22 ก.พ. 2023 เวลา 09:35 • การศึกษา

เด็กวัยอายุไม่ถึง 18 ไม่สามารถเข้าทำงาน

เด็กสมัยที่พยายามเป็นอย่างมากที่จะให้ตัวเองมีอนาคตที่ดี
หลายคนมีพ่อแม่ที่ให้ความอบอุ่นและคอยดูแลในเรื่องของการศึกษากับอนาคตของพวกเขาให้สามารถอยู่รอดในสังคมและมีคุณภาพ
และคุณภาพชีวิตนั้นมีราคามากไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพ ค่าอุปกรณ์การเรียน หรือค่าจิปาถะ
ทำให้ถ้าเป็นครอบครัวที่ไม่ได้มีการ support ที่เพียงพอคุณภาพชีวิตของเด็กก็จะยากลำบาก
ถึงในช่วงประถมในโรงเรียนรัฐบาลจะมีงบประมาณในการเรียนฟรี มีค่าอุปกรณ์ เครื่องแบบ และงบประมาณของการพัฒนาสุขภาพของเด็ก
แต่นั้นก็เป็นแค่ช่วงต้นเท่านั้นเพราะยังเหลือการศึกษาในระดับมัธยม และ อุดมศึกษาที่เด็กหลายคนนั้นต้องพลาดโอกาสไปเพราะไม่สามารถที่จะหาเงินไปใช้ในด้านนี้
ทำให้เด็กที่ต้องการหาเงินเรียนต้องออกมาทำงานเพื่อช่วยเหลือที่บ้านส่งตัวเองเรียน
แต่ด้วยกฎหมายรองรับว่าเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไปถึงจะสามารถเข้าทำงานได้และบ้างที่ก็เป็นเด็กตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
เราเข้าใจว่ามันคือการป้องกันการใช้แรงงานเด็กแต่ด้วยความพยายามของเด็กหลายคนที่ต้องการหาเงินเรียนและช่วยเหลือครอบครัวจริงๆ
ผลสุดท้ายพวกเขาก็ต้องเอาตัวเองไปทำงานที่ต้องใช้แรงอยู่ดี
งานที่ใช้แรงงานคืองานยกของ ขุดดิน หรือแบกหามที่ส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการทำงานและแรงงานที่สมควรจ้างจะต้องเป็นผู้ใหญ่
แต่คุณเชื่อมั้ยว่ามีเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าไปทำงานพวกนี้เป็นจำนวนมากเพราะงานบริการอย่างเช่น การเป็นพนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ หรือ จัดของขึ้นชั้นตามร้านสะดวกซื้อหรือองค์กรใหญ่ๆนั้นไม่รับเด็กอายุที่ต่ำกว่า 18 ปี
โดยที่จริงงานพวกนี้สามารถเปิดโอกาสให้เป็นงานพาร์ทไทม์รับเด็กเข้าไปทำได้ในเวลาหลังเลิกเรียน
จริงๆแล้วพวกนี้ไม่ได้หนักไปสำหรับเด็กเลยด้วยซ้ำเพราะมันคืออาชีพหนึ่งที่เด็กสมควรได้เรียนรู้และแก้ปัญหา
ยิ่งถ้าเป็นงานตามแคชเชียร์ก็ยิ่งฝึกฝนให้เด็กมีความรับชอบและสามารถพูดคุยกับคนแปลกหน้าได้
หรือมั้ยก็อาจทำให้เด็กกล้าที่จะเอาภาษาอังกฤษที่เรียนนำมาใช้จนคล่องก็ได้
และบ้างกิจการก็รับแค่ ปวช กับปวส หรือที่เรียกว่าสายชีพเท่านั้น โดยที่เด็กสามัญธรรมดาก็อยากจะหาเงินเหมือนกัน
เรียกว่าสังคมไทยนั้นแบ่งความเท่าเทียมให้เป็นกลุ่มๆมากกว่าที่จะให้ทุกกลุ่มเท่าเทียมกัน
ถ้าคุณจะบอกว่าแล้วถ้าอยากทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยทำไมเลือกเรียนสายอาชีพไปเรียนทำไมสายสามัญ
คุณลองคิดนะว่าเด็กคนนั้นต้องการจะเป็นหมอและอย่างที่ทุกคนรู้กันว่าหมอนั้นต้องเรียนสาย วิทย์-คณิต ที่ในสายอาชีพนั้นไม่มีแน่นอน
และถ้าในอนาคตวันหนึ่งพ่อแม่ของเด็กคนนี้ไม่มีเงินจะมา support ส่งเขาให้ถึงได้แค่ม.ปลายเท่านั้น
ผลสุดท้ายเขาจึงต้องหางานทำในช่วงหลังเลิกเรียนเพื่อเก็บไว้เข้ามหาลัย
บ้างคนอาจะบอกว่าก็ กู้กยศ. สิ
จะบอกว่าการเข้ามหาลัยนั้นสามารถกู้เรียนได้อยู่แล้วแต่ค่าแรกเข้า อุปกรณ์การเรียน ก็ต้องมีเพื่อจ่ายออกไปก่อนอย่างที่รู้กัน
แต่เมื่อไปถามตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านที่เขาว่างานที่ทำมันไม่ได้หนักเท่าไหร่สำหรับเด็กวัยเขา
เพราะในร้านนั้นมีแค่ ทำความสะอาด จัดของ เคลียร์สินค้า จัดชั้นสินค้า และ แคชเชียร์ คอยดูแลร้าน หรือทำสรุปยอดให้แก่ร้านค้า
ที่ถ้าเอาตามตรงแล้วเด็กอย่างพวกเราในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนไหนก็ตามต้องผ่านการทำรายงานหรือการใช้โปรแกรมพื้นฐานมาแล้ว
อีกอย่างการสอนงานเป็นสิ่งที่บริษัทหลายที่ต้องทำอยู่แล้ว
แต่เมื่อพอไปถามดูที่องค์กรจะบอกออกมาเหมือนกันว่าไม่สามารถรับได้เพราะอายุไม่ถึง
แล้วแบบนี้เด็กคนนี้ที่มีอนาคตคือว่าที่หมอคนหนึ่งจะมีเงินไปตามความฝันมั้ยล่ะในเมื่อเขาก็อุสาพยายามเรียนมาตั้งนานแต่แแค่ไม่มีเงิน
แต่เขาก็ไม่ท้อที่จะพยายามที่จะหาเงินแต่ด้วยกฎหมายที่ทำให้เขาไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านั้น
เพราะในเรื่องนี้เราจึงคิดว่ากฎหมายที่คุณตั้งมาเพื่อกีดกันให้เด็กไม่ต้องไปใช้แรงงานนั้นที่จริงมันไม่ได้ช่วยอะไร
ที่มันเป็นกฏหมายที่มีจุดบอดด้วยซ้ำ
เราคิดว่าถ้าเด็กเข้าไปทำงานด้วยใจโปร่งใสและต้องหาเงินจริงๆก็สมควรที่จะให้เขาทำถ้าคิดว่างานนั้นเขาทำได้
คนเราถ้าไม่หยุดเรียนรู้ยังไงก็สามารถทำได้
และถ้าจะคุ้มครองเด็กจริงๆก็ให้เอาใบรับรองไปให้นายจ้างเซ็นต์เพื่อคุ้มครองและยื่นยันว่าเด็กสามารถทำงานนี้ได้และไม่เป็นการใช้แรงงานเด็กเกินไป
และภาครัฐก็เซ็นต์ยืนยันให้เด็กทำงาน
แคนี้ก็ถือว่าเด็กอยู่ในการดูแลของผผู้ว่าจ้างและการได้ยอมบจากรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว
ยิ่งองค์กรอย่างร้านอาหารฟาดฟู้ดหรือร้านสะดวกซื้อที่มีชื้อที่ได้รับการจดทะเบียนรับรองยิ่งง่ายเพราะเด็กที่หางานเขาก็เริ่มจากองค์พวกนี้ทั้งนั้น
แล้วเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้หาตัวเองไปด้วยและสามารถทนฝันได้
ทุกวันนี้เด็กหลายคนเก่งมากนะมีความพยายามหาเงินด้วยตัวเองเพื่อทำตามความฝัน
อยากให้ผู้ใหญ่มองเห็นและปรับเปลี่ยนทุกอย่างรองรับด้วยเพื่ออนาคตของชาติที่ด้อยโอกาส
#กฎหมายแรงงาน #สิทธิการได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม #เด็กหนึ่งคนหนึ่งฝัน #ภาครัฐ #แรงงานไทย
โฆษณา