27 ก.พ. 2023 เวลา 11:02 • ความคิดเห็น
ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ติดตามความเป็นไปของข่าวต่างประเทศอยู่บ้างตามเวลาที่พอจะเอื้ออำนวย
ผมจึงขอเปรียบเปรย “สถานการณ์แผ่นดินไหว” กับข่าวเหตุการณ์ความขัดแย้งทาง “การเมืองระดับโลก” ดังนี้ครับ
คืออันที่จริงเปลือกโลกของเราจะมีอยู่หลายๆชิ้น และแต่ละชิ้นก็ยัง “เคลื่อนตัว” ไปมาอยู่ตามแรงดันใต้เปลือกโลก
ก็ไม่ได้แตกต่างจาก “การเคลื่อนไหวทางการเมืองโลก” ที่มีเงื่อนไขของ “อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางทหาร” เป็นตัวผลักดัน
หากมองดู “hotspots” ในประเด็นของเรื่องแผ่นดินไหว
จุดที่เกิดแผ่นดินไหวก็จะมีหลายจุดทั่วโลก และจุดสำคัญๆคือ
> San Andreas Fault: แถบชายฝั่งของ California
> Sagaing Fault: แถบประเทศพม่า
> Anatolian Fault: อันนี้คือที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ตุรกี
หากมองย้อนกลับมายังประเด็น “การเมืองระดับโลก”
เราก็สามารถแลเห็น “Hotspots” ที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของ “อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางทหาร” อยู่ในหลายๆภูมิภาคเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น
> ตะวันออกกลาง
> ยุโรปตะวันออก
> ทะเลจีนใต้
หากมองในเชิงเปรียบเทียบ ก็ไม่ต่างจากเหตุแผ่นดินไหวแต่อย่างใด
เพียงแต่ “ขนาดความรุนแรง” หรือ “Magnitude” จะมากน้อยต่างกัน บางกรณีก็สามารถใช้ “วิถีทางทางการทูต” และการต่อรองทางอำนาจเศรษฐกิจเข้าเจรจาได้
ผมจึงมักอธิบายตัวเองด้วยการตั้งข้อสังเกต จากเหตุการณ์ความไม่สงบในยูเครนดังนี้
1) ประเด็นด้าน “ภูมิรัฐศาสตร์”
2) ประเด็นด้าน “สงครามตัวแทน” หรือ “proxy wars”
”สงครามตัวแทน” หรือผมอยากเรียกอย่างง่ายๆว่า “สงครามแบบตีวัวกระทบคราด” มีมายาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองโลกเท่าที่ผมสังเกตดูครับ
2.1) “สงครามเกาหลี” หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1945 ในที่สุด “โลกเสรี” ที่มี “พี่นกอินทรีย์” เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายคือ “พี่หมี” เป็นหัวหอกของทางฝ่าย “โลกสังคมนิยม” ก็เริ่มเปิดฉากความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกตามเหตุและปัจจัยที่เกื้อหนุนในแต่ละภูมิภาค
เมื่อ “จีน” ส่งกองกำลังรุกเข้าคาบสมุทรเกาหลี ทางฝ่าย “พี่นก” และแม้กระทั่ง ทหารไทย ก็ได้ส่งกองกำลังเข้าไปสู้รบในสมรภูมิแห่งคาบสมุทรเกาหลีด้วย!
2.2) “สงครามเวียดนาม”
เมื่อเวียดนามถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้ โดยที่มีทั่ง “พี่นก” และ “พี่หมี” เข้าไปมีอิทธิพลทั้งทาง “การเมืองและเศรษฐกิจ” ในพื้นที่เหล่านั้น “ความขัดแย้ง” ก็เกิดขึ้นจนได้ และในที่สุด “เวียดนาม” ก็กลายเป็นประเทศแนวสังคมนิยมหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1975 เมื่อทหารของฝ่าย “พี่นก” ถูกสั่งให้ถอนกำลังออกจากสมรภูมิในเวียดนาม
ด้วยเหตุผลทางการเมืองในบ้าน “พี่นก” เองด้วยเหตุผลที่ว่า ประชาชนบ้าน “พี่นก” ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียทั้งชีวิตและงบประมาณของฝ่าย “พี่นก” เอง จนนักการเมืองบ้าน “พี่นก” กลัวคะแนนเสียงตกจนต้องมีคำสั่งถอนทหาร
3) “business of wars”
ผมขอยกตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบของ “สงคราม Covid-19” เพื่อชี้ให้เห็นว่า “สงครามคือธุรกิจ” รูปแบบหนึ่ง
เราลองคิดถึง “ค่าใช้จ่าย” เหล่านี้สิครับ
ค่าวัคซีน, ค่าแอลกอฮอล์ล้างมือ, ค่าชุด PPE, ค่าหน้ากากอนามัย, ค่าแรงบุคลากร, ค่าถุงมือ, ค่าอุปกรณ์ตรวจเชื้อ, ค่าน้ำมันรถ, ค่าโรงพยาบาลสนาม, ค่ายารักษา, ค่าประกันต่างๆ ฯลฯ
ผมดูหนังสงครามมาบ้าง สิ่งที่ผมคิดคือ
อุตสาหกรรมอาวุธ ได้ใช้สงครามเป็นเรื่องของการทำ “การตลาด” ที่มีชีวิตของชาวบ้านเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้
อาวุธถูกใช้จริงๆในสมรภูมิ มีผู้เสียชีวิตจริงๆ ซึ่ง “กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย” สามารถตัดสินใจสั่งซื้ออาวุธนั้นๆได้ภายหลัง
4) เมื่อสงครามยุติ และ “ผู้ชนะ” เข้า “บริหาร” ดินแดนที่เขายึดได้ เขาจะ
4.1) ทำการ “แต่งตั้งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม” ผู้บริหาร “ชุดใหม่” ที่จะทำตามสิ่งที่เขาต้องการ เช่น การซ่อมแซม บ้านเรือน, อาคารสำนักงาน, ถนน, สะพาน, ระบบสื่อสาร, รวมถึง ระบบป้องกันประเทศ “ใหม่ทั้งหมด” !!!! คุณลองคิดถึง “เงิน” ที่ต้องใช้สิครับ ว่า “เป็นเงินมหาศาล”แค่ไหน, “ใช้เงินของใคร” และที่สำคัญคือ “ซื้อของจากใคร”
4.2) “ทรัพยากรของดินแดนนั้น” จะถูกบริหารโดยผู้ชนะ “อย่างไร”
ลองหลับตานึกถึง “อนาคต” ของผู้เสียดินแดนสิครับ?
“What could the West win from the war?”
5) ผมมองจากสายตาชาวบ้านทั่วไปว่า อำนาจทางทหารและอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นไปด้วยกัน คล้าย “ยุคล่าอาณานิคม” ซึ่งเทคโนโลยีในการต่อเรือและอาวุธปืนในยุคนั้น ทำให้อังกฤษและสเปนแทบจะครอบครองทั้งโลกได้!
5.1) ทาง EU อาจชักชวนให้ทางยูเครนใช้เงินสกุลยูโร อันอาจนำมาซึ่งเสถียรภาพที่มากขึ้นของเงินสกุลนี้
5.2) ทางยุโรปตะวันตกอาจขาย “ระบบอาวุธ” ให้ทางยูเครน ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ทางยูเครนยังใช้ระบบอาวุธของทางอดีตสหภาพโซเวียตอยู่ เช่น ปืนกลจู่โจม AK-47 (บ้านเราเรียก “อาก้า”) ไปเป็น ระบบของ HK จากเยอรมันหรือ AR-15 (บ้านเราเรียก “M-16”) จากคุณลุงแซม
ส่วนเครื่องบิน ก็เปลี่ยนจาก MIG และ SU ไปเป็น Euro Fighter หรือ F-35 ฯลฯ ซึ่งนั่นอาจเป็น deals ที่แลกเปลี่ยนกับ “พลังงานไฟฟ้า, นำ้มันและก๊าซธรรมชาติ” อะไรทำนองนั้นครับ
5.3) ตลาด EU จะขยายใหญ่ขึ้น (ประชากรยูเครนราว 41 ล้านคน) เพิ่มอำนาจการต่อรองในตลาดโลก
6) “Leadership”
และบทเรียนที่ดีที่สุดที่เรามักได้เรียนรู้จาก “สงคราม” คือ
“ภาวะผู้นำ”
โฆษณา