Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
27 ก.พ. 2023 เวลา 06:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ถ้าต้องการเงินใช้หลังเกษียณ เดือนละ 20,000 บ. ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ ลองคิดกัน
การเก็บเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณ ควรเริ่มตั้งแต่อายุน้อย เนื่องจากเงินที่ต้องใช้เพื่อเกษียณสุขนั้น ต้องใช้มากพอสมควร วิธีการคิดแบบง่าย ๆ คือ เราคิดว่า เราจะมีอายุหลังเกษียณกี่ปี ซึ่งควรคิดไว้ถึงอายุอย่างน้อย 80 ปี เนื่องจากค่าเฉลี่ยตอนนี้อยู่ที่ 77 ปี และจะใช้เงินต่อเดือนเท่าไหร่ ซึ่งควรจะมีใช้อย่างน้อย 15,000 บ.
เช่น จะใช้หลังเกษียณเดือนละ 20,000 บ. จะมีชีวิตหลังเกษียณ 20 ปี (อายุ 60-80 ปี) เงินที่ใช้ = 20,000 บ.ต่อเดือน X 20 ปี X 12 เดือน = 4,800,000 บ. อันนี้ยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อประมาณ 2% ต่อปี ดังนั้น ควรมีเงินประมาณอย่างน้อย 5 ล้านบาทสำหรับเป้าหมายนี้
ซึ่งเราอาจเลือกลงทุนเอง หรือเลือกลงทุนผ่านตัวช่วยต่างๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายนี้ได้ มีตัวช่วยอะไรบ้าง
สำหรับมนุษย์เงินเดือน จะมีการเก็บเงินเพื่อเป้าหมมายนี้ภาคบังคับ ก็คือ ประกันสังคม เงินที่เราถูกหักแต่ละเดือน นอกจากจะไว้ใช้เรื่องการเจ็บป่วย กาคลอดบุตร ชดเชยกรว่างงานแล้ว มีอีกสิทธิที่ควรรู้คือเรื่องของเงินชราภาพนะ ซึ่งถ้าจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้เงินบำนาญเป็นรายได้เดือนไปตลอดชีวิต เช่น ถ้าส่งเงินประกันสังคม 750 บ.ต่อเดือน มา 15 ปี จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บ. นะ ยิ่งจ่ายสมทบมานานเงินที่ได้ต่อเดือนตรงนี้ก็จะสูงขึ้น แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมาไม่ครบ 180 เดือนได้บำเหน็จ
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อันนี้เป็นภาคสมัครใจของมนุษย์เงินเดือน และบงที่ทำงานก็ไม่ได้มีให้ แต่ถ้าที่ทำงานใครมี แนะนำว่า ควรสมัครนะเพราะเหมือนได้เงินเดือนเพิ่มจากนายจ้าง เพื่อช่วยเราเก็บเงินเกษียณด้วย ซึ่งเงินที่นำมาออกจาก PVD ที่ครบเงื่อนไขอายุ 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับยกเวนภาษีด้วย อีกทั้งยังสามารถเลือกรับเป็นเงินก้อนทั้งหมดหรือจะทยอยขอรับเป้นรายงวด เหมือนทำบำนาญให้ตัวเองก็ได้เช่นกัน
สำหรับข้าราชการ จะมี กบข. ซึ่งจะบังคับหักขั้นต่ำ 3% แต่เราสามารถสมัครใจให้หักเพิ่มได้ถึง 15% ของเงินเดือนเรา ต่อเดือนได้ ซึ่งการออกจากราชการไม่ว่า กรณีไดๆ ก็จะได้ เงินที่เราสะสม เงินสมทบของรัฐ และเงินผลประโยชน์ที่ได้รับ เงินจาก กบข. จะมากน้อย ขึ้นกับอัตราการจ่ายเงินสะสม และแผนการลงทุนที่เลือก ส่วนเงินบำเหน็จหรือบำนาญจากกระทรวงการคลัง ขึ้นกับอายุราชการ
สำหรับ freelance สามารถเลือกส่งประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งจะมีสิทธิชราภาพ ถ้าเลือกส่งแบบที่ 2 หรือ 3 (ถ้าแบบที่ 1 ไม่มีสิทธิชราภาพนะ) ซึ่งจะส่ง เดือนละ 100 บ. หรือ 300 บ. ต่อเดือน จะได้สิทธิรับบำนาญขั้นต่ำ 600 บ.ต่อ เดือนไปตลอดชีวิตได้ ถ้าส่งมาอย่างน้อย 420 เดือน (35 ปี) ถ้าส่งมาน้อยกว่านี้จะได้เป็นบำเหน็จ
สำหรับ freelance ยังมีตัวช่วยเพื่อเก็บเงินเกษียณ โดยมีรัฐช่วยออมเพิ่ม และการันตีผลตอบแทนไม่น้อยกว่าเงินฝากประจำ 12 เดือน คือ กอช. (กองทุนการออมแห่งชาติ) ซึ่งสามารถส่งขั้นต่ำ 50 บ. สูงสุด ไม่เกิน 13,200 บ./ปี ไม่ต้องส่งทุกเดือนก็ได้ ซึ่งเงินที่ส่งนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย เมื่ออายุครบ 60 ปี จะได้เป็นเงินบำนาญตลอดชีพ หรือเงินดำรงชีพ ถ้าคำนวณแล้วได้ไม่น้อยกว่า 600 บ./ เดือน จะได้เงินบำนาญ
ที่เล่ามา ไม่ว่าจะเป็นเงินประกันสังคม PVD กบข. กอช สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย และเป้นตัวช่วยสำหรับแต่ละลักษณะอาชีพ ถ้าเราต้องการตัวช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม และเพื่อเป้าหมายเกษียณให้ได้ตามเป้า ยังมีตัวช่วยเรื่อง RMF หรือ ประกันบำนาญ เพิ่มเติมได้
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌www.doctorwanttime.com
📌www.youtube.com/@doctorwanttime
📌www.facebook.com/doctorwanttime
📌
www.tiktok.com/@doctorwanttime
#เงินเกษียณ #เก็บเงินเกษียณ #ลงทุน #เก็บออม #pvd #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #RMF #กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ #กอช #กองทุนเพื่อการออมแห่งชาติ #ประกันสังคม #สิทธิชราภาพ #กองทุนรวม
มนุษย์เงินเดือน
ออมเงิน
การเงิน
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย