24 ก.พ. 2023 เวลา 04:30 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

Joker (2019)

Review Part 2 (spoiled); Conformity จากการมองผ่านตัวละครอย่างเดียว
.
หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการสร้างความเกลียดชังแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการเล่าในมุมมองของพฤติกรรมมนุษย์เพียงเท่านั้น ถึงกระนั้นก็อยากให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ความรู้สึกที่ภาพยนตร์พยายามจะส่งมอบให้ เป็นการมอบมุมมองของคนๆหนึ่งเพื่อให้เกิดสภาวะความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) กับตัวละครหลัก ถือว่าเป็นดาบสองคมที่อันตรายมากๆ ในทางหนึ่งก็เพื่อให้ตระหนักได้ว่าพวกเราไม่ควรสร้างคนเหล่านี้ขึ้นมา แล้วก็สามารถมองในมุมมองที่ว่ามันไม่ใช่ความผิดของตัวละครที่ทำพฤติกรรมแบบนี้หากไม่ใช่สังคมผลักดันให้ทำเอง
ความรู้สึกทำนอง Literally Me นั้น ผู้ชมจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในอดีตร่วมเพื่อให้สามารถเข้าใจตัวละครได้อย่างแท้จริง แต่ก็ไม่ต่างกับการยัดเหยียดหากผู้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นคนที่ไม่เคยผ่านอะไรที่ตัวละครหลักได้เจออย่างร้ายแรงมาก่อน จนไม่สามารถเข้าใจได้ถึงเหตุผลเบื้องหลังพฤติกรรมของโจ๊กเกอร์
ในช่วงครึ่งหลังของเนื้อเรื่อง หลังจากที่ตัวละครได้รับการปลดปล่อยทางความรู้สึกโดยการใช้ความรุนแรงตอบโต้กลับจากการได้มาขออาวุธปืuนั้น เป็นการกระทำที่ให้อารมณ์ร่วมอย่างมากต่อผู้ชม ราวกับว่าเป็นช่วงเวลาที่ได้ค้นพบตัวเองว่าต้องการทำอะไรจริงๆกับสถานะตอนนี้
ความเข้าใจร่วมทางอารมณ์นี้เป็นการกระตุ้น Empathy ต่อตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม จนเมื่อถึงจุดที่ผู้ชมได้รับรู้แรงจูงใจของ Author Fleck ก็จะสามารถเห็นพ้องต้องกันได้อย่างง่ายดายทั้งประสบการณ์ในอดีตและสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต เป็นเรื่องที่อาจจะคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้แต่ก็สามารถคาดการณ์ถึงสิ่งที่ตัวละครอยากให้เกิดขึ้นได้ในภาพรวม เท่านี้ก็ประสบความสำเร็จในการสร้าง self-projection ระหว่างตัวละครกับผู้ชมได้แล้วโดยใช้ Extreme Situation เป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์ของผู้ชมไปด้วยในตัว
สิ่งที่สามารถอธิบายได้อาจจะฟังดูแปลกแต่คิดว่าเป็น Conformity Bias ซึ่งหลังจากเกิด Immersion กับ Emotion ในโลกของภาพยนตร์แล้ว อาจจะมีความรู้สึกคล้อยตามกับความคิดและบริบทของสิ่งที่ภาพยนตร์กำลังนำเสนอออกมา
เพราะคนที่ชมภาพยนตร์มีความกลัวลึกๆอยู่ในใจ ว่าหากไม่เชื่อหรือคล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่างที่นำเสนอออกมา ก็อาจจะทำให้เสียเวลาเพราะดูไม่เข้าใจหรือสรุปเนื้อเรื่องหรือพฤติกรรมไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ได้ผลอย่างมากเมื่ออยู่ในโรงภาพยนตร์มากกว่าการดูผ่าน Streaming เพราะ Movie Magic นั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายจากการที่ไม่มีปุ่มกดหยุดและปล่อยให้เรื่องราวดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
และความรู้สึกนั้นก็จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนถึง point of no return ที่เป็นจุดเปลี่ยนหลักของตัวละคร โดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์กำลังก้าวข้ามหรืออยู่ระหว่างเส้นแบ่งทางศีลธรรม ก็มีโอกาสสูงที่หลังจากได้ก้าวข้ามไปแล้วจะกระทำแบบเดิมซ้ำอีก สามารถอธิบายได้ด้วย Foot-in-the-Door Effect การกระทำซ้ำนั้นเพราะว่าจะรู้สึกง่ายขึ้นเนื่องจากการกระทำครั้งแรก
เพราะผ่านกำแพงที่เรียกว่า cognitive dissonance ไปเป็นที่เรียบร้อยจน discomfort ทางจิตใจนั้นลดลง ส่งผลให้ความรู้สึกและความเชื่อเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการกระทำที่ว่าเป็นส่วนหลักในการก้าวข้ามผ่านตัวตนเดิม ซึ่งอิงตามเนื้อเรื่องแล้วการก้าวข้ามนั้นเป็นความตั้งใจในการพรากชีวิตโดยที่ไม่มีความรู้สึกเศร้าอยู่เลย
โลกนี้มันช่างโหดร้าย โดยเฉพาะกับคนชายขอบที่ถูกผลักไปให้รับผิดชอบตัวเอง ทั้งที่ในทางชีววิทยาแล้วทุกคนถูกออกแบบมาให้เป็นสัตว์สังคมเหมือนกัน ยิ่งแตกต่างเท่าไหร่ก็ยิ่งถูกผลักออกไปจากพวกของตัวเองมากเท่านั้น เติมทีมันอาจจะไม่มีเหตุผลเลยก็ได้ว่าทำไมตัวละครแล้วถึงต้องมาเจออะไรแบบนี้
เพราะเมื่อได้มองจากมุมมองของคนทั่วไป และจากความเห็นของหลายๆคน มันเป็นสภาวะที่มีอารมณ์ร่วมง่ายแต่ก็เข้าใจยากในเวลาเดียวกัน เพราะหลายๆอย่างขาดสิ่งที่เรียกว่า'ประสบการณ์ร่วม'อยู่ อย่างไรก็ตามเมื่อความแปลกแยกของสังคมมาเจอกับโลกดั้งเดิมที่โหดร้ายไปเรื่อยๆ ก็จะก้าวข้ามผ่านความยุ่งเหยิงที่คงไม่มี Logic ใดๆที่สามารถอธิบายได้ในมุมมองของคนปกติอีกแล้ว แล้วคงไม่สามารถอธิบายได้ว่า Will ของตัวละครนั้นใกล้เคียงกับ Free Will แค่ไหน
สุดท้ายแล้วที่ตัวละครพยายามอยู่ทั้งเรื่อง ก็เพียงแค่อยากมีคุณค่าก็เท่านั้น เพราะว่าคุณค่าของคนเป็นเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ และต้องการที่จะพิสูจน์ว่ามีคนที่ให้ค่าจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างนี้รวมถึงเรื่องพฤติกรรมสามารถอธิบายได้ด้วยความรู้สึกที่จนตรอกและต้องการปลดปล่อย
สภาวะเก็บกดของคนที่เกิดจากการกดดันทางสภาพแวดล้อมนั้นน่ากลัวมาก และการปล่อยประละเลยเรื่องนี้ในชีวิตจริงทำให้เกิดเรื่องน่าเศร้าหลายเรื่อง เพราะเมื่อถึงจุดที่มนุษย์ได้ก้าวข้าม Moral Line ไปเป็นที่เรียบร้อย ก็จะไม่มีทั้งความเห็นอกเห็นใจและความรู้สึกสงสารแม้แต่นิดเดียว
ทีนี้มาลองพูดเรื่องคุณค่าดูบ้าง แต่ละคนส่วนใหญ่แล้วมักจะให้คุณค่าจากสิ่งที่เคยขาดหรือทำผิดพลาดไปในวัยเด็ก เช่น รูปลักษณ์ภายนอก ความเป็นส่วนตัว หรือครอบครัวที่อบอุ่น และในมุมมองของปรัชญานั้น ความรู้สึกที่ค้างคาเหล่านี้ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวคือภาพหลวงตา (illusion) ที่สังคมสร้างขึ้นมาเพื่อให้พวกเราเติมเต็ม
สรุปง่ายๆก็คือคุณค่าของใครบางคนมักจะขึ้นอยู่กับ illusion ที่ครอบสวมทับพวกเราอีกที สิ่งที่ขาดหายไปของโจ๊กเกอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้มีเยอะมาก ทั้งสถาบันครอบครัว การไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกเป็นส่วนรวมของสังคม การได้รับความรักเฉกเช่นคนปกติ
เมื่อตระหนักได้ว่าคุณค่าเหล่านี้คงไม่สามารถได้กลับมาแล้ว ก็จะนำไปสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญของเรื่อง ตัวละครได้นำความรู้สึกที่มีต่อคุณค่านั้นมาเปลี่ยนเป็นความมั่นใจในการกระทำสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าถูกต้อง ซึ่งมีทั้งความต้องการที่จะแก้แค้นและความเกลียดชังในเวลาเดียวกับที่มีความมั่นใจและปลดปล่อยได้อย่างเต็มที่ ตราบใดที่มนุษย์ยังเชื่อว่าตัวอย่างมีเหตุมีผลพอ ก็คงไม่สามารถเข้าใจกันและกันได้อย่างถ่องแท้แน่นอน
.
#moviecouple
โฆษณา