Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Sound of Thoughts
•
ติดตาม
28 ก.พ. 2023 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิจัยพัฒนาวัสดุอาคารที่ควบคุมอุณหภูมิตึก
นักวิจัยจาก University of Chicago พัฒนาวัสดุติดตั้งภายนอกอาคารที่สามารถให้ความร้อนหรือให้ความเย็นกับตัวอาคารเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในตึก
วัสดุที่ว่านี้มีการทำงานเหมือนกิ้งก่าเปลี่ยนสีด้วย กล่าวคือ ถ้าวันไหนมีอากาศร้อน ตัววัสดุจะปล่อยความร้อนและแสดงเป็นสีเหลือง ในขณะที่ถ้าวันไหนอากาศหนาว ตัววัสดุจะกักเก็บความร้อนและแสดงเป็นสีม่วง
ภาพการแสดงสีของวัสดุ
ตัววัสดุประกอบด้วยเลเยอร์หลายชั้น ได้แก่ ฟอยล์ทองแดง พลาสติก แกรฟีน (graphene) และสามารถอ่านสีอินฟราเรดภายใต้กระบวนการวัดอุณหภูมิหรือ thermal imaging ที่ติดตั้งที่ชั้นผิวภายนอก
Po-Chun Hsu วิศวกรผู้ซึ่งนำการวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า แนวคิดของการควบคุมอุณหภูมิตึกได้มาจากเวลาที่เราปฏิบัติกับคน ถ้าหากคนนั้นรู้สึกหนาวเราก็จะเสริมเครื่องนุ่มห่ม แต่ถ้าหากเขาร้อนเราก็จะเอาเครื่องนุ่มห่มออก
ดังนั้น หลักการทำงานคร่าว ๆ ของวัสดุควบคุมอุณหภูมิ คือ การใช้ไฟฟ้าปริมาณน้อยไปกระตุ้นปริมาณการก่อตัวของทองแดง ถ้าตัวอาคารต้องกักเก็บความร้อนเพื่อทำให้ภายในอาคารอุ่น ไฟฟ้าจะกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของทองแดงภายในวัสดุ เพื่อให้ทองแดงช่วยกักเก็บความร้อนได้ดีขึ้น
ตรงกันข้าม หากต้องการทำให้อาคารเย็นลง ไฟฟ้าจะลดปริมาณการก่อตัวของทองแดง แล้วเปลี่ยนวัสดุให้มีปริมาณของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยดูดซับความร้อนจากข้างในตึก แล้วคลายความร้อนออกจากตึกตามมา
ภาพแสดงชั้นเลเยอร์ภายในวัสดุ และเมื่อต้องการให้ตึกกักเก็บความร้อน ไฟฟ้าจะกระตุ้นการก่อตัวของทองแดง (ฝั่งขวา)
ทีมวิจัยได้ทดลองนำวัสดุไปติดตั้งกับตึกอาคารใน 15 เมืองในอเมริกา เพื่อทดลองกับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน 15 เขต และค้นพบว่า ในเขตที่ต้องเจอกับสภาพภูมิอากาศหลากหลายแบบ วัสดุควบคุมอุณหภูมิช่วยทำให้ตึกอาคารสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ถึง 8 เปอร์เซ็นต์
โดยปกติตึกอาคารต่าง ๆ มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 37 เปอร์เซนต์ เนื่องมาจากการใช้พลังงานภายในตึกเพื่อให้เกิดความสว่าง ความอบอุ่น หรือความเย็น การพัฒนาวัสดุที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิอาจช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานที่ว่านี้
ความน่าสนใจของการพัฒนาวัสดุควบคุมอุณหภูมินั้นอยู่ที่การหยิบใช้แนวคิดจากเรื่องรอบ ๆ ตัว แล้วนำมาตั้งคำถาม เช่น เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะออกแบบวัสดุของอาคารให้เหมือนเสื้อกันหนาวที่คนเราใส่ จนต่อยอดมาสู่การพัฒนาวัสดุควบคุมอุณหภูมิดังกล่าว
อ้างอิง
https://www.dezeen.com/2023/02/14/colour-changing-facade-material-university-of-chicago/
https://www.fastcompany.com/90844021/this-chameleon-like-material-is-like-a-jacket-for-your-home
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย