23 ก.พ. 2023 เวลา 03:50 • ธุรกิจ

กรณีศึกษา Sushiro ฝังชิปไว้ใต้จาน เอาไว้ใช้คิดเงิน และจัดการอาหาร

“ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด.. จานสีแดง 13 จาน จานสีเงิน 18 จาน จานสีทอง 15 จาน จานสีดำ 12 จาน
ยอดของลูกค้า 4,664 บาทค่ะ เชิญชำระบิลได้ที่หน้าเคาน์เตอร์ค่ะ” ..
7
ถ้าใครที่เคยไปกินซูชิสายพาน ที่ร้าน Sushiro คงคุ้นเคยกับเสียงติ๊ด ๆ เวลาที่พนักงานใช้เครื่องนับจาน เพื่อเก็บเงินจากเราเป็นอย่างดี
1
ซึ่งเสียงติ๊ด ๆ ที่เราได้ยินเวลานับจาน
มันมาจากชิป ที่เรียกว่า IC tag ที่ติดอยู่ใต้จานซูชิ
2
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า IC tag ใต้จานซูชิที่ว่านี้ มันไม่ได้มีหน้าที่แค่นับจานเพียงอย่างเดียว
1
แล้ว IC tag บอกอะไรเราได้อีกบ้าง
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
1
เล่ากันก่อนว่า IC tag ย่อมาจาก Integrated Circuit Tag
ซึ่งมันคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีหน้าที่เอาไว้เก็บข้อมูล
โดยจะฝังมันเอาไว้ใต้จานซูชิทุกใบในร้าน Sushiro
3
โดยเมื่อเราจะเช็กบิล พนักงานก็จะใช้เครื่องมือที่มีเซนเซอร์มานับจาน โดยเซนเซอร์มันก็จะนับจานจาก IC tag ที่อยู่ใต้จานแต่ละจาน นั่นเอง
ซึ่งรู้ไหมว่า IC tag ไม่ได้บอกแค่ว่า เรากินไปกี่จาน แต่ยังทำอย่างอื่นได้อีกด้วย คือ
1
- บันทึกว่าซูชิประเภทไหนอยู่บนจาน
- นับระยะทาง เมื่อจานเริ่มวิ่งบนสายพาน
- บันทึกว่าลูกค้ารับจานซูชิไปตอนไหน
2
แล้วทางร้าน Sushiro จะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จาก IC tag ใต้จานซูชิไปทำอะไร ?
1
1. ช่วยให้ร้านแทร็กได้ว่า อาหารจานไหน วิ่งอยู่บนสายพานนานเกินไปแล้ว
2
อย่างกรณีของร้านซูชิสายพาน Sushiro ที่มีการควบคุมความสดใหม่ของอาหารบนสายพาน IC tag ก็ช่วยเรื่องนี้ได้
2
โดยเมื่อมีซูชิจานไหนวิ่งบนสายพานเกิน 350 เมตร (ประมาณ 40 นาที) ซูชิจานนั้นก็จะถูกนำออกจากสายพานโดยอัตโนมัติ
2
2. ช่วยให้รู้ว่า ต้องทำซูชิแบบไหนมาก แบบไหนน้อย ลดขยะเหลือทิ้ง
1
ข้อมูลที่ได้จาก IC tag ใต้จานซูชิ จะช่วยให้เชฟรู้ว่าซูชิประเภทไหน ต้องนำไปใส่สายพานเพิ่ม หรือซูชิประเภทไหนที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ
1
เชฟก็จะเตรียมเมนูนั้น ได้ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่มากินที่ร้าน
มากไปกว่านั้น ร้าน Sushiro ยังวิเคราะห์ต่อไปอีกว่า หลังจากลูกค้านั่งไปแล้ว 1 นาที หรือ 15 นาที ลูกค้าจะหยิบจานซูชิออกไปกี่จาน และต้องเสิร์ฟจานต่อไปเป็นซูชิประเภทไหนต่อจากเมนูก่อนหน้า
2
เมื่อเป็นแบบนี้ก็จะทำให้ร้าน สามารถควบคุมสต็อกวัตถุดิบได้แม่นยำมากขึ้น
และข้อมูลจากเว็บไซต์ d3.harvard บอกว่าร้าน Sushiro สามารถลดขยะที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้งจาก 10% เหลือแค่ 4% จากการใช้ข้อมูลที่ได้จาก IC tag ใต้จานซูชิ
3
3. นำไปวิเคราะห์ทำโปรโมชัน และเมนูแนะนำ
ข้อมูลจาก IC tag ใต้จานซูชิที่ได้มา ทำให้ร้าน Sushiro รู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบอะไร และร้านก็สามารถนำเมนูเหล่านั้นไปจัดเป็นโปรโมชัน เพื่อกระตุ้นยอดขายได้
1
หรือถ้าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะชอบซูชิประเภทไหนมากเป็นพิเศษ ร้าน Sushiro ก็จะได้ลองทำเมนูใหม่ หรือเมนูแนะนำให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
สรุปสั้น ๆ คือ IC tag ใต้จานซูชิ เป็นตัวเก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มออกวิ่งบนสายพาน จำทุกอย่างตั้งแต่ซูชิบนจานคือประเภทอะไร
รู้ว่าจานนี้ถูกหยิบไปตอนไหน ลูกค้าคนไหนเป็นคนหยิบไป ไปจนถึงถ้าจานไหนวิ่งเกิน 350 เมตร ก็จะถูกเตะออกนอกสายพานอัตโนมัติ
ซึ่งประโยชน์ของมันก็คือ ช่วยให้ร้านสามารถควบคุมคุณภาพของอาหารได้ และจัดโปรโมชันให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
รวมไปถึงหลังบ้านที่สต็อกสินค้าได้แม่นยำขึ้น และควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งเกิดกระแสดราม่า
วัยรุ่นญี่ปุ่น เลียขวดซอสโชยุ และเอาน้ำลายป้ายจานซูชิ
1
ซึ่งถ้าเกิดว่าในอนาคต เจ้าตัว IC tag นี้ ช่วยแทร็กได้ว่า
อาหารจานไหนบนสายพานถูกทำอะไรมิดีมิร้าย
ทางร้านก็คงเอาคืนลูกค้าที่ทำแบบนั้น ได้อย่างสาสม..
โฆษณา