3 มี.ค. 2023 เวลา 03:02 • การเมือง

Political Parties & Their Spectrum in Thailand

เวลาคนส่วนใหญ่หรือสื่อมวลชนพูดถึงอุดมการณ์ของพรรคการเมือง มักจะแบ่งฝ่ายกันเพียงมิติเดียว โดยแบ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาหรือพรรคฝ่ายซ้าย และมักจะเรียกพรรคฝ่ายขวาว่าพรรคอนุรักษ์นิยม และเรียกพรรคฝ่ายซ้ายว่าพรรคประชาธิปไตย โดยมีฝั่งอนุรักษ์นิยมประกอบด้วย รวมไทยสร้างชาติ พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ และ ภูมิใจไทย แล้วมีฝั่งประชาธิปไตยประกอบด้วย เพื่อไทย ก้าวไกล และฝ่ายค้านอื่น ๆ ซึ่งผมฟังแล้วก็ยังงง ๆ
ครั้นไปค้นคว้าหาความรู้ทางรัฐศาสตร์ก็ยอมรับว่าลึกซึ้งเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ ก็เลยลองมานั่ง ค.ว.ย. (คิด วิเคราะห์ แยกแยะ) ดูเอาเอง และกระจายมุมมองจากมิติเดียวออกเป็น 3 มิติ คือ มิติด้านการเมือง มิติด้านเศรษฐกิจ และ มิติด้านสังคม
โดยมิติด้านการเมืองแบ่งเป็น อำนาจนิยมและประชาธิปไตย (สุดขั้วของอำนาจนิยมคือ dictator สุดขั้วของประชาธิปไตยคือ anarchy) มิติด้านเศรษฐกิจแบ่งเป็น ทุนนิยมและสังคมนิยม (สุดขั้วของสังคมนิยมคือคอมมิวนิสต์) มิติด้านสังคมแบ่งเป็น อนุรักษ์นิยมและเสรีนิยม แล้วไปค้นคว้าใน google เพื่อให้ได้คำจำกัดความของด้านต่าง ๆ ในแต่ละมิติ ได้มาดังนี้
Authoritarian VS Democratic (อำนาจนิยม VS ประชาธิปไตย)
Authoritarian มีความเชื่อว่า อำนาจทางการเมืองควรอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวสามารถปกครองบ้านเมืองได้ดีกว่าคนกลุ่มอื่น หากอำนาจทางการเมืองตกไปอยู่กับคนกลุ่มอื่น (ซึ่งตนเชื่อว่ามีบางอย่างหรือหลายอย่างด้อยกว่าตน) อาจเกิดความเสียหายกับประเทศ (ซึ่งจะให้ความสำคัญกับคนกลุ่มหนึ่งมากกว่าคนส่วนใหญ่)
ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นไม่ตรงกับกลุ่มของตน ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปกครอง
Democratic มีความเชื่อว่า ผู้ปกครองที่ได้อำนาจทางการเมืองมาจากการเลือกตั้งจะนำประเทศไปได้ดีกว่าคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากผู้ปกครองจะต้องฟังเสียงของประชาชน ต้องพยายามพัฒนาประเทศโดยรวมให้ดีขึ้นเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
และเชื่อว่าแม้จะได้ผู้ปกครองที่ไม่ดีในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปประชาชนส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและจะค่อยๆ พัฒนาการเลือกผู้ปกครอง ไปพร้อมๆ กับผู้ที่จะมาเสนอตนเองเป็นผู้ปกครองก็ต้องพัฒนาตนเองและกลุ่มของตน จนทำให้ในที่สุดประเทศจะได้ผู้ปกครองที่ดีได้ รวมถึงเชื่อว่าหากประเทศขึ้นอยู่กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเทศจะมีความเสี่ยงมากเกินไป
Capitalism VS Socialism (ทุนนิยม VS สังคมนิยม)
Capitalism is based on individual initiative and favors market mechanisms over government intervention,
while socialism is based on government planning and limitations on private control of resources.
Conservative VS Liberal (อนุรักษ์นิยม VS เสรีนิยม)
Conservative ชื่นชอบและเชื่อมั่นในธรรมเนียมปฏิบัติ การมีลำดับชั้นในสังคม (hierarchy) วัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
Liberal ชื่นชอบและเชื่อมั่นในความเป็นอิสระทางความคิด คตินิยม วิถีการใช้ชีวิตที่เป็นอิสระ ไม่มีลำดับชั้นในสังคม
หลังจากได้กรอบแนวคิดนี้ ผมก็ทดลองมองไปที่พรรคหลัก ๆ ที่จะเข้าแข่งขันกันในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้แล้วลองใส่ค่านิยมในด้านต่าง ๆ 3 ด้านของแต่ละพรรคลงไปตามมุมมองและการรับรู้ของตนเอง ได้ผลดังนี้
สำหรับสังคมที่เป็นประชาธิปไตยแล้วอย่างเช่นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย การแบ่งทาง politic ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะทุกพรรคล้วนนิยมในประชาธิปไตย แต่บ้านเราเนื่องจากประชาชนจำนวนมากยังไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตย จึงยังต้องมีการแบ่งในมิติของ politic อยู่ ซึ่งกรณีของประเทศที่ politic เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เราอาจแบ่งพรรคต่างๆ ลงในตารางได้โดยไม่ต้องมีมิติ politic มาเกี่ยวข้อง ก็อาจจะได้ผลง่าย ๆ ประมาณนี้
ด้วยวิธีคิดแบบนี้ ทำให้พบว่า ผมสามารถอธิบายตัวตนของแต่ละพรรคการเมืองได้ดีขึ้น และทำให้รู้ว่าตัวผมเองเป็นแบบไหนในตารางนี้ และโดยอัตโนมัติ จะทำให้รู้ว่าควรเลือกพรรคไหนได้ดีมากขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงในเดือนพฤษภาคมนี้
ในทำนองเดียวกัน ผมคิดว่า ถ้าคนทุกคนเข้าใจธรรมชาติของสังคมโดยอาศัยกรอบแบบนี้ (หรือแบบอื่นที่ดีกว่านี้) ก็จะทำให้เราเข้าใจคนที่คิดต่างมากขึ้นและยอมรับความแตกต่างมากขึ้น
เพื่อนๆ ที่มีความรู้มากกว่าผมช่วยแนะนำด้วยครับ
โฆษณา