23 ก.พ. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode25: Kinesiology of Cervical spine#1

Osteologic feature of Cervical spine ##
.
ในชีวิตประจำวันของเรา หลายๆกิจกรรมหรืองานต่างๆจะเกิดขึ้นได้สมบูรณ์ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของคอเข้ามาเกี่ยวข้อง ในpartนี้ผมจะพูดถึงรายละเอียดของกระดูกสันหลังระดับคอ(Cervical spine) โดยเราจะเริ่มกันจากosteologic feature หรือโครงสร้างกระดูกของcervical spineกันก่อนนะครับ
Cervical spine จะเป็นpartที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดในกระดูกสันหลังทั้งหมด การที่cervical spineมีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้มากนี้ ทำให้ศีรษะของเรามีอิสระในการเคลื่อนไหวมากขึ้นครับ
.
กระดูกสันหลังระดับคอจะมีลักษณะรูปร่างที่เฉพาะแตกต่างจากระดับอื่นๆ โดยที่กระดูกคอชิ้นที่ 3-6(C3-C6) จะเป็นลักษณะปกติของกระดูกคอ(Typical cervical vertebrae) ในขณะที่C1(Atlas), C2(Axis), C7 จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกับกระดูกคอระดับอื่นๆ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเคลื่อนไหวด้วยครับ
สำหรับTypical cervical vertebrae(C3-C6) ที่เป็นลักษณะปกติของกระดูกคอนั้น จะมีbodyลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวทางด้านข้างมากกว่าความกว้างจากด้านหน้าไปหลัง ด้านบนและด้านล่างของbody จะไม่เรียบเหมือนกระดูกสันหลังระดับอื่น ด้านบนจะมีลักษณะเป็นconcave โดยที่มีส่วนที่formตัวขึ้นมาด้านข้างทั้งสองฝั่ง เราเรียกว่า "Uncinate process"("Uncus" หมายถึง "hook")
ส่วนด้านล่างจะมีลักษณะเป็นconcaveเล็กๆจากด้านหน้าไปหลัง ดังนั้นเมื่อbodyของcervical spine 2ชิ้น มาต่อกันเกิดเป็น"Uncovertebral joint" หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "Joint of Luschka" ครับ
สำหรับfunctionของ uncovertebral jointนั้นยังไม่ชัดเจน มีส่วนช่วยเรื่องkinematics สำหรับการเคลื่อนไหวเล็กน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเมื่อเกิดosteophyte formตัวรอบๆข้อต่อนี้ จะทำให้ไปเบียดพื้นที่ของ intervertebral foramen ที่เส้นประสาทวิ่งออกมา ทำให้อาจจะไปรบกวนเส้นประสาทและทำให้เกิดneurological symptom ได้ครับ
ในส่วนของ pedicle ระดับ C3 ถึง C6 จะสั้นมีทิศทางไปทางposterolateral ส่วนlaminaจะบางและมีทิศทางไปทาง posteromedial การวางตัวของpedicleกับlaminaเป็นตัวกำหนดลักษณะของvertebral canal ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยที่vertebral canalในระดับcervicalจะใหญ่ เพราะสัมพันธ์กับขนาดของspinal cord ที่จะใหญ่ในระดับcervical เพื่อformตัวเป็นcervical plexus และbrachial plexus ต่อไปครับ
การเชื่อมต่อกันของกระดูก C3-C6 นั้น นอกจากจะผ่านuncovertebral joint แล้วยังเชื่อมต่อกันผ่าน superior กับ inferior articular process ที่formตัวเป็น Articular pillar(“Pillar” = เสา) โดยที่มีข้อต่อที่เชื่อมกันคือ “Apophyseal joint” หรือ “Facet joint”
พื้นผิวของcervical articular facet จะเรียบ แบน และsurface จะวางตัวเฉียง 45 องศาระหว่าง frontal และ horizontal plane ในส่วนของsuperior articular facet จะวางตัวหันไปทางposterosuperior ในขณะที่inferior articular facet เสร็จจะวางตัวตรงกันข้ามคือหันไปทาง anteroinferior เพื่อให้ข้อต่อสบกันได้นั่นเองครับ
ต่อมาคือ “Spinous process” ใน typical cervical vertebrae จะมีลักษณะเฉพาะคือspinous process จะสั้นและตรงปลายแตกเป็น 2 แฉก เราเรียกว่า “Bifid’ ส่วน “Transverse process” จะมีลักษณะสั้น สิ้นสุดตรงปลายเป็น anterior และ posterior tubercles ซึ่งtubercleเหล่านี้ก็เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อคอหลายๆมัดเช่น anterior scalene, levator scapulae, splenius cervicis เป็นต้นครับ
อีกสิ่งหนึ่งที่cervical spineแตกต่างจากกระดูกสันหลังระดับอื่นคือ มี “Transverse foramen” ที่เป็นช่องบน transverse foramen เป็นทางผ่านของvertebral arteryขึ้นไปทางด้านบน ก่อนที่vertebral arteryทั้ง2ข้างจะเชื่อมกันเป็นbasilar artery นำเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมอง โดยที่vertebral arteryนี้จะวางตัวอยู่ด้านหน้าต่อspinal nerve rootแต่ละระดับของcervical spine
ที่ผ่านมาคือ typical ของcervical spine ที่จะพบได้เป็นปกติ ส่วนต่อมาคือ “Atypical cervical vertebrae” คือกระดูกคอที่จะมีลักษณะแตกต่างจากกระดูกคอระดับอื่น ซึ่งมีอยู่ 3 ชิ้นคือC1(Atlas), C2(Axis), C7 เราจะมาเริ่มจาก C1(Atlas) กันก่อนครับ
“Atlas”(C1) หน้าที่หลักของAtlas คือเป็นตัวsupportน้ำหนักของศีรษะทั้งหมด โครงสร้างของatlasจะไม่มี body, pedicle, lamina และ spinous process แต่จะประกอบขึ้นจาก lateral mass ทั้ง 2 ฝั่งเชื่อมกันด้วย anterior และ posterior arch of atlas โดยที่lateral massจะเป็นที่อยู่ของ superior articular process ที่เชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ
Superior articular facetจะมีลักษณะconcave หันหน้าขึ้นทางด้านบนเพื่อรับกับconvex ขนาดใหญ่ของoccipital condyle ส่วนinferior articular facet ของatlas จะค่อนข้าง flat หรือมี convex เล็กน้อย เฉียงลงประมาณ 20 องศาจาก horizontal plane
นอกจากนี้ atlas ยังมี transverse process ขนาดใหญ่ สามารถคลำเจอได้ และเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเล็กๆหลายตัวที่สำคัญต่อการทำfine movement ของศีรษะครับ
“Axis”(C2) โครงสร้างของaxisจะมีbodyขนาดใหญ่และสูง เพื่อเป็นตัวรองรับ “Dens”(Odontoid process) ที่เป็นแท่งยาวขึ้นไปเชื่อมต่อกับatlas โดยที่ dens จะเป็นโครงสร้างที่ทำให้เกิด vertical axisของศีรษะ สำหรับsuperior articular facetของaxis จะมีลักษณะslightly convexทำมุม 20 องศากับ horizontal plane จึงสบกับ interior articular facet ของ atlasได้พอดี ส่วนspinous process ของaxis จะเป็นbifidที่กว้างและเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อหลายตัวเช่น semispinalis cervicis เป็นต้นครับ
C7(Vertebra prominens) เป็นcervical spineชิ้นที่ใหญ่ที่สุด มีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกับthoracic spine รวมถึงมีtransverse process และspinous process ที่ใหญ่ เป็นจุดที่เราสามารถpalpateได้ง่าย จึงเป็นlandmarkที่สำคัญของกระดูกสันหลังครับ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นรูปร่างและdetailของcervical spineแต่ละระดับนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Grant’s Atlas of Anatomy. (2016). LWW.
Schuenke, M., Schulte, E., Schumacher, U., & Johnson, N. (2020). General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme.
Netter, F. H. (2018). Atlas of Human Anatomy. Elsevier Gezondheidszorg.
White, A. A., & Panjabi, M. M. (1990). Clinical Biomechanics of the Spine. Lippincott.
Md, I. K. A. (2008). The Physiology of the Joints, volume III (6th ed.). Churchill Livingstone.
โฆษณา