23 ก.พ. 2023 เวลา 04:35 • ธุรกิจ

Kanban หรือ คัมบัง คือ อะไรก็ตามที่สามารถใช้แทนการสื่อสารของคน

เพื่อบ่งบอกสถานะของงาน ที่ซึ่งสามารถเข้าใจกันได้ในการทำงาน
เช่น
รถ Taxi ที่มีมอนิเตอร์หน้ารถ แสดงสถานะว่า ว่าง หรือ ไม่ว่าง ( มีลูกค้า )​
ดังนั้น คัมบัง จึงเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถบ่งบอก
1.สถานะ
2.ความต้องการ
3.ช่วงเวลาที่ต้องการ
ฉะนั้นคัมบังจะเป็น กระดาษ / บอร์ด / pallet / หลอดไฟสัญญาน เป็นต้น
ถ้ามี 3 สิ่งนี้ครบ ก็ถือว่าเป็นการใช้คัมบังได้
ซึ่งระบบคัมบัง เป็นส่วนหนึ่งของ just in time หรือ ระบบแบบทันเวลาพอดี
ในรูปแบบของ pull system ( ระบบดึง )​ หมายความว่า เมื่อมีความต้องการลูกค้าในเวลาที่กำหนดไว้ จึงค่อยเริ่มผลิต/บริการ นั่นเอง
ดังนั้น
▪️ถ้าสถานะของสินค้า/บริการพร้อมส่ง ก็สามารถจัดส่งได้ตามที่กำหนดได้ทันที แต่
▪️ถ้าสถานะว่างหรือไม่พอจัดส่ง ก็จำเป็นต้องมีการผลิต/บริการมาเติมเต็ม
ส่งผลทำให้ ระบบคัมบัง ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งใน just in time ทำให้มีสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุดได้
.
.
โดยคัมบังจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.คัมบังสั่งผลิต
2.คัมบังเรียกชิ้นส่วน
ก็จะมีหลักการคำนวนที่แตกต่างกัน และผู้ใช้งานก็แตกต่างเช่นกันด้วย
.
.
แล้วทำไมหลายๆบริษัทนำระบบคัมบังไปใช้งานแล้วประสบปัญหา ไม่ว่าจะ
1. คัมบังไม่พอ ส่งผลทำให้สินค้า/วัตถุดิบ ไม่พอ
2.คัมบังล้น ทำให้ผลิตออกมามากเกินจำเป็น
3.คนควบคุมคัมบังในระบบที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนคัมบังให้สอดคล้องกับแผนการผลิต
4.มีระบบคัมบังแล้ว แต่ยังแผนผลิตรายวัน ที่เป็นกระดาษจากหน่วยงานวางแผนมาซ้ำซ้อนกัน
เป็นต้น
.
.
นั่นเป็นเพราะว่า
a)​ ยอดการสั่งสินค้าของลูกค้ามีความผันผวนเกินกว่า 10% ( ไม่มีการปรับเรียบ -​ heijunka planning )​
b)​ ความเข้าใจในการคำนวนคัมบัง และการปรับปริมาณคัมบังในระบบ
c)​ การติดตามสถานะการณ์ในแต่ละวัน ทั้งการส่งสินค้า การผลิต การสั่งวัตถุดิบ เป็นต้น
ฉะนั้นแล้วถ้าสามารถควบคุมปัจจัยทั้ง 3 อย่างนี้ได้ ก็จะทำให้ระบบคัมบังถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลทำให้
1. ลดการสื่อสารระหว่างคน ( ที่จะทำให้เกิดความผิดพลาด ความล่าช้าในการสื่อสาร )​
2.ลดปริมาณสินค้าคงคลัง
#lean
#leantrinity
โฆษณา