Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sydNEY: The Storiographer
•
ติดตาม
2 มี.ค. 2023 เวลา 20:46 • ปรัชญา
" กายในกาย " มีความหมายยังไงคะ ?
ผมมองว่า
dhammadipo.org
กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธัมม์ในธัมม์ - dhammadipo
ในสี่ฐาน กายในกาย(นิ้วกระทบ มีการสั่นคลอนภายในกายเหมือนอีกร่าง) เวทนาในเวทนา (นิ้วกระทบสัมผัส รู้สึกถึงความเจ็บ ไฟฟ้าและอื่นๆ) จิตในจิต (การเต้นวุ้บๆเบาบ้างแรงๆหรือหายๆไปบ้าง) แต่ธัมมใ์นธัมม์ คืออะไรครับ
เรียนรู้เพิ่มเติม
เป็นเรื่องของการใช้ “สติ” ในการ “พิจารณา” ในเรื่อง “สติปัฏฐาน 4”
> กาย: ยืน, นอน, นั่ง, เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง ฯลฯ
> เวทนา: สุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์
> จิต: โลภ, โกรธ, หลง
> ธรรม: ทุกอย่างเป็นของเกิดดับ
2
หากมองในหมวด “กาย” โดยนำเรื่อง “ผัสสะ” มาอธิบายน่าจะเห็นภาพได้ง่ายขึ้นครับ
th.wikipedia.org
ผัสสะ - วิกิพีเดีย
เรียนรู้เพิ่มเติม
ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก ผัสสะ เป็น ความประจวบกันแห่งสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และวิญญาณ
1
สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
๑) จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ
ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
๒) โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ
หู+เสียง+โสตวิญญาณ
๓) ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ
จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
๔) ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ
ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
๕) กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ
กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
๖) มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ
ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ
ซึ่งหลังจาก “เกิดการสัมผัส” ขึ้นทาง “กาย” แล้ว
เมื่อเราใช้ “สติ” ที่ได้มาจาก “ฐานแห่งสติทั้งสี่” หรือ “สติปัฏฐาน 4” มา “พิจารณา”
บทสรุปที่ได้คือ
“ทุกอย่างเป็นของเกิดดับ, ไม่เที่ยง”
1
เมื่อเราเห็นถึง “วัฏจักร” แห่งการ “เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, และดับไป”
จิตของเราก็จะถอนออกจาก “ความยึดมั่นถือมั่น” กลายเป็น
- ผู้รู้: คือ “สติ” นำมาซึ่ง “ปัญญา” และ “ปัญญา” ทำให้เรา “อ่านเกมส์ออก” ว่าไม่ควรไปยึดไปถือ เพราะทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง
1
- ผู้ตื่น: คือ ตื่นขึ้นมาจาก “ความทุกข์แห่งการยึดมั่นถือมั่น
1
- ผู้เบิกบาน: คือ เมื่อจิตของเรา “ปล่อยวาง” จากความทุกข์ได้
2
จิตจะกลับไป “ผ่องใส” ดั่ง “จิตประภัสสร” ซึ่งเป็น “สภาวะจิตโดยธรรมชาติ” ที่ปราศจาก “โลภ,โกรธ,หลง”
อันเป็นเหตุแห่ง “ทุกข์” นั่นเอง
จากข้อมูลที่ผมลองค้นดู
“กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธัมม์ในธัมม์”
กายในกาย เวลาเคลื่อนไหวภายนอก แล้วภายในกระแสกาย ภายในเคลื่อนไหวตาม เป็นกายวิญญาณ เช่นการเคลื่อนมือ
เวทนาในเวทนา เวลามีการกระทบ ทั้งทางตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
กระทบภายนอก .. รู้สึกถึงภายใน เช่น นิ้วมือกระทบกัน จากข้างนอกรู้สึกถึงภายใน
2
จิตในจิต ภายนอกความคิดในเรื่องราว ภายในจิตเกิดดับ รู้สึกภายใน
ธัมม์ในธัมม์ ภายนอก.. พิจารณาธัมม์
ภายใน .. เมื่อเดินไปทุกฐาน มันจะแสดงความเปลี่ยนแปลง ในสภาวธัมม์ที่เกิดขึ้น เดี๋ยวแรง เดี๋ยวเบา ละเอียดไปตามลำดับ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงในสภาวะทุกข์ภายใน เพราะไม่คงสภาพเดิมที่รู้สึกได้
อนัตตา .. บังคับไม่ได้ จึงไม่ไปบังคับในสภาวะให้เป็นดั่งใจ ว่าวันก่อนทำได้ วันนี้ทำไม่ได้เหมือนเมื่อวาน .. สภาวะจะเปลี่ยนไปตลอด ไม่ยึดมั่นในสภาวธัมม์ทั้งปวง เข้าสู่ความว่างตามความเป็นจริง
1
4
เมื่อเจริญมหาสติปัฏฐาน 4 ให้มาก พระพุทธองค์ตรัสว่า พระสัทธัมม์จะไม่เสื่อม ในเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว ไม่เสื่อมไปจากจิตของผู้ปฏิบัติ รักษาพระธัมม์ไว้ในจิตไปตลอด พระพุทธองค์ตรัสว่าธัมมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธัมม์
1
ธุรกิจ
การเงิน
ข่าวรอบโลก
บันทึก
2
6
2
2
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย