28 ก.พ. 2023 เวลา 14:00 • ธุรกิจ

ศึกชิง “SM Entertainment” วัดกำลังยักษ์ใหญ่ระหว่าง “HYBE” vs “Kakao”

ผ่าปมปัญหาภายใน “SM Entertainment” จนทำให้สู่ที่มาของการขายหุ้นให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง “HYBE” และ “Kakao” พร้อมวิเคราะห์ว่าหากเกิดการควบรวมกิจการจะส่งผลกระทบใดต่อวงการ “K-POP”
[ เรื่องโดย กฤตพล สุธีภัทรกุล ]
ช่วงนี้ในวงการ “K-POP” คงจะไม่มีข่าวใดใหญ่กว่า “HYBE Corporation” ต้นสังกัดของบอยแบนด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค “BTS” และ หนึ่งในสี่ค่ายเพลงทรงอิทธิพลที่สุดในวงการ ได้ประกาศเข้าซื้อหุ้นของ “อี ซูมาน” ผู้ก่อตั้ง “SM Entertainment” จำนวน 14.8% ในราคา 422,800 ล้านวอน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา และมีเรื่อง “ดรามา” จากฝั่ง SM ออกมาให้ติดตามกันตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 พัค จีวอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HYBE ได้ประกาศผ่านบัญชีทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของค่ายว่า กระบวนการซื้อขายหุ้นจำนวน 14.8% จาก อี ซูมาน ของ HYBE ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ทำให้ HYBE กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ SM ทันที พร้อมยืนยันว่า HYBE จะไม่ก้าวก่ายการบริหารงานของ SM ให้อิสระเต็มที่อย่างที่เคยเป็นมา
กรุงเทพธุรกิจ พาย้อนรอยปมปัญหาภายในค่าย SM Entertainment ทำไมผู้ก่อตั้งค่ายถึงยอมขายหุ้นของตนเองทั้งหมดให้แก่ค่าย “คู่แข่ง” คนสำคัญอย่าง HYBE
ศึกสายเลือดที่ลากคนนอกเข้ามาเกี่ยว
SM Entertainment เป็นค่ายเพลงที่ก่อตั้งโดย “อี ซูมาน” อยู่คู่วงการ K-POP มาอย่างยาวนาน เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ K-POP ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมถึงเป็นหนึ่งใน “BIG 4” ค่ายเพลงใหญ่ที่สุดของวงการในปัจจุบัน
ที่ผ่านมา SM Entertainment ผลิตศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นตัวพ่อตัวแม่ระดับตำนานรวมถึงศิลปินที่เป็นตัวท็อปในปัจจุบันอย่าง
“Shinhwa”
“BoA”
“TVXQ!”
“Super Junior”
“Girls’ Generation”
“Shinee”
“f(x)”
“Exo”
“NCT”
“aespa”
ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า เพลงของศิลปิน SM นั้นมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครด้วยแนวดนตรีสุดล้ำ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ยังคงสดใหม่อยู่เสมอ
อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการสร้างจักรวาล SMCU (SM Culture Universe) เพื่อโยงผลงานของศิลปินในค่ายเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่า อาณาจักร “กวังยา”
ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 SM ได้ประกาศให้หลานชาย 2 คนของซูมาน คือ อี ซองซู ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของค่าย และ ทัค ยองจุน ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) แทนที่ นัม โซยอง และ คิม ยังมิน
กระทั่งชนวนความขัดแย้งได้เริ่มต้นในเดือนต.ค. 2565 เมื่อ SM ตัดสินใจยกเลิกสัญญาจ้างทำเพลงกับ Like Planning บริษัทส่วนตัวของซูมาน ก่อนหมดระยะเวลาสัญญาเดิม 1 ปี โดยให้เหตุผลว่าค่าจ้างไม่คุ้มกับผลกำไรที่ได้
นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของศึกสายเลือด ระหว่าง ซูมานและหลานชายของเขา ที่ยิ่งเดือดมากขึ้นเมื่อ ซองซูและยองจุนตัดสินใจเปิดดีลขายหุ้น 9.05% ของ SM ด้วยในราคา 217,200 ล้านวอน (7 ก.พ. 66) ให้แก่ “Kakao” บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ เพื่อนำเงินไปลงทุนในแผนธุรกิจ “SM 3.0” ที่จะใช้ระบบ มัลติแบรนด์ มีหลายค่ายหลายโปรดิวเซอร์ แทนการผูกขาดแบบเดิม ทำให้ Kakao กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ใน SM รองจากซูมานที่มีหุ้นอยู่ 18.5% เท่านั้น
เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ ซูมานและผู้ถือหุ้นบางส่วนทำให้เขายื่นฟ้อง SM เนื่องจากบอร์ดบริหารออกหุ้นใหม่และหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่บุคคลอื่น (Kakao) โดยไม่ได้แจ้งผู้ถือหุ้นใหญ่ (ซูมาน) ให้รับทราบก่อน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ด้วยเหตุนี้ทำให้ ซูมาน จึงแก้เกมด้วยการขายหุ้น SM จำนวน 14.8% ซึ่งเป็นจำนวนเกือบทั้งหมดที่ตนเองถืออยู่ ให้แก่ HYBE ในวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ HYBE และอีกหลายบริษัท รวมถึง Kakao ต่างเคยติดต่อซื้อหุ้นของเขามาก่อนแล้ว แต่ก็ถูกปฏิเสธมาโดยตลอด ทำให้นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า การที่ซูมานขายหุ้นเกือบทั้งหมดของตนเองในช่วงนี้ ก็เพื่อต้องการ “คานอำนาจ” กับฝั่ง Kakao และหลานชายของตนเอง โดยอาศัยความใหญ่ของ HYBE เป็นจุดเปลี่ยน
เพราะเมื่อพิจารณาเงื่อนไขที่มาพร้อมดีลการขายหุ้นครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้ซูมานกลับมาเป็นใหญ่ใน SM อีกครั้ง เนื่องจากในสัญญาระบุว่า
1
ตัวซูมานเองจะต้อง “ไม่ยุ่งเกี่ยวอุตสาหกรรมเพลง” เป็นเวลา 3 ปี อีกทั้งไม่รับรายได้ 6% จากค่าลิขสิทธิ์เพลง พร้อมปล่อยใน HYBE เข้ามาบริหารงานแทน
โฆษณา