24 ก.พ. 2023 เวลา 00:04 • ท่องเที่ยว

ทมิฬนาดู (28) .. เทวาลัยชัมพุเกศวร ศิวลึงค์ธาตน้ำ

เทวาลัยชัมพุเกศวร (Tiruvanaikovil Arumigu Jambukeswarar Akilandsewari Temple .. สร้างในสมัยโจฬะตอนต้น เป็น 1 ใน 5 เทวาลัยใหญ่ที่สร้างอุทิศถวายพระศิวะในอินเดียใต้ และเป็นเทวาลัยที่ประดิษฐานศิวลึงค์ธาตุน้ำซึ่งมีน้ำใต้ดินไหลผ่านตลอดเวลา และเป็น 1 ใน 275 เทวาลัยที่เหล่านายันนะ( Nayanars - Saivite Saints) เคยมาสวดมนต์สักการะมหาเทพ
ประวัติ
ครั้งหนึ่งพระนางปาราวตีไปล้อเลียนการสวดภาวนาของพระศิวะเพื่อให้โลกอยู่เย็นเป็นสุข พระรางเลยถูกพระศิวะสาปให้ลงมาอยู่ที่โลกมนุษย์ .. พระนางจึงสร้างศิวลึงค์ขึ้นมาจากน้ำ (Appu Lingam - Water Lingam) ในแม่น้ำ โควารี ภายใต้ต้นไม้ Venn Naaval แล้วเริ่มสวดภาวนา จนในที่สุดพระศิวะได้ส่งสานุศิษย์ลงมาสอน Siva Gnana แก่พระนาง
สานุศิษย์ของพระศิวะ 2 คน ชื่อ 'Malyavan' และ 'Pushpadanta' จะมีเรื่องที่ต้องทะเลาะกันเสมอ .. ในการทะเลาะกันครั้งหนึ่ง 'Malyavan' ได้สาปให้ 'Pushpadanta' กลายเป็นช้างมาอยู่ในโลกมนุษย์ และ 'Pushpadanta' อีกฝ่ายให้เป็น แมงมุม .. ทั้งคู่มายัง เทวาลัยชัมพุเกศวร เพื่อสวดบูชาพระศิวะ
.. ช้าง ใช้งวงเก็บน้ำมาราดรดศิวลึงค์ภายใต้ต้นไม้ทุกวัน .. ส่วนแมงมุม ได้ชัดใยขึ้นเหนือศิวลึงค์ เพื่อไม่ให้ใบไม้แห้งหล่นลงมาถูกต้องศิวลึงค์ รวมถึงไม่ให้แสงแดดตกลงมาที่ศิวลึงค์ด้วย
.. เมื่อช้างเห็นใยแมงมุม ก็คิดว่าเป็นฝุ่นละอองอยู่บนศิวลึงค์ เลยทำลายใยแมงมุม แล้วนำน้ำมาราดทำความสะอาดศิวลึงค์ .. จนกลายเป็นตำนานและการถือปฏิบัติในการรดน้ำศิวลึงค์ทุกๆวันมาตราบเท่าทุกวันนี้
.. แมงมุมโกรธ .. วันหนึ่งเลยคลานเข้าไปในงวงของช้าง แล้วกัดจนช้างตายลง
พระศิวะ (ในรูปของ Jambukeswara) .. ประทับใจในความจงรักภักดีของทั้ง 2 สานุศิษย์ จึงให้ทั้งสองพ้นจากคำสาป และเนื่องจากช้างได้สวดบูชาพระศิวะที่เทวาลัยแห่งนี้ จึงเรียกที่นี่ว่า Thiru Aanai Kaa (thiru means holy, aanai is elephant, kaa (kaadu) means forest)
ด้วยผลบาปที่ฆ่าช้าง .. แมงมุมจึงเกิดเป็นกษัตริย์ Kochengot แห่งราชวงศ์โจฬะ ในชาติต่อมา (kotchengannan cholan ษัตริย์ที่มีดวงตาสีแดง) สร้างเทวาลัย 70 แห่ง รวมถึงเทวาลัยซัมพุเกศวร .. และยังจำได้ถึงความอริกันกับช้างในชาติก่อน จึงสร้างทางเข้าเทวาลัยพระศิวะที่แม้แต่ช้างตัวเล็กๆ ก็ยังเข้าไม่ได้ ด้วยความสูงเพียง 4 ฟุต กว้างแค่ 2.5 ฟุต
เราเดินทางมาถึงเทวาลัยในช่วงค่ำมากแล้ว จึงไม่เห็นมุมต่างๆของเทวาลัยมากนัก
โคปุรัม .. ลักษณะเช่นเดียวกับที่เคยเห็น
แต่ที่นี่มีรูปปั้นแบบ erotic art อยู่ท่ามกลางรูปเทพเจ้าและอื่นๆ
หลายคนอาจจะคิดไปหลายเรื่องเมื่อเห็นรูปปั้นนี้ .. ส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องหนึ่งในหลักคำสอนของศาสนาฮินดู คือ เรื่อง “อาศรม”
ระบบอาศรม 4
ภายใต้ระบบอาศรมสี่ ชีวิตมนุษย์แบ่งออกเป็นสี่ช่วง โดยเป้าหมายของแต่ละช่วงชีวิตคือการเติมเต็มและพัฒนาปัจเจก ในระบบอาศรมแบบคลาสสิก เช่นใน อาศรมอุปนิษัท, ไวขานสธรรมสูตร และใน ธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนขึ้นในยุคถัดมา มีการระบุช่วงอายุแนะนำในการเข้าสู่แต่ละระยะ ในขณะที่ระบบดั้งเดิมดังที่ปรากฏใน ธรรมสูตร ยุคแรก อาศรมทั้งสี่เป็นวิถีชีวิตทางเลือกสี่แบบ โดยไม่ปรากฏการระบุช่วงวัยที่ให้ปฏิบัติ
1. พรหมจรรย์ (เทวนาครี: ब्रह्मचर्य) เป็นแนวคิดที่พบในศาสนาแบบอินเดีย อันแปลตรงตัวว่า "การกระทำตนให้ประหนึ่งพรหม" ..
แนวคิดพรหมจรรย์นั้นไม่ได้หมายถึง "การอยู่เป็นโสด" (celibacy) พรหมจรรย์ในศาสนาแบบอินเดียไม่ได้หมายถึงการถือสภาพพรหมจารีและการเว้นจากกิจกรรมทางเพศเสมอไป แต่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมจิตตะ ไม่ให้มีอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึง "พรหมญาณ" .. ในแนวคิดอาศรมสี่ของศาสนาฮินดู "พรหมจรรย์" เป็นหนึ่งในสี่ขั้นของชีวิตซึ่งตามด้วย คฤหัสถ์, วานปรัสถ์ และ สัญญาสี "พรหมจรรย์" ในอาศรมสี่ หมายถึงวัยเด็กไปจนถึงอายุราว 25 ปี ให้หมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนและให้ประพฤติตนอยู่ในการไม่มีคู่ครอง
.. พรหมจรรย์ เป็นช่วงชีวิตแห่งการศึกษา และการดำรงตนเป็นพรหมจรรย์ (ละเว้นการร่วมประเวณี) นักเรียนจะเดินทางไปคุรุกุล (ที่พำนักของคุรุ) และโดยทั่วไปจะอาศัยกับคุรุ (อาจารย์) เพื่อรับความรู้ แนวคิด ปรัชญา สัจธรรม และตรรกะ, ปฏิบัติตนตามครรลอง, ทำงานเพื่อได้รับทักษิณมาจ่ายให้กับคุรุ, เรียนรู้ที่จะมีชีวิตด้วยธรรม
2. คฤหัสถ์ เป็นขั้นตอนที่สองในชีวิตตามระบบอาศรมสี่ ต่อจากพรหมจรรย์ .. ช่วงชีวิตนี้ประกอบด้วยการหาคู่ครอง การสมรส การดูแลครอบครัว ให้การศึกษาแก่บุตรหลาน มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางและมีชีวิตในสังคมที่มีธรรมะ ..
ในคัมภีร์โบราณและยุคกลางของฮินดูมองว่าขั้นคฤหัสถ์ เป็นระยะที่สำคัญที่สุดในมุมมองของการอยู่รอดในสังคม ระยะนี้เป็นระยะที่นอกจากจะหาความสุขเพื่อตัวเองแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เพื่อนมนุษย์ซึ่งอยู่ในระยะอื่น ๆ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ โดยเฉพาะให้การจุนเจือแก่บุตรหลานให้มีชีวิตต่อไป ระยะนี้ยังถือกันว่าเป็นช่วงชีวิตที่หนักหน่วงที่สุด มีความเครียดและภาระทั้งเชิงกายภาพ, อาชีพ, เพศ, ครอบครัว, สังคม และวัตถุ
.. หมายถึงช่วงชีวิตซึ่งได้สมรส, ดูแลเรือน, สร้างครอบครัว, เลี้ยงดูให้การศึกษาแก่ลูก มีชีวิตทางสังคมและทางธรรมโดยมีครอบครัวเป็นหลักกลางของชีวิต ในทางสังคมวิทยา ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงแห่งการสร้างอาหารและความมั่งคั่ง ที่จะช่วยจุนเจือผู้ที่อยู่ในระยะอื่น ๆ ของระบบอาศรม รวมถึงสร้างลูกหลานขึ้นมาเพื่อสืบทอดมนุษยชาติ และช่วงนี้เป็นช่วงที่มนุษย์เกิดความผูกพันทางโลกสูง
3. วานปรัสถ์ คือการเกษียณจากงานและเกษียณจากโลก และสัญญาสี คือการละทิ้ง ตามลำดับ .. ช่วงชีวิตหลังเกษียณ ส่งต่อภาระทางเรือนให้แก่ผู้คนในรุ่นถัดไป แล้วค่อย ๆ ถอนตัวออกจากชีวิตทางโลก วานปรัสถ์เป็นช่วงชีวิตแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นซึ่งอรรถะ และ กามะ ไปสู่การมุ่งเน้นยังโมกษะ (การหลุดพ้น)
4. สันยาส (ละทิ้งทางโลก) .. เป็นช่วงชีวิตแห่งการละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุและทางโลก โดยทั่วไปคือปราศจากสิ่งครอบครองรวมถึงที่อยู่ ใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นโมกษะ, ความสันติ และชีวิตทางจิตวิญญาณที่เรียบง่าย ผู้ใดก็ตามที่สิ้นสุดระยะพรหมจรรย์แล้วสามารถเข้าสู่ระยะนี้ได้ทุกเมื่อ
.. กาม หรือ กามะ (ภาษาสันสกฤต, ภาษาบาลี; อักษรเทวนาครี: काम) แปลว่า "ความต้องการ, ความปรารถนา, ความหวัง" ในวรรณกรรมฮินดูและพุทธ
กามมีความหมายกว้าง ๆ หมายถึง ความปรารถนาทางเพศ และความปรารถนาในวรรณกรรมร่วมสมัย แต่แนวคิดของกามนั้นครอบคลุมความหมายกว้าง ๆ ถึง ความต้องการ, ความหวัง, ความใคร่, ความปรารถนา, ความสุขใจอันเกิดจากผัสสะ, ความต้องการถึง, ปรารถนาถึงการมีความสุขไปกับสุนทรียภาพ, ชีวิต, ความรักใคร่, ความหลง, การมีความสุขกับความรัก ไม่ว่าจะด้วยการมีเพศสัมพันธ์หรืออารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม
ในศาสนาฮินดู กามเป็นหนึ่งในเป้าหมายสี่ประการของชีวิตมนุษย์ กามถือเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเป้าหมายอันดีต่อสุขภาพของชีวิตมนุษย์เมื่อได้ทำตาม หากแต่ต้องไม่ละทิ้งเป้าหมายอีกสามประการที่เหลือ คือ ธรรม, อรรถ, และ โมกษะ เป้าหมายทั้งสี่ประการของชีวิตที่กล่าวมานี้เรียกรวมกันว่าเป็น ปุรุษารถะ
แม้จะเป็นเวลาค่ำแล้ว แต่ผู้คนที่เข้ามาสักการะเทพเจ้ายังคึกคัก .. ศาสนาและเทพเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนอินเดีย
เราเดินชมภายในเทวาลัย .. ด้านในอาคารคล้ายกับเทวาลัยแห่งอื่นที่เราผ่านมา มีห้องโถงใหญ่ๆและเสาหินมากมายที่สลักลวดลายเกี่ยวกับเทพและเทพเจ้าที่งดงาม
เสาธวัชสดมภ์ และรูปสลักหินโคนนทิ .. หน้าเทวาลัยของพระศิวะ เทพองค์ประธาน
รูปสลักภาพเทพเจ้าที่งดงาม
บริเวณที่ตั้งโคนนทิ ล้อมรอบด้วยเสาขนาดใหญ่ ที่มีภาพสลักเรื่องราวในปกรณัมเรื่องต่างๆของอินเดียที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าต่างๆ
รูปสลักเล่าเรื่องกำเนิดของเทวาลัยแห่งนี้ด้วย
เทวาลัยชัมพุเกศวร .. เป็นเทวาลัยที่ประดิษฐานศิวะลึงค์ธาตุน้ำ
เรามีโอกาสได้เข้าไปชมและสักการะศิวลึงค์ศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยค่ะ .. แต่เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพ จึงขอเล่าเท่าที่ตาเห็นนะคะ
การเข้าไปสักการะศิวลึงค์ และรับพรนั้น ปกติเขาจะไม่อนุญาตให้คนต่างศาสนาเข้าไป แต่ในบางกรณี ดูเหมือนว่าพราหมณ์ก็จะไม่ได้เคร่งครัดเด็ดขาดนัก อาจจะสงสาร หรือยินดีให้เราเข้าไปด้านในของห้องที่ประดิษฐานศิวลึงค์ได้ ..
.. เราจะต้องไปยืนเข้าแถวรอก่อนสักพักใหญ่ๆ .. พอถึงคิว เราจะได้เข้าไปในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆที่จุได้ราว 6-8 คน สังเกตเห็นว่าประตูทางเข้าเล็ก ต้องก้มหัวให้พ้นขอบประตู .. เหมือนที่ตำนานกล่าวเอาไว้ว่า ห้องนี้แม้แต่ช้างตัวเล็กที่สุดก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาได้
พราหมณ์ที่ทำพิธี .. คอยจัดแจงว่าเราควรจะยืนอย่างไร แต่ทุกคนจะหันหน้าเข้าไปยังทิศทางของห้องครรภคฤหะ ซึ่งเป็นมณฑลประธาน
เมื่อมองเข้าไปในห้องครรภคฤหะ ซึ่งมีเพียงตะเกียงเล็กๆเป็นแหล่งที่ให้แสงสว่างที่ทำให้พอมองเห็นได้ .. มองเห็นศิวะลึงค์ขนาดไม่ใหญ่นักตั้งอยู่ และไม่แน่ใจว่าตั้งอยู่บนฐานโยนีหรือไม่ .. บรรยากาศดูขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ค่ะ
.. จากนั้นพราหมณ์จะถือจานที่จุดไฟด้านหนึ่ง เข้าไปทำพิธีและสวดในห้องถัดไป ซึ่งเป็นที่ตั้งของศิวลึงค์ธาตุน้ำ( Jambukeswara) หินสีดำ ขนาดความสูงประมาณ 1 ฟุต ตั้งอยู่กับพื้นห้องครรภคฤหะของมณฑปประธาน โดยถือว่าตั้งอยู่ใต้ต้นไม้ jambu tree ที่ขึ้นอยู่ในธารน้ำ
.. ภายในห้องครรภคฤหะนี้น่าจะตั้งอยู่บนตาน้ำใต้ดิน เพราะจะมีน้ำขังอยู่ที่พื้นตามซอกก้อนหิน และเมื่อพราหมณ์ที่ดูแลได้นำไม้แหย่ลงไปตามซอกหิน ก็จะมีน้ำผุดขึ้นมาให้เห็นเล็กน้อย .. แต่เราสามารถมองเห็นใกล้ชิด ชัดเจน
พราหมณ์จะท่องบทสวดมนต์ พร้อมๆกับวนจานไฟไปรอบๆรัศมีของศิวลึงค์ (ลืมสังเกตว่า วนซาย หรือวนขวา) .. จากนั้นก็จะนำจานไปมาที่เรา เพื่อให้เราได้เอามือไปกวักควันไฟ และสัมผัสกับเปลวไฟศักดิ์สิทธิ์เข้ามาที่ตัวเรา เพื่อความเป็นสิริมงคล
.. จากนั้นก็เป็นอันเสร็จพิธี พราหมณ์จะนำผงสีขี้เถ้ามาให้เรานำกลับไปบูชา และเป็นธรรมเนียมที่เราจะต้องจ่ายเล็กน้อยตามความสมัครใจ เพื่อตอบแทน
เราเดินดูภายในเทวาลัย ..
ช่วงกลางคืนของวันที่เราเข้าไปชมเทวาลัยแห่งนี้ มีการทำพิธีบางอย่าง .. มองเห็นรูปพระศิวะ พระเทวี และพระขันทกุมารบนแคร่คานหาม
มีดนตรีประโคม
ด้านหนึ่งมีช้าง …มีหลายคนมาขอพร
โฆษณา