Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
26 ก.พ. 2023 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไม จีน ตามประเทศอื่นไม่ทัน ในอุตสาหกรรม “ชิปเซต”
ประเทศจีน นับว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่การพัฒนาเทคโนโลยีการบริการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนในชาติ
2
ด้วยศักยภาพของจีน ที่มีประชากรจำนวนมหาศาล ราว 1,400 ล้านคน
ซึ่งนอกจาก จะเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว
ในแต่ละปี ประเทศแห่งนี้ยังผลิตบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกมาเป็นจำนวนมากด้วย
2
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ และมีนวัตกรรมล้ำหน้า เป็นจำนวนมากอย่าง จีน กลับมี “จุดอ่อน” สำคัญ อย่างไม่น่าเชื่อ
1
จุดอ่อนที่ว่านั้น ก็คือ อุตสาหกรรม “ชิปเซต” ของจีน
ที่เราอาจเรียกได้อย่างเต็มปากว่า จีน ยังคง “ตามหลัง” ชาติอื่น ๆ ในด้านการผลิตชิปเซต ที่มีประสิทธิภาพสูง อยู่อีกมาก
เพราะหากลองยกตัวอย่าง บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมชิปเซต
ไม่ว่าจะเป็น TSMC, Intel, AMD, Qualcomm หรือ Nvidia
จะพบว่า บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่บริษัทสัญชาติจีนเลย..
6
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ทำไมจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในหลาย ๆ ด้าน กลับมีจุดอ่อน ที่อุตสาหกรรมชิปเซต..
4
คำตอบง่าย ๆ คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีน ยังไม่สามารถตามประเทศอื่น ๆ ทัน ในด้านเทคโนโลยีการผลิตชิปเซต ก็เป็นเพราะ “ความกดดัน” ทางการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน นั่นเอง
2
เพราะสหรัฐอเมริกากีดกันจีน ในอุตสาหกรรมชิปเซต ด้วยการ “จำกัด” การส่งออกสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไปยังประเทศจีน
- ชิปเซตรุ่นล่าสุด ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง
- ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการออกแบบแผงวงจร (IC) ในชิปเซต
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตชิปเซต
3
หรือแม้แต่ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตชิปเซต ก็ยังไม่สามารถส่งออกไปให้จีนได้
1
รวมถึงการจำกัดการส่งออกข้างต้นนี้ ไม่ได้บังคับใช้กับบริษัทของสหรัฐอเมริกา เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
3
เพราะหากบริษัทในอุตสาหกรรมผลิตชิปเซตบริษัทใด ใช้เทคโนโลยี หรือสิทธิบัตร ของสหรัฐอเมริกา ก็จะโดนห้ามการส่งออกไปยังประเทศจีนด้วย
5
นั่นก็หมายความว่า จีนถูก “กันซีน” แทบทุกทาง ในอุตสาหกรรมชิปเซต ระดับโลก..
2
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามว่า ทำไมจีนไม่คิดใหม่ ทำใหม่ โดยการออกแบบชิปเซต เป็นของตัวเอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์
ในกรณีนี้ หากจีน ต้องการออกแบบชิปเซตด้วยตัวเอง โดยเริ่มตั้งแต่ศูนย์ ก็ต้องบอกว่า ไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ
8
เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบแผงวงจรในชิปเซต ที่บริษัทในอุตสาหกรรมชิปเซตใช้กันอยู่ ในปัจจุบันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา แทบทั้งสิ้น
1
โดยในปัจจุบัน บริษัทที่เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ออกแบบชิปเซต รายใหญ่ ๆ ในโลกนี้ มีอยู่ด้วยกัน 5 ราย ได้แก่
- ANSYS, Inc.
- Cadence Design Systems, Inc.
- Keysight Technologies, Inc.
- Synopsys, Inc.
- Xilinx, Inc.
4
และทั้ง 5 บริษัทข้างต้นนี้ เป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนั่นก็หมายความว่า จีนแทบจะไม่มีโอกาส ในการเข้าถึงซอฟต์แวร์การออกแบบชิปเซต ได้เลย
1
นอกจากนี้ หากจีนมีความสามารถในการออกแบบชิปเซตรุ่นล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้ด้วยตัวเองสำเร็จจริง
1
ก็จะติดปัญหาต่อไป นั่นก็คือ การนำชิปเซตที่ออกแบบไว้ ไปผลิตจริง
1
เพราะการผลิตชิปเซตรุ่นล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องจักรที่มีชื่อว่า Extreme Ultraviolet Lithography (EUV) ในการผลิตชิปเซต เท่านั้น..
3
และในปัจจุบัน มีบริษัทที่ชื่อว่า ASML (อ่านว่า อาเอสเอ็มเอล) เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่สามารถผลิตเครื่องจักร EUV นี้ได้
1
เนื่องจากความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้บริษัทที่เคยผลิตเครื่องจักรสำหรับการผลิตชิปเซตอื่น ๆ ทยอยออกจากตลาดนี้ไป
2
และแน่นอนว่า ASML ก็กำลังถูกสหรัฐอเมริกากดดัน ไม่ให้ขายเครื่องจักร EUV นี้ ให้กับจีนอีกด้วย..
1
นั่นก็หมายความว่าในตอนนี้ จีนเหมือนติดอยู่ในวังวน ที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนอะไรได้มากนัก
3
เพราะไม่ว่าจีน จะต้องการพัฒนา ออกแบบ หรือผลิตชิปเซตเป็นของตัวเอง ก็จะต้องติดปัญหาข้างต้น โดยยากที่จะหลีกเลี่ยง..
3
ซึ่งหากจะยกตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุด ที่เกิดขึ้นจากการที่จีน ถูกกีดกัน ในอุตสาหกรรมการผลิตชิปเซต
1
ก็คงต้องยกตัวอย่าง จากกรณีของ Huawei บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ของประเทศจีน ที่ถูกสหรัฐอเมริกา “แบน” ตั้งแต่ปี 2019 ในสมัยที่ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี
2
นอกจาก Huawei จะไม่สามารถนำบริการต่าง ๆ ของ Google เข้ามาใส่ไว้ในสมาร์ตโฟนของตัวเองได้แล้ว
2
ยังทำให้ Huawei ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่อยู่ในชิปเซตบางอย่างได้
เช่น สมาร์ตโฟนของ Huawei ในระดับ “เรือธง” ไม่มีคุณสมบัติในการใช้งานระบบ 5G ทั้งที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสมาร์ตโฟนในปัจจุบัน
4
อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้ ไม่ได้หมายความว่าจีน จะไม่พยายามในการออกแบบ และพัฒนาชิปเซตเป็นของตัวเอง
เพราะในความจริงแล้ว ปัจจุบัน จีนก็มีความพยายามในการผลิตชิปเซต เป็นของตัวเองอยู่เรื่อย ๆ
1
อย่างในช่วงเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว รัฐบาลจีน ก็ได้มีการประกาศอัดฉีดงบประมาณกว่า 1 ล้านล้านหยวน (ราว 5 ล้านล้านบาท) เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาชิปเซตด้วยตัวเอง ภายในประเทศ ตลอดระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านี้
3
แต่ในปัจจุบัน ชิปเซตที่จีนสามารถผลิตได้เองนั้น ยังคง “ห่างชั้น” จากประเทศอื่น ๆ อยู่อีกมาก
1
โดยเฉพาะในด้าน “เทคโนโลยีการผลิต” ของชิปเซต ที่ยิ่งมีขนาดเล็ก ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพ จากจำนวน “ทรานซิสเตอร์” ที่เพิ่มขึ้นในชิปเซต
1
ซึ่งในเดือนกันยายน ปีที่แล้ว สำนักข่าวภายในประเทศจีน เพิ่งจะมีการรายงานว่า บริษัทผลิตชิปเซตสัญชาติจีน อย่าง SMIC เพิ่งจะประสบความสำเร็จในการผลิตชิปเซต ขนาด 14 นาโนเมตร เป็นจำนวนมาก (Mass Production) ได้เป็นครั้งแรก
1
รวมถึงอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาชิปเซต ขนาด 7 และ 5 นาโนเมตร ให้สามารถผลิตได้จริง ในอนาคต..
5
แต่หากเทียบกับความสามารถของบริษัทผู้ผลิตชิปเซตแถวหน้ารายอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง TSMC จากไต้หวัน
1
จะพบว่าในปัจจุบัน TSMC เพิ่งจะประกาศว่า บริษัทสามารถผลิตชิปเซต ขนาด 3 นาโนเมตร ได้เป็นจำนวนมาก เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในช่วงเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา..
2
หรือแม้แต่ชิปเซตที่เราใช้กันอยู่ในสมาร์ตโฟนระดับเรือธง ในปัจจุบัน ก็ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีการผลิต ที่มีขนาดเล็กกว่าที่จีนสามารถผลิตได้
3
เช่น ชิปเซต Apple A16 Bionic ที่ใช้ใน iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max รุ่นล่าสุด ก็มีเทคโนโลยีการผลิตอยู่ที่ 4 นาโนเมตร
3
หรืออย่างชิปเซต Snapdragon 8 Gen 2 ที่ใช้ใน Samsung Galaxy S23 Ultra ก็มีเทคโนโลยีการผลิต อยู่ที่ 4 นาโนเมตร เช่นเดียวกัน
2
นั่นก็หมายความว่า แม้จีน จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาชิปเซตของตัวเอง ให้มีเทคโนโลยีการผลิต และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถตามประเทศอื่น ๆ ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตชิปเซตได้ทัน..
5
เพราะแม้ว่ารัฐบาลจีน จะทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตชิปเซต ภายในประเทศ
แต่อย่าลืมว่า ผู้เล่นรายใหญ่ ในอุตสาหกรรมชิปเซตทั่วโลก ก็ต่างไม่เคยหยุดนิ่ง ในการพัฒนาเทคโนโลยีชิปเซตของตัวเองเลยเช่นเดียวกัน..
2
MarketThink เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ ASML บริษัทผู้ผลิต “เครื่องจักร” ที่ผูกขาดการผลิตชิปเซต ของโรงงานเกือบทุกแห่งในโลก หากใครสนใจ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิงก์นี้ >
https://www.marketthink.co/35045
3
●
https://en.wikipedia.org/wiki/Electronic_design_automation
●
https://www.tsmc.com/english/aboutTSMC/dc_infographics_supplychain
●
https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/electronic-design-automation-eda-tools-market
●
https://www.investopedia.com/articles/markets/012216/worlds-top-10-semiconductor-companies-tsmintc.asp
●
https://www.vox.com/world/2022/11/5/23440525/biden-administration-semiconductor-export-ban-china
1
●
https://www.youtube.com/watch?v=Uh4QGey2zTk
●
https://www.cnbc.com/2022/12/14/china-readying-143-billion-package-for-its-chip-firms-reuters.html
●
https://www.globaltimes.cn/page/202209/1275240.shtml
●
https://www.tomshardware.com/news/smic-mass-produces-14nm-nodes-advances-to-5nm-7nm
●
https://www.reuters.com/technology/tsmc-starts-volume-production-most-advanced-chips-taiwan-2022-12-29/
●
https://edition.cnn.com/2023/01/30/tech/asml-chipmaking-export-controls-china-intl-hnk/index.html
79 บันทึก
96
12
80
79
96
12
80
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย