Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE BRIEFBOOK
•
ติดตาม
25 ก.พ. 2023 เวลา 17:30 • กีฬา
🏊🏻ความจริงน่ารู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำ
15 ความจริงน่ารู้เกี่ยวกับ "การว่ายน้ำ"
[ Why We Swim ]
1. เด็กทารกสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้ และในขณะดำน้ำอัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลงด้วย เพราะเมื่อใบหน้าสัมผัสกับน้ำ ระบบรีเฟล็กซ์จะทำให้หลอดลมปิด ทารกจึงไม่สำลักน้ำ Diving reflex เป็นความสามารถที่ธรรมชาติมอบให้มาตั้งแต่แรกเกิด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทารกเอาตัวรอดได้ด้วยตัวเองเมื่อถูกโยนลงสระ
2. ชาวเลเผ่าบาเจา (Bajau) ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตกับน้ำจะมี “ม้าม” ใหญ่กว่าชาวบ้านที่แผ่นดินใหญ่ เพราะเมื่อเราดำน้ำ ม้ามของเราจะช่วยป้อนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ฟอกแล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดมากขึ้น หัวใจจะเต้นช้าลง หลอดเลือดแดงจะหดตัวเพื่อส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญ
3. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น “แมวน้ำ” จะมีม้ามที่ใหญ่กว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่บนบก และยิ่งตัวไหนที่ม้ามใหญ่ ก็จะยิ่งดำได้ลึก
4. การว่ายน้ำสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้มากกว่าการออกกำลังกายบนบก และยังช่วยลดสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (Arteriosclerosis) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
5. เมื่อเราแช่ตัวลงน้ำ แรงดันน้ำจะดันเลือดจากแขนและขาไปสู่ปอดและหัวใจมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดเลือดเกิดแรงต้านเบาๆ เปรียบดั่งการออกกำลังของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจแข็งแรงมากขึ้น และควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น
6. การว่ายน้ำสามารถช่วยรักษาโรคข้ออักเสบได้อย่างดี ช่วยลดอาการปวด ทำให้การเคลื่อนที่ของข้อต่อดีขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และที่สำคัญยังเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายบาดเจ็บได้น้อยกว่าการวิ่งหรือปั่นจักรยาน
7. จากงานวิจัยพบว่า หากแช่ตัวในน้ำอุณหภูมิ 32 องศา จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ถ้าแช่น้ำอุณหภูมิ 14 องศา ในระยะเวลาเท่ากันจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้มากขึ้น 350% เพิ่มการหลั่งสารโดพามีน 250% นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่าการว่ายน้ำเย็นจะช่วยคลายเครียด ลดความเหนื่อยล้าและความเจ็บปวดอีกด้วย
8. ในร่างกายของเรามี “ไขมันสีขาว” และ “ไขมันสีน้ำตาล” ไขมันสีขาวจะทำหน้าที่กักเก็บพลังงาน แต่ไขมันสีน้ำตาลนอกจากจะทำหน้าที่กักเก็บพลังงานแล้ว ยังช่วยเผาผลาญพลังงาน สร้างความร้อนมาช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเซลล์ไขมันสีน้ำตาลเป็นเซลล์ที่มีปริมาณไมโทคอนเดรีย (mitochondria) อยู่มาก
9. การออกกำลังกายจะช่วยเปลี่ยนไขมันสีขาวไปเป็นไขมันสีน้ำตาลทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่ายน้ำในน้ำเย็น จะช่วยทำให้คุณคงรูปร่างผอมเพรียวได้มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับทุกคนเนื่องจากความหนาวเย็นจะกระตุ้นหลอดเลือดให้ตีบตันและเป็นอันตรายต่อหัวใจสำหรับคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง เช่น ผู้สูงอายุ
10. เมื่อเราอายุ 50-60 ปี สัดส่วนไขมันสีน้ำตาลในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการเผาผลาญและโรคอ้วน
11. การว่ายน้ำทำให้เราหายใจลึกขึ้น ซึ่งการหายใจลึกๆจะกระตุ้นทำให้ระบบประสาทสงบและผ่อนคลาย มีความสุข นอกจากนั้นจุดเด่นของการว่ายน้ำ คือ “ความสนุก” (สังเกตจากรอยยิ้มของเด็กๆ) โดยการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมหย่อนใจอันดับ 2 ของอเมริกาเป็นรองแค่เพียงการเดิน
12. ไม่ว่าการว่ายน้ำจะเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากเพียงใด แต่ก็มีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต โดยทุกๆ ปีจะมีคนเสียชีวิตจากการจมน้ำประมาณ 372,000 คน หรือประมาณ 40 คนต่อชั่วโมง
13. การแหวกว่ายทอดกายท่ามกลางสายธาร จะกระตุ้นให้เราเชื่อมโยงกับปัจจุบันมากขึ้น และลดความวิตกกังวลจากวิถีชีวิต เปรียบดั่งยาบำบัดความทุกข์ได้อย่างดี นักวิทยาศาสตร์พบแล้วว่า เมื่อร่างกายสัมผัสกับน้ำ จะทำให้เราลดการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และระบบประสาทอัตโนมัติจะเริ่มทำงาน ซึ่งทำให้เราเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ส่งผลให้เราแก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างน่าอัศจรรย์
14. เสียงของน้ำไม่ว่าจะเป็นเสียงของคลื่นมหาสมุทร หรือเสียงของน้ำตก จะทำให้คลื่นแอลฟาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการผ่อนคลายและหลั่งสารซีโรโทนินมากขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต นอกจากนี้รูปภาพที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบยังช่วยลดความกังวลหลังผ่าตัดได้ดีกว่าภาพที่เป็นป่าทึบ
15. สุดท้าย Why We Swim ทำให้เราได้เห็นว่ามนุษย์นั้นมีความเกี่ยวโยงผูกพันกับน้ำมากกว่าเพียงแค่การดื่มและใช้เท่านั้น แต่ยังเชื่อมต่อกันผ่านด้านจิตวิญญาณข้างในอีกด้วย การว่ายน้ำมอบความสนุก สุขภาพ ความสงบ ความคิดสร้างสรรค์ เปรียบดั่งโลกอีกใบที่เข้าถึงได้ง่ายและเติมพลังให้เราได้อย่างดีเยี่ยม
…พะโล้
4 บันทึก
4
1
4
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย