1 มี.ค. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode27: Kinesiology of cervical spine#3

The atlanto-axial joint ##
.
ในบทความที่ผ่านมาเราน่าจะพอรู้จักกับกระดูกและข้อต่อต่างๆในcraniocervical region กันไปแล้ว บทความนี้จะมาพูดถึงรายละเอียดของข้อต่อนึง ที่มีความสำคัญต่อการเกิดrotationของcervical spine นั่นคือatlanto-axial joint ว่าข้อต่อนี้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างไรได้บ้างนะครับ
เริ่มจากการย้อนมาดูanatomy ของatlanto-axial joint กันก่อน atlanto-axial joint เกิดจากการเชื่อมต่อกันของกระดูกatlas(C1) กับaxis(C2) ผ่าน3จุดที่เป็นข้อต่อคือ
-median atlanto-axial joint เป็นpivot jointที่เกิดจากdens ที่วางตัวในแนว vertical เชื่อมต่อกับanterior arch ของ atlas
- lateral atlanto-axial joint คือfacet joint ที่เชื่อมระหว่าง interior articular facetของ atlas(C1) และsuperior articular facetของ axis(C2) ทั้ง 2 ฝั่ง
โดยรูปร่างของsuperior articular facet จะมีรูปร่างเป็นoval shape เป็นconvexตามแนวanteroposterior(xx') แต่จะเป็นเส้นตรงตามแนวtransverse(ดังรูปที่3) ดังนั้นsurfaceของ superior articular facetนี้ จะเป็นเหมือนทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนZ หันไปทางsuperiorและเฉียงออกทางlateral เล็กน้อย
.
สำหรับโครงสร้างของdens จะเป็นเหมือนทรงกระบอกที่เอียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย
-ด้านหน้าของdens จะเป็นarticular facet ที่เป็นconvex เพื่อเชื่อมต่อกับanterior arch ของatlas
-ทางด้านหลังของdens จะเป็นร่องที่พื้นผิวเป็นกระดูกอ่อน ลักษณะเป็นconcaveในแนวtransverse เพื่อเชื่อมต่อกับtransverse ligament
ถ้าเราดูจากparasagittal viewที่ตัดผ่านlateral massของatlas เพื่อดูarticulationของfacet joint จะเห็นว่า inferior articular facet ของatlas จะเป็นconvex ในแนวanteroposterior(จุดหมุนอยู่ที่จุดO ) หันลงมาด้านล่าง ส่วนsuperior articular facet ของaxis จะเป็นconvex ในแนวanteroposterior(จุดหมุนอยู่ที่จุดP) หันขึ้นด้านบน การวางตัวข้อต่อนี้จะเป็นลักษณะbiconvex ที่มีจุดหมุนของการเกิดflexion-extensionอยู่ที่รูปดาว(ในรูปที่4)
สำหรับการเกิดflexion-extensionของatlanto-axial joint ถ้าเกิดการrollของatlasไปบนaxisเพียวอย่างเดียว จะทำให้เกิดgapหรือช่องว่างบริเวณรอยต่อระหว่างด้านหน้าของdensกับant. arch of atlas(ดังรูปที่5) ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหว ไม่ราบเรียบ และความมั่นคงของข้อต่อจะลดลง
ดังนั้นในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นคือร่างกายจะออกแบบให้atlas เกิดการroll ร่วมกับการglide ไปบนatlasพร้อมๆกัน ทำให้การเคลื่อนไหวราบเรียบมากขึ้น โดยมีligamentที่สำคัญคือ transverse ligament เป็นตัวที่คอยขยับขึ้นลงเพื่อรักษาให้ข้อต่อสบกับได้ดีตลอดการเคลื่อนไหวและยังเป็นตัวที่ยึดdens ไว้กับatlasอย่างหนาแน่น ทำให้ความมั่นคงมากขึ้นด้วยครับ
ในการเกิดflexion-extensionนี้ transverse ligament จะขยับลงเมื่อเกิดflexion และขยับขึ้นเมื่อเกิดextension เพื่อยึดให้dens อยู่ติดกับatlas ตลอดการเคลื่อนไหว(ดังรูปที่6)
สำหรับการเกิดrotation ของatlanto-axial jointนั้น ถ้ามองจากsuperior viewจะเห็นภาพชัดขึ้น โดยเราจะเห็นdensที่ถูกล้อมรอบด้วยวงแหวนที่เกิดจากatlasและtransverse ligament
ทางด้านหน้าของdens ที่เชื่อมต่อกับant. arch of atlas จะเป็นsynovial joint ล้อมด้วยarticular capsule ส่วนทางด้านหลังไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูก แต่จะหุ้มด้วยtransverse ligament และเติมช่องว่างด้วยfibro-adipose tissueต่างๆ
เมื่อเกิดการrotation ยกตัวอย่างเช่น rotation to left สิ่งที่เกิดขึ้นคือ densจะอยู่นิ่งๆเป็นแกนของการเคลื่อนไหว ในขณะที่osteoligamentous ring ที่formตัวขึ้นมาจากatlasและtransverse ligament จะหมุนไปทางด้านซ้ายรอบdens ทำให้capsuleทางด้านซ้ายหย่อนลง ส่วนcapsuleทางด้านขวาจะตึงมากขึ้น
ในขณะเดียวกันถ้าเรามองจากทางด้านข้าง เพื่อดูlateral atlanto-axial joint จะเห็นว่าการที่facet jointของatlanto-axial joint เป็นbiconvex ทำให้เมื่อเกิดrotation to left lateral massทางด้านซ้ายของatlas จะmoveมาทางด้านหลัง(ดังรูปที่8) ในขณะที่lateral massด้านขวา จะmoveไปทางด้านหน้าสลับกัน ส่วนถ้าเกิดrotation to right การเคลื่อนไหวก็จะเกิดตรงข้ามกันครับ
และไม่ว่าจะrotationทางไหนก็ตาม lateral massของทั้ง2ฝั่ง จะเลื่อนตัวต่ำลงเล็กน้อย เป็นผลมากจากarticular surface ที่เป็นด้านนูนทั้ง2ฝั่งนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ก็คือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นบนatlanto-axial jointนะครับ อาจจะเข้าใจยากนิดหน่อยเพราะ โครงสร้างของatlas, axisค่อนข้างซับซ้อน ลองอ่านซ้ำพร้อมกับดูรูปประกอบจะทำให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Grant’s Atlas of Anatomy. (2016). LWW.
Schuenke, M., Schulte, E., Schumacher, U., & Johnson, N. (2020). General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme.
Netter, F. H. (2018). Atlas of Human Anatomy. Elsevier Gezondheidszorg.
White, A. A., & Panjabi, M. M. (1990). Clinical Biomechanics of the Spine. Lippincott.
Md, I. K. A. (2008). The Physiology of the Joints, volume III (6th ed.). Churchill Livingstone.
โฆษณา