เสียหาย” คือใคร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ได้ให้นิยามของคำว่า “ผู้เสียหาย” ไว้ว่า หมายความถึง บุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6"
เมื่อพิจารณาจากนิยามในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้เสียหาย คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาทางอาญา เช่น นายมดถูกนายแมวใช้ไม้ตีหัว หรือ นายมดถูกนายแมวขโมยโทรศัพท์มือถือ นายมดย่อมตกอยู่ในฐานะผู้เสียหายอย่างแน่นอน ในทางกฎหมาย เราจะเรียกผู้เสียหายในลักษณะนี้ว่า “ผู้เสียหายโดยตรง” หรือ “ผู้เสียหายโดยแท้จริง” ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิแก่นายมดที่จะดำเนินคดีอาญาแก่นายแมวได้
ประเด็นพิจารณาต่อมา คือ หากความผิดอาญานั้นๆ ส่งผลให้ผู้เสียหายโดยตรงหรือผู้เสียหายโดยแท้จริงไม่สามารถดำเนินคดีอาญาได้ด้วยตัวของเขาเอง เช่น ด.ช. แม๊ค อายุ 12 ปี กำลังเดินถนนข้ามทางม้าลาย และมีสัญญาณไฟให้คนข้าม แต่กลับถูกนายมดขับรถชนด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ ด.ช. แม็ค ขาหัก หรือ นายมดถูกนายแมวใช้อาวุธปืนยิง เป็นเหตุให้นายมดถึงแก่ความตาย
จากตัวอย่าง 2 กรณีข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า ตัวอย่างแรก กรณี ด.ช. แม๊ค ยังเป็นผู้เยาว์ (อายุยังไม่เกิน 20 ปี) ปัญหาคือ พ่อแม่ของ ด.ช. แม๊ค จะเข้ามาดำเนินคดีอาญาแทน ด.ช. แม๊ค ได้หรือไม่
หรือ ตัวอย่างที่ 2 กรณีนายมดซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ เราจะให้บุคคลใดเข้ามาใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแทนนายมดได้ต่อไป
ไว้ติดตามกันในตอนต่อไป…
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา :
www.bsru.ac.th
เฟสบุ๊คสาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
เว็บไซต์สาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
https://bsru.net/profile/jiratouch-ue/
กฎหมาย
กฎหมายอาญา
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย