Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกษตรสัญจร
•
ติดตาม
2 มี.ค. 2023 เวลา 02:00 • การเกษตร
ตะปูเพียงแค่ดอกเดียว !!! เร่งมะละกอ ออกดอก ออกผล ดกเต็มต้น จริงมั้ย ?
มะละกอเป็นผลไม้ยอดนิยม นิยมนำไปทานสุกหรือทานดิบได้โดยฉพาะเมนูส้มตำเมนูยอดฮิต ซึ่งมะละกอที่นิยมปลูกจะเป็นสายพันธุ์ฮออนแลนด์ แขกดำ และดำเนิน
ลักษณะของต้นมะละกอจะถูกแบ่งออกเป็นสามเพศ คือ เพศผู้จะไม่มีการออกดอกออกผล เพศเมียจะมีลักษณะดอกเป็น 5 กลีบ แต่มักจะไม่นิยมปลูกเนื่องจากมีรสชาตที่ไม่อร่อยและให้ผลไม่ดก
ส่วนมะละกอเพศกระเทย เป็นเพศที่นิยมมากที่สุด โดยจะมีทั้งเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้ในต้นเดียวกัน จะให้ลูกดก รสชาติดี และเป็นที่ต้องการของตลาด
เทคนิคการตอกตะปูใส่ต้นมะละกอ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นิยมทำกัน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ต้นมะละกอ ออกดอก และลำเลียงอาหารไปเลี้ยงมากขึ้น เนื่องจากเข้าใจว่าต้นมะละกอถูกรบกวน และกำลังจะตาย จึงต้องเร่งดึงสารอาหารและออกดอกเพื่อความอยู่รอด
การตอกตะปูต้นมะละควรตอกบริเวณไหน ?
การตอกตะปูต้นมะละกอ จะตอกบริเวณโคนต้น ซึ่งเป็นบริเสณที่สามารถดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงได้ดี ในการตอกตะปูหากเป็นต้นเล็กควรตอกแค่ 1 เล่มเท่านั้น และระวังไม่ให้ตะปูแทงทะลุไปอีกด้าน
การตอกตะปูต้นมะละกอ ในหนึ่งต้นควรตอกตะปูมากสุดไม่เกิน 2 เล่ม และเมื่อครบระยะเวลา 2 - 3 เดือน หลังจากตอกตะปู ต้นมะละกอมีลำต้นที่ใหญ่ขึ้นและจะเริ่มออกดอกมากขึ้นครับ
ซึ่งต้นมะละกอที่เลือกนำมาตอกตะปู ควรเป็นต้นมะละกอที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และเป็นต้นที่สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการติดดอกครับ
หากเพื่อน ๆ เกษตรสัญจร ปลูกต้นมะละกอแล้ว มีบางต่นที่ไม่ยอมออกดอก ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะครับ เกษตรสัญจรหวังว่า ต้นมะละกอของเพื่อน ๆ จะออกดอกเต็มต้นและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นนะครับ
……………………………………
เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรเพิ่มเติมได้ที่ :
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: เกษตรสัญจร
𝗟𝗜𝗡𝗘 𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗮𝗹: @kasetsanjorn
𝗕𝗹𝗼𝗰𝗸𝗱𝗶𝘁:
blockdit.com/kasetsanjorn/
𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲:
youtube.com/c/Kasetsanjorn
𝗧𝗶𝗸𝗧𝗼𝗸:
tiktok.com/@kasetsanjorn
𝗧𝘄𝗶𝘁𝘁𝗲𝗿:
twitter.com/kasetsanjorn/
𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲:
kasetsanjorn.com
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย