2 มี.ค. 2023 เวลา 14:19 • ความคิดเห็น
ความตาย ช่างเย้ายวน
ขณะที่เป็นเรารับรู้มันไม่ได้
ขณะที่ตายเราย่อมไม่เป็น
.
"สิมาเธอมาจากไหน?"
"สิมาเธอรู้รึว่าเธอมาจากไหน?"
"สิมาเธอกำลังจะไปไหน?"
"สิมาเธอรู้รึว่าเธอกำลังจะไปไหน?"
ผมเคยถูกตัวเองถามเหมือนสิมา แต่ไม่รู้ว่าจะตอบตัวเองยังไง
.
คำตอบของคำถามนี้มักเชื่อมโยงหรือนำไปสู่หลักจริยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งสรุปแล้วอาจมีแค่สอง คือตายแล้วสูญกับตายแล้วไม่สูญ
คนที่ยึดถือปลายที่ตายแล้วสูญมักนำไปสู่จริยธรรมของพวกสำมะเลเทเมาและเหลวแหลก
ส่วนพวกที่ยึดถือปลายที่ตายแล้วไม่สูญถ้าไม่อยากไปอยู่กับพระเจ้าก็อยากไปสู่สวรรค์
.
แต่หากตายย่อมต่างจากเป็นและเป็นย่อมต่างจากตาย
ผู้ที่ลืมตาตื่นขึ้นมาจะในนรกหรือสวรรค์ จะพูดหรือว่าตนคือคนตาย?
โอ้! ถ้าเช่นนั้นความตายย่อมไม่มี!
.
แต่หากโลกหลังความตายมันไม่มี
และอีกครั้ง ตายไม่เท่ากับเป็น และเป็นไม่เท่ากับตาย
เมื่อเราตระหนักรู้ว่า "เรา" "เป็น" "อยู่"
และก็ตระหนักรู้ว่าก่อนหน้านี้ "เรา" "ไม่เคยเป็น"
รึว่าเราเคยเป็น?
ความเป็น(เราที่ยังไม่ตาย)จะเกิดจากความตาย(เราที่ยังไม่เกิด)ได้อย่างไร?
การแก้ปัญหาที่ไม่แยบคายย่อมได้เพียงความฉงนกลับมาก็เท่านั้น
"ก่อนเกิดเราคือใคร?, เกิดแล้วเราคือใคร?, ยังไม่เกิดเราคือใคร?"
.
แต่จากจุดเริ่มต้น
คำตอบของคำถามนี้มักนำไปสู่หลักการทางจริยธรรมแบบใดแบบหนึ่ง
แต่ในเมื่อความตายก็คือความตาย ส่วนหลักการทางจริยธรรมเป็นเรื่องของคนที่มีชีวิตอยู่
ฉะนั้น คำถามที่น่าสนใจสำหรับมนุษย์ในศตวรรษนี้คือ
ถ้าหากพวกสูญนิยม(ตายแล้วสูญ)พูดถูก ซึ่งคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ที่ผ่านพบวิทยาศาสตร์มาดูจะเชื่อกันอย่างนั้น ถ้าหากพระเจ้าก็ตายไปแล้วเหมือนอย่างที่นิทเช่พูด "อะไร ๆ ก็ทำได้หมด" เหมือนอย่างที่ดอสโตเยฟกี้พูดไว้ในเรื่องพี่น้องคารามาซอฟจริง ๆ น่ะเหรอ?
โฆษณา