Richard Stellman ได้ประกาศจัดทำโครงการ General Public License (GNU) เพื่อสร้างโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรีได้ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ และเปิดตัวโครงการ GNU อย่างเป็นทางการในปี 1984
🟢 ปี 1985 - ก่อตั้ง FSF
Richard Stellman ก่อตั้ง Free Software Foundation (FSF) เป็นองค์กรสนับสนุน Free Software ให้สามารถเผยแพร่และแก้ไข Computer Software ได้โดยปราศจากข้อจำกัดใด ๆ รวมถึงเป็นสำนักงานใหญ่ขององค์กรในโครงการ GNU จนถึงปัจจุบัน
▪ Guido van Rossum เปิดตัว Python ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม และเรียนรู้ได้ง่ายเนื่องจากมีไวยากรณ์พื้นฐานเหมือนภาษาอังกฤษ
🟢 ปี 1993 - เปิดตัว Debian
Debian เป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงในฐานะ Linux Distribution ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ด้วยแนวคิดแบบ Open Source ที่เป็นต้นแบบให้กับชุมชนนักพัฒนาอื่น ๆ นำไปพัฒนาต่อ เช่น Ubuntu เป็นต้น ก่อตั้งโดย Lan Murdock
🟢 ปี 1994 - เปิดตัว PHP
PHP มาจากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิมคือ Personal Home Page ถูกสร้างขึ้นโดย Rasmus Lerdorf เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ประเภท Scripting Language ใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML
🟢 ปี 1995 - เปิดตัว MySQL
MySQL ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ Database Management System (DBMS) ที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและจัดสรรประเภทของข้อมูลได้ตามความต้องการ ถูกสร้างโดยชาวสวีเดน 2 คน คือ David Axmark และ Allan Larsson ร่วมกับชาวฟินแลนด์ Michael Monty Widenius
🟢 ปี 1997 - เปิดตัวหนังสือ The Cathedral and the Bazaar
Eric S. Raymond ได้เขียนหนังสือเรื่อง “The Cathedral and the Bazaar” เกี่ยวกับการเปรียบเทียบการสร้างวิหาร (The Cathedral) เหมือนการพัฒนา Software ด้วยแนวคิดแบบ Open Source ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงต้นปี 1998
🟢 ปี 1998 - Free Software เปลี่ยนชื่อเป็น Open Source
“The Cathedral and the Bazaar” มีอิทธิพลต่อ Netscape Communications Corporation ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนในรูปแบบ Free Software ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ Mozilla, Firefox และ Thunderbird การพัฒนานี้ทำให้ Eric S. Raymond นำทีมไปประยุกต์ใช้ Free Software ของ FSF ให้เป็นอุตสาหกรรม Software เชิงพาณิชย์ และเปลี่ยนชื่อ Free Software เป็น “Open Source”
🟢 ปี 2001 - ก่อตั้ง Free Software Foundation Europe (FSFE) และประเทศอื่น ๆ
FSFE เป็น Eingetragener Verein หรือองค์กรการกุศลที่ส่งเสริมให้มีการใช้งานและพัฒนา Free Software พร้อมจัดหาทรัพยากรเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งาน Free Software ในยุโรป และมีการก่อตั้ง Free Software Foundation France และ Free Software Foundation India
🟢 ปี 2002 - เปิดตัว Membership Program
เปิดตัว Membership Program เพื่อสนับสนุนงานหลักของ Free Software โดยมีผู้บริจาคตั้งแต่รายบุคคลไปจนถึงจากบริษัทรายใหญ่ และมีการมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ LibrePlanet, ฟรีส่วนลด 20% สำหรับสินค้า FSF และ Videoconferencing Server ของ FSF ที่เปิดตัวในปี 2020 ซึ่งรายได้จาก Membership Program เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของ FSF
🟢 ปี 2003 เปิดตัว WordPress
WordPress หรือ ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) เป็น Open Source ยอดนิยม ถูกสร้างโดย Matt Mullenweg นักพัฒนาชาวอเมริกัน และ Mike Little นักพัฒนาชาวอังกฤษ เพื่อเป็นระบบเผยแพร่บทความและมีการพัฒนาให้รองรับเนื้อหาบนเว็บไซต์ทุกประเภท
🟢 ปี 2004 เปิดตัว Ubuntu และ CentOS
▪ Ubuntu ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบแบบเปิด ซึ่งมีพื้นฐานจาก Linux เป็น Open Source ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ GNU/GPL ที่สามารถนำไปใช้, ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ได้อย่างอิสรเสรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ก่อตั้งโดย Mark Shuttleworth
▪ CentOS ระบบปฏิบัติการ Community Enterprise Operating System หรือ ระบบปฏิบัติการ Linux สำหรับองค์กร ที่เน้นเรื่องความเสถียรและมีการอัปเดตความปลอดภัยระดับสูง เป็น Open Source ที่พัฒนามาจาก Source Code ของ RedHat Enterprise Linux (RHEL) ก่อตั้งโดย Gregory Kurtzer
🟢 ปี 2006 - เปิดตัว Defective by Design Campaign
FSF เปิดตัว Defective by Design (DBD) เพื่อกำจัด Digital Restrictions Management (DRM หรือการควบคุมและจำกัดสิทธิ์การใช้สื่อ Digital โดย DRM เป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้ จึงทำให้เกิดวันต่อต้าน DRM สากลประจำปี (IDAD) ซึ่งมีองค์กรทั่วโลกร่วมประท้วงการใช้ DRM ผ่าน DBD Campaign