10 มี.ค. 2023 เวลา 00:30 • หนังสือ

“3 ขั้นตอนก่อนลงมือเทรด”

“ศึกษาวิธีการ ตลาด พร้อมเข้าสู่การเทรดแล้ว ยังต้องเตรียมตัวอะไรบ้างอีก?”
ครั้งที่แล้วเราอารัมภบทกันยืดยาวพอสมควร ครั้งนี้ก็ขอยกมากล่าวถึงสักหน่อยหนึ่ง เพื่ออรรถรสในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
“คำว่า “Passive Income” “คว้าเงินในอากาศ” ในช่วง 4-5 ปีมานี้ เป็นคำพูดยอดฮิต ในระดับต้น ๆ กันเลยทีเดียว เยาวชนรุ่นใหม่ วัยรุ่น วัยทำงาน หรือ แม้แต่วัยผู้ใหญ่ ก็ต้องการ และ มองหาช่องทางสร้างรายได้เหล่านี้กันแทบทั้งนั้น
ในช่วงเศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบทุกวันนี้ มีกลุ่มมิจฉาชีพนำเอาความโลภของผู้คนที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูง และไม่มีเวลา มาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดูดเงินออกจากกระเป๋าของผู้คนได้มากมาย ตามที่เป็นข่าว บางค่ายมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่าร้อยล้าน หรือ บางค่ายก็แตะพันล้าน ก็มีให้เห็นกัน
แล้ว รายได้แบบ “Passive Income” และ “การคว้าเงินในอากาศ” มีจริงหรือ ?
มีจริง ถ้าคุณเข้าถูกทางนะ ! ถูกทางในที่นี้ หมายรวมถึง เข้าในเวลาที่เหมาะสม และ เข้าไปตลาดที่ถูกต้องด้วย… แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่คุณด้วย ว่าจะเก่งมากพอไหม มีเทคนิคอะไรเอาชนะตลาดได้บ้าง ?”
บทความที่แล้วกล่าวถึง 2 ขั้นตอนก่อนเข้าสู่การเทรด บทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวเข้าสู่สนามเทรด เมื่อเราศึกษาและเข้าใจกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ เข้าใจตลาด ไปจนถึง วิธีการที่จะลงมือเทรดแล้ว เราก็ควรมีแผนสำรองการเงินสำหรับการเทรดทุกครั้งด้วย นั่นก็คือ
1. สัดส่วนการวางเงินในการเทรด
หลายคนอาจสงสัย เกี่ยวอะไรกันนี่ จริง ๆ ข้อนี้สำคัญนะ ถ้าเราได้ติดตามกูรูหลาย ๆ ท่านที่เทรด ท่านเหล่านั้น จะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งที่ตรงกัน นั่นก็คือ สัดส่วนในการเทรด คืออะไรหล่ะ? ก็คือ เราจะมีการกำหนดสัดส่วนในการเทรดของเรา ว่าก้อนไหนเราเทรดยาว ก้อนไหนเราเทรดสั้น ก้อนไหนไว้เทรด ก้อนไหนไว้เก็บ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น เรามีเงิน 100% สำหรับการลงทุน เราก็ควรแบ่งมาเทรด แบบเทรดจริงจัง ไม่ควรเกิน 20% อีก 80% ควรเก็บไว้ในส่วนอื่น เพื่อปกป้องเงินต้น ให้เงินงอกเงยในระยะยาว กูรูบางท่าน จะแบ่งว่า ส่วนนี้สำหรับเป็น VI หรือลงทุน แต่ส่วนนี้สำหรับ trader หรือ เทรดแบบจริงจัง เสียคือเสีย ได้คือได้ หากต้องเสียหมด ก็จะไม่โอดครวญ เพราะวางตามความเสี่ยงไว้แล้ว
2. เงินสำรองฉุกเฉินสำหรับการเทรด
เงินสำรองในส่วนนี้ อาจจะเป็นเงินสำรองที่กันไว้ ถ้าการเทรดนั้นไม่ได้ดังหวัง อาจต้องมีการเติมเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ต หรือการเทรดนั้นยังติดดอยอยู่ ยังถอนออกมาไม่ได้ ราคายังไม่เป็นดังหวัง แต่ชีวิตเราต้องดำเนินต่อไป ก็อาจจะนำส่วนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายไปพลาง ๆ ก่อน สำหรับคนที่มีรายได้เพียงทางเดียว คือ การเทรด
3. การจดบันทึกรายรับรายจ่ายสำหรับการเทรดแต่ละอย่าง
ขั้นตอนนี้สำคัญไม่แพ้ 2 ขั้นตอนข้างต้น เพราะบางคนวางเงินตามความเสี่ยงไว้แล้ว ก็ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ปรากฏว่า เงินค่อย ๆ หดหายไปกับการเทรดนั้น ๆ มารู้ตัวอีกที อ้าว ! เราติดลบซะละ เป็นหนี้ด้วย จะไปอย่างไรหล่ะ?
เราควรมีการจดบันทึกการเทรด แต่ละอย่างไว้ ทั้ง เงินเข้า เงินออก เพื่อดูว่าการเทรดนั้น ๆ หรือ พอร์ตการลงทุนนั้น ๆ กำไร หรือ ขาดทุน แค่ไหนอย่างไร ?
นี่เป็นกุญแจสำคัญมาก ๆ นะ เพราะบางคนหลงระเริงกับการเทรดนั้น ๆ จนเพลิน และยังคงคิดว่าตนเอง เหมาะกับการลงทุนแบบนี้ แต่ถ้าคุณมีการจดบันทึก แล้วมีการย้อนกลับมาดูเรื่อย ๆ คุณอาจจะตกใจก็ได้ว่า “คุณถูกจริตกับการเทรดแบบนี้ จริง ๆ ไหม?”
โค้ชสุนีย์ เอี่ยมแสงสิน
ที่ปรึกษาการเงิน
เจ้าของหนังสือ “รู้ 4 สิ่งนี้ การเงินดีตลอดกาล”
#รู้4สิ่งนี้การเงินดีตลอดกาล
#เทคนิคง่ายและกระชับเพื่อยกระดับฐานะการเงิน
#หนังสือการเงินที่อ่านง่าย
#ต้องมีไว้ติดบ้าน
#เด็กอ่านได้
#ผู้ใหญ่อ่านดี
#เสริมภูมิคุ้มกันด้านการเงิน
#คู่คิดประจำบ้าน
#โค้ชสุนีย์ที่ปรึกษาการเงิน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา