2 มี.ค. 2023 เวลา 17:56 • สุขภาพ

😠Sumatriptan succinate

เป็นยากลุ่ม​ Selective Serotonin 1B/1D Receptor Agonists (5HT1D agonist) ทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว​
ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน​ และอาการปวดศีรษะชนิดคลัสเตอร์ ที่ปวดอย่างรุนแรงบริเวณกระบอกตาหรือขมับข้างเดียว
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์​ยับยั้งการส่งสัญญาณ​ปวดจาก​ trigeminal nerve ในสมอง​ จึงใช้ในโรคเส้นประสาทอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง​ โดยใช้ยาในขนาดต่ำๆ​ เพื่อทดแทนการใช้สเตียรอยด์​หรือยากดภูมิต้านทาน​
ประเทศไทยมีในรูปแบบยาเม็ดขนาด​ 50​ มิลลิกรัม
ต่างประเทศมีในรูปแบบยาเม็ดขนาด​ 25,​ 50,​ 100 มิลลิกรัม
ยาผงพ่นจมูก​ สเปรย์พ่นจมูก​ ยาฉีดใต้ผิวหนัง​ และยังมียาสูตรผสมกับยาอื่น​
🔺ใช้ยานี้เมื่อแน่ใจว่าเป็นอาการปวดหัวไมเกรน​
ยานี้ไม่ใช่ยาที่ใช้ป้องกันไมเกรน​
ไม่ใช้สำหรับปวดหัวชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ปวดหัวไมเกรน
🔺ควรกินยานี้โดยเร็วที่สุดเมื่อเริ่มมีอาการ​ปวดหัว
สำหรับอาการปวดหัวไมเกรนชนิดมีออร่า แม้ว่าจะมีอาการ​นำมาก่อน​ แต่ให้เริ่มกินยานี้เมื่อเริ่มรู้สึกปวดหัว
🔺ยา​ 50​ หรือ​ 100 มิลลิกรัม​ ให้ผลดีกว่ายา​ขนาด 25​ มิลลิกรัม​ แต่ยา 100 มิลลิกรัม ไม่ได้ให้ผลดีไปกว่ายาขนาด​ 50​ มิลลิกรัม​ ซ้ำยังก่อให้เกิดอาการข้างเคียง​จากยาที่มากกว่า
🔺เมื่อกินยาเม็ดแรกไปแล้ว​ ถ้าอาการบรรเทาลงเพียงชั่วคราว​ และกลับมาปวดหัวใหม่อีกครั้ง​ สามารถกินยาซ้ำได้อีก​ 1 เม็ด​ โดยระยะเวลาในการกินยาต้องห่างจากเม็ดก่อนหน้า​ 2 ชั่วโมง​ และใน​ 1 วัน​ สามารถ​กินยาได้ไม่เกิน​ 4 เม็ด​ (200 มิลลิกรัม)
Sumatriptan is short-acting, with a plasma half life of only two hours, and recurrence of the headache is common.
ขนาดยาสูงสุดต่อครั้ง​ 100 มิลลิกรัม​ (2 เม็ด)
กินยาซ้ำได้ทุก​ 2 ชั่วโมง
ห้ามกินเกินวันละ​ 200​ มิลลิกรัม​ (4 เม็ด)
(บางเอกสารบอกว่า​ การกินยาเม็ดที่สองได้​ ต้องห่างจากเม็ดแรกอย่างน้อย​ 4 ชั่วโมง​ และในการปวดหัว​ 1 ครั้ง​ ห้ามกินยาเกิน​ 2 เม็ด​ หรือ​ 100 มิลลิกรัม​)​
Take ONE tablet at once at the first sign of a migraine attack. If after taking the first tablet, your symptoms improve but return later, you may take a second tablet. Wait at least four hours after the first tablet was taken. DO NOT take more than two Sumatriptan (as the succinate) 50 mg film-coated tablet in 24 hours and DO NOT take more than two tablets for the same attack.
🔺เมื่อกินยาเม็ดแรกแล้ว​ ถ้าอาการไม่ลดลงเลยแม้แต่น้อย​ แสดงว่ายานี้ไม่ได้ผล​ อย่ากินเม็ดที่สอง​ ควรเก็บยาเม็ดที่สองไว้กินในการปวดหัวไมเกรนครั้งถัดไป
If the first tablet is not effective at relieving or helping your migraine symptoms, DO NOT take another tablet for the same attack. The second tablet can be used at a later date to treat another
migraine attack.
⚠️ไม่ควรกินยาเกินกว่าเดือนละ​ 4 ครั้ง
‼️การใช้ยามากกว่าเดือนละ​ 10 วัน​ จะนำไปสู่ภาวะการใช้ยาเกินความจำเป็น​ จนนำไปสู่การติดยา​ ซึ่งต้องพบแพทย์​เพืีอเข้าสู่ขั้นตอนการถอนยา​ ผู้ใช้ยาในกลุ่มนี้จึงควรที่จะจดบันทึกอาการปวดหัว​ จำนวนครั้งที่ปวดหัว​ และจำนวนครั้งของการใช้ยา​ เพื่อป้องกันการใช้ยาเกินจำเป็น​
Overuse of acute migraine drugs may lead to exacerbation of headache (medication overuse headache), may present as migraine-like daily headaches or as a marked increase in frequency of migraine attacks. Detoxification of patients, including withdrawal of the overused drugs, and treatment of withdrawal symptoms (which often includes a transient worsening of headache) may be necessary.
🍹เนื่องจากเป็นยาเม็ดชนิดเคลือบฟิล์ม​ จึงห้ามบด​ ห้ามตัด​ ห้ามเคี้ยว​ ให้กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับน้ำเปล่า
🍡อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยา
🐳ยาถูกกำจัดที่ตับโดย​เอนไซม์​ monoamine oxidase A​ ขับออกทางปัสสาวะ​และอุจจาระ​
🔹ผู้ที่เป็นโรคตับ​ ห้ามกินมากกว่าครั้งละ 50​ มิลลิกรัม​ (1 เม็ด)
ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับชนิดรุนแรง
🔹ผู้ที่เป็นโรคไตไม่มีความจำเป็นต้องปรับขนาดยา​
(ให้ใช้ด้วยความระมัดระวัง)​
🔸ไม่มีข้อมูลในผู้ที่ล้างไตหรือฟอกเลือด
🔹คนสูงอายุ​ กินยาไม่เกินครั้งละ​ 2 เม็ด​ (100 มิลลิกรัม) หรือไม่เกินวันละ​ 4 เม็ด​ (200 มิลลิกรัม) และห้ามใช้ยาเกินเดือนละ​ 4 ครั้ง​ โดยให้ระวังอาการข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไป​ และควรเริ่มในขนาดต่ำ
🚫ห้ามใช้ยาในผู้ที่อายุต่ำกว่า​ 18 ปี
🚫ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์
อาการข้างเคียงจากยา
ใบหน้าและคอแดงหรือร้อนผ่าว​ (Sensory disturbances)
เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงซึม ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริวหรือหดเกร็ง​ อาการชา ไร้ความรู้สึก หรือปวดที่ใบหน้าหรือปลายมือปลายเท้า​
ยาอาจทำให้ง่วงซึมจึงควรระมัดระวัง​เมื่อขับรถ
อาการข้างเคียงรุนแรง
แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ​
⛔ผู้ที่ห้ามใช้ยานี้
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)
โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
อัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยความดันโลหิต​สูงที่ควบคุม​ไม่ได้
หญิงมีครรภ์​
ส่วน​ หญิงให้นมบุตรถ้าจำเป็นต้องใช้ยา​ หลังกินยางดให้นมบุตรเป็นเวลา​ 12​ ชั่วโมง
⛔ห้ามกินร่วมกับยาเหล่านี้​ (Contraindicated)
เพราะทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัวจนเกิดอันตราย​
ในกรณีที่​จำเป็นต้องใช้ยา​ ให้เว้นห่างกันอย่างน้อย​ 24​ ชั่วโมง
almotriptan, frovatriptan, naratriptan, rizatriptan, sumatriptan, zolmitriptan
Ergot alkaloids, Bromocriptine
⛔ห้ามกินร่วมกับยาต่อไปนี้​ (Contraindicated)
เนื่องจากทำให้ระดับเซโรโตนินสูงจนเกิดอันตราย​ (Serotonin​ syndrome)
ถ้าจำเป็นต้องใช้​ จะต้องเว้นระยะ​ห่างกันอย่างน้อย​ 2 อาทิตย์​
ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ MAOi เช่น isocarboxazid, phenelzine, selegiline, tranylcypromine​
ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ SSRi เช่น​ FLUOXETINE, paroxetine, Vortioxetine, Vilazodone
Lithium, Sibutramine
❗ระวังการใช้ร่วมกับยาดังนี้​ (Moderate)
ถ้ามีอาการ​ Serotonin​ syndrome เกิดขึ้น​ ให้หยุดยา​
ยาต้านเศร้ากลุ่ม.SNRIs เช่น​ Pristiq, Cymbalta (Duloxetine), Effexor (Venlafaxine), Desvenlafaxine
ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ tricyclic เช่น​ amitriptyline, nortriptyline, Protriptyline, Imipramine, Trimipramine
ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ SSRi เช่น​ Citalopram, Escitalopram, Fluvoxamine, SERTRALINE
ยาต้านเศร้ากลุ่ม.SARIs เช่น​ Trazodone
ยาต้านเศร้ากลุ่ม​ NaSSA เช่น​ Mirtazapine
ยากดอาการไอ​ Dextromethorphan
Fenfluramine, Fentanyl, Codeine, Hydrocodone, Oxycodone, Methadone, Morphine, Tramadol, street drug ecstasy,
St. John's wort
Sumatriptan เป็นยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนที่มีประสิทธิภาพดี แต่มีข้อควระวังและข้อห้ามใช้ค่อนข้างมาก ดังนั้น การกินยาอย่างถูกต้อง และ การเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นหนทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาได้ดีที่สุด
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
.
.
.
.
อ่านเพิ่มเติม
Top Ten Adverse Events to Sumatriptan in the IMMP
.
.
POSTED 2023.03.03
💥🍭 SERIES
MIGRAINE ไมเกรน
ไมเกรน​ 2023
ไมเกรน​ 3 มิติ
แบบประเมินไมเกรน
อจ. ทัดดาว​ สอนนิวโร
โฆษณา