24 ก.พ. 2023 เวลา 04:10 • ประวัติศาสตร์

ดาโต๊ะฮาลอร์ : เสือสมิงในวัฒนธรรมมลายู

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเสือในรูปมนุษย์หรือมนุษย์ที่
สามารถแปลงกายเป็นเสือนั้นพบได้ทั่วในอุษาคเนย์ ในสังคมไทยปรากฏเรื่องเล่าเร้นลับประเภทนี้ในรูป “เสือสมิง”
ในวัฒนธรรมมลายูทั้งบนคาบสมุทรและหมู่เกาะ
ก็ปรากฏเรื่องเล่าประเภทนี้ด้วยเช่นกัน ในสังคม
มลายูชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร(ปาตานี
กลันตัน ตรังกานู)นั้นจะรู้จักในชื่อ “ฮาลอร์” ใน
ยะโฮร์และสลังงอร์นั้นจะรู้จักในชื่อ ฮารีเมาจาดี
จาดียัน ส่วนชื่ออื่นๆนั้นเช่น รีเมากือรามัต และ
รีเมาฮันตู I
เรื่องเล่าเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับประเภทนี้
ในสังคมมลายูพบใน
เซอจาระห์มลายู (سجاره ملايو) หรือพงศาวดาร
กษัตริย์มะลากา เอกสารพื้นเมืองที่เกี่ยวกับ
ราชสำนักมลายูบนคาบสมุทรฉบับนี้ได้เล่า
ถึงธิดาของกษัตริย์แห่งมะลากาที่หนีจากการ
โจมตีของโปรตุเกสและได้ซ่อนตัวบนเขาสูงที่
เป็นรอยต่อระหว่างมะลากากับยะโฮร์ เจ้าหญิง
ซึ่งต่อมารู้จักในนาม “ปุตรีฆูนุงเลดัง” ได้รับ
การคุ้มครองจากเสือสมิงและกลายเป็นตำนาน
ที่ถูกเล่าสืบทอดกันมา
ในปี 1613 เดออีรีเดีย นักเขียนเชื้อสายโปรตุเกส
-มลายูคนแรกๆที่บันทึกเกี่ยวกับมะลากาพูดถึง
เรื่องเล่าประเภทนี้ไว้ในบันทึกของเขาด้วยเช่นกัน
เช่นตอนที่เขาพำนักที่มะลากาหลังจากที่ตกเป็น
ของโปรกุเกสนั้น มีเหตุการณ์ที่เสือออกมาไล่กัด
ชาวมะลากาและถูกกำราบด้วยบิชอปแห่ง
มะลากา ชาวพื้นเมืองเชื่อว่าเสือที่ออกมาไล่ฆ่า
มนุษย์นี้เป็นสมิงของปุตรีฆูนุงเลดัง
ข้อมูลเกี่ยวเสือสมิงมลายูที่ถูกเล่าโดยละเอียดนั้น
คงเป็นบันทึกของวอลเตอร์ สกีตนักมานุษยวิทยา
ที่ได้รวมความเชื่อของชาวมลายูรวมทั้งปาตานี
สกีตได้พูดถึงเรื่องลี้ลับนี้ในหนังสือ Malay
Magics และได้ยกเหตุการณ์หนึ่งที่เขาเจอที่
สลังงอร์
ชาวพื้นเมืองได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเสือสมิงให้สกีต
ฟังว่า มีชาวบ้านมลายูคนหนึ่งได้เก็บทารกน้อย
มาจากชายป่า ทารกน้อยคนนี้มีผิวสีขาวผิดจาก
เด็กมลายูทั่วไปอีกทั้งยังมีดวงตาสีฟ้า เมื่อเด็ก
ทารกคนโตขึ้นก็มีนิสัยก้าวร้าวชอบทำร้าย
เพื่อนอยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง เมื่อชายผู้ที่ชุบเลี้ยงเอา
ไม้มาฟาดตีเพื่อทำโทษ เด็กผู้นี้กลับกระโดด
ไกลกว่าเด็กทั่วไป เมื่อตีได้สามครั้ง หางที่มี
ลักษณะคล้ายกับหางเสือที่ถูกเก็บซ่อนไว้ใน
กางเกงก็เผยให้เห็นออกมา
ก่อนที่เด็ก
ประหลาดผู้นี้จะเดินหมอบด้วยขาและแขนสอง
ข้างแล้วหนีหายไปในชายป่า
เมื่อรู้ว่าเป็นลูกของเสือสมิง ชายผู้ที่เก็บเขา
มาเลี้ยงดูก็ตะโกนสาปแช่งว่า หากจะทำร้าย
มนุษย์ให้ทำร้ายเฉพาะมนุษย์ที่ไม่มีศีรษะเท่านั้น
ไม่อย่างนั้นแล้วขอให้พระเจ้าลงโทษ
สกีตได้เล่าว่า พวกมลายูน้อยนักที่จะล่าเสือ
เพราะกลัวว่าเป็นเสือสมิง แต่หากต้องไล่ฆ่าเสือ
เช่นเสือเกิดไปกัดทำร้ายคนหรือไล่กินวัว
ชาวบ้าน การยิงเสือก็เป็นเรื่องจำเป็น ก่อนจะออก
ไปยิงเสือนั้นก็ต้องทำงพิธี และการจะเอาเสือที่
ถูกยิงแล้วออกจากป่าก็จำเป็นต้องทำพิธีอีกเช่น
กัน พิธีนี้รู้จักในชื่อพิธี'บางุนรีเมา'
ตอนที่สกีตไป
ที่หมู่บ้านกาจังในสลังงอร์ เขาได้เห็นพวกบอมอฮฺ
หรือหมอผีมลายูกำลังทำพิธีนี้พอดี พวกเขาจับ
เสือให้นั่งในท่ายืนแล้วเอาสิ่งของบางอย่างยัดเข้า
ไปในปากเสือเพื่อให้ปากเปิดอ้า จากนั้นบอมอฮฺ
ก็ร่ายมนต์คาถา
I
ชาวมลายูที่ในสลังงอร์เชื่อว่าเสือสมิงนั้นมี
หมู่บ้านของพวกตนโดยเฉพาะ ตั้งอยู่บนยอดเขา
สูงที่ถูกปกคลุมโดยหมอกเมฆ บ้านของสัตว์ผี
ประเภทนี้สร้างด้วยเสาและหลังคาที่ทำด้วย
กระดูกมนุษย์และหนังศีรษะมนุษย์ เสือสมิงจะ
อาศัยอยู่เฉพาะในหมู่บ้านของตนและจะออก
ไล่ล่ามนุษย์ราวปีละครั้งซึ่งคนมลายูจะเรียกว่า
'ปือเจาะห์ปาฆฺา' ผลก็คือจะมีเหตุการณ์ที่มีเสือ
ออกมาไล่ล่ามนุษย์ถี่และต่อเนื่อง
เสือสมิงนั้นบางครั้งก็อาศัยอยู่ร่วมกับชาวบ้าน
เช่นที่แฟรงค์ สวีเทนแน่มได้บันทึกไว้ตามคำบอก
เล่าของชาวเปรัคในปี 1895 ที่เล่าว่า เคยมีชาย
เกอรินจีจากสุมาตราสี่คนแวะที่หมู่บ้านของตน
และขอค้างคืนในหมู่บ้าน ในคืนนั้นปรากฎว่าไก่
หลายตัวถูกเสือคาบไปกิน ชาวบ้านออกไล่ล่าเสือ
และยิงเสือได้หนึ่งตัวส่วนอีกตัวบาดเจ็บและหนี
ไปได้ เมื่อมากลับมาถึงหมู่บ้าน ชายจากเกอรินจี
ปรากฏเหลือเพีบงแค่สามคน ส่วนอีกคนนอนป่วย
เพราะโดนกระสุนยิง
เรื่องประหลาดและลี้ลับเกี่ยวกับฮาลอร์หรือ
เสือสมิงสร้างความสนใจแก่ ฮิวจด์ คลิฟฟอร์ด
เป็นพิเศษ ในปี 1897 เขาได้เขียนเรื่องลี้ลับนี่ไว้
ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Malay Sketch ที่
เล่าถึงเสือสมิงตนหนึ่งที่ไล่ล่าชาวมลายูในบริเวณ
ที่ราบแม่น้ำสลิมในเปรัคจนเป็นที่หวาดผวา
ในปาตานีปัจจุบัน เสือสมิงหรือฮาลอร์นั้นกลับ
เป็นเรื่องเล่าอันเลือนลางที่ยังพอปรากฏอยู่ใน
หลายชุมชน ผู้รู้ทางศาสนาในท้องถิ่นให้
มุมมองเกี่ยวกับเรื่องราวของฮาลอร์ว่า เป็นญินนฺ
ชนิดหนึ่งที่สามารถแปลงกายเป็นเสือได้
ชาวมลายูในยุคก่อนได้ใช้ฮาลอร์ทำหน้าที่
บางอย่างเช่นปกป้องไร่สวนและปศุสัตว์โดยให้
บอมอฮฺทำพิธีแลกกับการเซ่นไหว้ ญินนฺฮาลอร์
ส่วนมากจะถูกตกทอดให้ลูกหลานต้องดูแลต่อ
หรือที่เรียก 'ฮาลอร์ปือสากอ'
เนื่องจากการปฎิสัมพันธ์กับญินนโดยเฉพาะ
การเซ่นไหว้บูชาสิ่งเร้นลับชนิดนี้เป็นเรื่องขัด
กับหลักศาสนาอิสลามอย่างรุนแรงและถึงขั้น
ชีริก(ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ซุบฮฺานะฮุวะตาอฺาลา
และขอพระองค์ปกป้องเราจากการกระทำอัน
เป็นชีริกเหล่านี้) เรื่องเล่าเกี่ยวกับฮาลอร์ก็แทบ
ไม่มีให้ได้ยินอีก คงมีเพียงชื่อของหมู่บ้าน
แห่งหนึ่งในอำเภอรามันที่มีชื่อว่า “ตือโละฮาลอร์”
เป็นพยาน
โฆษณา