24 ก.พ. 2023 เวลา 16:33 • ข่าว

ชาวนาไทยสุดทนโพสตัดพ้อทำนาแทบตาย สุดท้ายกลายเป็นหนี้เผยต้นทุนสูงเกินกว่ารับไหว

ชาวนาประเทศไทยมีจำนวน 4.5 ล้านครัวเรือน แต่ใครจะรู้บ้างว่า อาชีพนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความร่ำรวยรวดเร็วขึ้นมาได้ทันที เหมือนภาคการเกษตรกรอื่นๆ แต่ถ้าหากอาชีพนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆช่องทางจากทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชาวนาได้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้บ้าง เช่นเงินอุดหนุนชาวนาต่างๆ ล่าสุดได้มีชาวนาจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง สุดที่จะทน ได้โพสต์ต้นทุนทำนา ซึ่งสวนทางกับราคาข้าวที่ได้รับ
โดยใจความระบุไว้ว่า แจกแจงการลงทุนในการทำนาของตนเอง อีกทั้งยังคำนวณให้แล้วเสร็จทั้งต้นทุน ผลผลิตที่ได้ และกำไรที่ไม่เห็น เนื่องจากในพื้นที่ที่เขาอาศัยนั้น ได้ราคาข้าวตันละ 6,000 บาท พร้อมกันนี้ผลผลิตที่ได้บางครั้งก็ไม่ถึง 1 ตันด้วยซ้ำ ทำให้รู้สึกว่าที่ลงทุนไป หากไม่มีกำลังสนับสนุน ก็คงไม่ยากที่ชาวนาจะกลายเป็นหนี้ สำหรับการ"ลงทุนทำนาต่อ 1 ไร่ ราคากลางมีรายละเอียดดังนี้
ค่าเมล็ดพันธุ์ 600 บาท
ค่ารถปั่น 200 บาท
ค่าทำเทือก 250 บาท
ค่าปุ๋ย 1,200 บาท
ค่ายา 1,000 บาท
ค่ารถเกี่ยว 500 บาท
ค่าเช่า 1,000 บาท
ค่าจ้างคนงาน 500 บาท
สุดท้ายมีค่าสูบน้ำ 1,000 บาท รวมเบ็ดเสร็จแล้วยอดอยู่ที่ 6250 บาท แต่ณ วันนี้ข้าวราคาตันละ + - 6,000 บาทต่อ 1 ตัน ผลผลิตที่ได้โดยเฉลี่ย 900 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยรายรับจากการขายข้าว 5, 400 บาทต่อ 1 ไร่ฉะนั้น
ต้นทุน - ผลผลิตเท่ากับกำไรอยู่ไหน" ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า ชาวนาเกือบทั้งหมดกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากเรื่องนี้
เมื่อเห็นแบบนี้แล้วไม่แปลกใจว่าทำไมว่าทำไม ชาวนาทำนาแล้วขายข้าวและเงินไปไหนหมด ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมา ถึงแม้ว่าล่าสุดที่ประชุม ครม. อนุมัติหลักการโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาพร้อมอัดฉีดในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือ ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท ระยะเวลาการจ่ายเงิน คือ เดือน ก.ย. 64 – เม.ย. 65ก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
แต่ก็ยังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาได้สักที สำหรับเรื่องนี้ก็จะสอดคล้องกับนโยบายหาเสียงของทางพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ว่าหัวใจที่สำคัญที่สุด สำหรับกลุ่มพี่น้องเกษตรกรทุก ๆ คน ก็คือจะทำอย่างไรให้มีเงินในกระเป๋ามากขึ้น โดยนอกจากนโยบายแจกพันธุ์ข้าวที่ดี สู้กับพันธุ์ข้าวต่างประเทศที่ราคาแพงแล้วนั้น การแจกเงินต้นทุนการผลิต 1,000 บาทต่อไร่ เหมือนเป็นการเติมเงินเข้ากระเป๋าให้ชาวนาไปแบบฟรีๆ อีกทางด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่ในเรื่องตามภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่รวมถึงงบประมานที่ต้องใช้ มากน้อยอย่างไรอีกด้วย แต่ถ้าหากว่ามองในภาพรวมถ้านโยบายเร่งช่วยชาวนาแบบได้ผลเป็นจริงแบบนี้ ชาวหนาหลายๆคน คงจะไม่ต้องมานั่งทุกข์ใจ ในเรื่องราคาข้าวที่ตกต่ำอีกต่อไป
โฆษณา