Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ThaiSMEsCenter
•
ติดตาม
11 มี.ค. 2023 เวลา 03:00 • การตลาด
ห้างทุนจีนมาแล้ว! Samanea Plaza Thailand แหล่งค้าปลีก-ค้าส่งระดับนานาชาติ
เริ่มต้นปี 2566 หลังรัฐบาลเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาตั้งแต่กลางปี 2565 ได้ส่งผลดีต่อธุรกิจด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารการกินต่างๆ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ในประเทศไทย มีความคึกคักอย่างเห็นได้ชัดหลังจากได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19
แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งหนึ่งที่เราเริ่มเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังจากการเปิดประเทศ นั่นคือ การเข้ามาของกลุ่มทุนจีน ค่อยๆ เพิ่มการลงทุนมากขึ้น ตั้งแต่ร้านอาหาร ภัตตาคาร ตลอดจนการห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่
หนึ่งในนั้นคือ “ซามาเนีย พลาซ่า” Samanea Plaza Thailand โครงการศูนย์กลางค้าปลีกเปิดพื้นที่ให้เช่าและเปิดร้านขายสินค้านำเข้าทุกประเภทจากจีน ถือเป็นศูนย์กลางแหล่งรวมสินค้านำเข้าจากจีนขนาดใหญ่โซนทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
เรื่องราวการรุกคืบของกลุ่มทุนจีนในโครงการ “ซามาเนีย พลาซ่า” และอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อคนไทยและธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยอย่างไร วันนี้
www.ThaiSMEsCenter.com
มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
โครงการ “ซามาเนีย พลาซ่า” ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด กม 26 ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ตรงข้ามปากทางเข้า ABAC บางนา ด้านหลังสำนักงานเป็นที่ตั้งอาคารพลาซ่าค้าปลีกและค้าส่ง ภายในมีการแบ่งเป็นห้องให้เช่าขายสินค้า ขณะนี้เปิดเฉพาะอาคาร B และ C เปิดให้ลูกค้าสามารถเดินเข้าไปซื้อสินค้าได้เหมือนกับห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากจีนโดยตรง มีความหลากหลาย ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ภายในบ้าน ของเล่น เสื้อผ้า สินค้าเบ็ดเตล็ด อุปกรณ์เครื่องมือช่าง ขุด เจาะ และอื่นๆ มากมาย ราคาถูก ขายปลีก-ขายส่ง สินค้าบางชนิดสามารถซื้อได้เลย บางชนิดจะต้องพรีออเดอร์
ราคาตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักพัน ซื้อปริมาณมากจะได้ลดราคา กลุ่มคนซื้อส่วนใหญ่มีทั้งประชาชาชนทั่วไปและพ่อค้าแม่ค้าซื้อไปขายต่อทั้งออนไลน์ออฟไลน์ ไม่เสียเวลาสั่งนำเข้า อีกทั้งสินค้านำเข้าจากจีนในโครงการฯ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางหรือคนรับหิ้ว ทำให้ราคาจำหน่ายถูกกว่าซื้อตามร้านค้าทั่วๆ ไปในเมืองไทย
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
โครงการซามาเนีย พลาซ่า ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ เปิดตัวเมื่อปลายปี 2564 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 330,000 ตารางเมตร โดยเฟส 1 โซนอาคารพลาซ่าค้าปลีกและค้าส่งสินค้า 50,000 ตารางเมตร มี 4 อาคาร ร้านค้ารองรับ 518 ร้านค้า โซนบริการ 100 ร้านค้า มีทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับและของใช้ทั่วไป อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เครื่องมือช่าง เครื่องใช้ฟ้าและสินค้าไอที เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้าน
ส่วนเฟส 2 เป็นแวร์เฮาท์และซามาเนียไทยแลนด์ ส่วนเฟส 3 เป็นโรงแรมออฟฟิศบิวดิ้ง และเฟส 4 เป็นคอนโดมิเนียม โดยเป้าหมายสร้างธุรกิจค้าส่งครบวงจรระหว่างประเทศ การเดินทางสะดวก
1
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
สำหรับกลุ่มทุนจีนที่เป็นผู้บริหาร “ซามาเนีย พลาซ่า” ได้ร่วมกันเป็นกรรมการ 3 บริษัทในเมืองไทย ได้แก่
1. บริษัท ซามาเนีย บางนา 02 จำกัด
●
จัดตั้ง 2 พ.ย.2559
●
ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท
●
รายชื่อกรรมการ ประกอบด้วย นายเฉือก ฟ้ง อ้อ และ นายยูหลง ลี
●
ปี 2563 รายได้ 1.83 แสนบาท ขาดทุน 4.38 แสนบาท
●
ปี 2564 รายได้ 4.4 พันบาท ขาดทุน 4.7 แสนบาท
2. บริษัท ซามาเนีย บางนา จำกัด
●
จัดตั้ง 14 ธ.ค.2558
●
ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท
●
รายชื่อกรรมการ ประกอบด้วย นายเหลียน เฮย วอง, นายยูหลง ลี และนายเฉือก ฟ้ง อ้อ
●
ปี 2562 รายได้ 81 ล้านบาท กำไร 31 ล้านบาท
●
ปี 2563 รายได้ 17 ล้านบาท ขาดทุน 80 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 10 ล้านบาท ขาดทุน 41 ล้านบาท
3. บริษัท ซามาเนีย โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
●
จัดตั้ง 25 พ.ย. 2558
●
ทุนจดทะเบียน 1,023 ล้านบาท
●
รายชื่อกรรมการ ประกอบด้วย นายเหลียน เฮย วอง, นายยูหลง ลี และนายเฉือก ฟ้ง อ้อ
●
ปี 2563 รายได้ 5.39 แสนบาท ขาดทุน 5.74 แสนบาท
●
ปี 2564 รายได้ 5.55 แสนบาท ขาดทุน 5.99 แสนบาท
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2566 มีรายงานข้อมูลชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 14 ราย (ร้อยละ 27) เงินลงทุน 3,588 ล้านบาท สิงคโปร์ 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 410 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 6 ราย (ร้อยละ 12) เงินลงทุน 9 ล้านบาท สหราชอาณาจักร 5 ราย (ร้อยละ 10) เงินลงทุน 98 ล้านบาท และ จีน 3 ราย (ร้อยละ 6) เงินลงทุน 548 ล้านบาท
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
นอกจากนี้ การลงทุนในพื้นที่ EEC ซึ่งโซนทิศตะวันออกของไทย (ม.ค.66) มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด มีมูลค่าการลงทุน 683 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ของเงินลงทุนทั้งหมด
แบ่งเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น 5 ราย ลงทุน 632 ล้านบาท, จีน 2 ราย ลงทุน 48 ล้านบาท และสหราชอาณาจักร 1 ราย ลงทุน 3 ล้านบาท ธุรกิจที่ลงทุน อาทิ บริการทางวิศวกรรมด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจวิศวกรรมยานยนต์, บริการเคลือบผิว (Surface Treatment) และ บริการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนโลหะและชิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น
ภาพจาก www.facebook.com/SamaneaTH
จะเห็นได้ว่า กรณีกลุ่มทุนจีนบุกตลาดเมืองไทยมีทั้งดีและเสีย ข้อดีก็คือประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าได้ซื้อสินค้าจากเมืองจีนในราคาถูก ไม่ต้องเสียเวลาในการสั่งซื้อจากจีน หรือซื้อสินค้าจากร้านทั่วๆ ในราคาแพงๆ
อีกทั้งสามารถสร้างรายได้จากขายออนไลน์สินค้านำเข้าจากเมืองจีนโดยตรงได้ง่ายขึ้น ส่วนข้อเสียหากร้านค้าเอสเอ็มอีเมืองไทยไม่สามารถปรับตัวได้อาจได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าจากจีนที่ขายราคาถูกกว่าจะไม่สามารถอยู่รอดได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @tfcacademy
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaismecenter
Twitter : @thaifranchise
Website :
https://www.thaismescenter.com
Website :
https://www.thaifranchisecenter.com
Instagram :
https://instagram.com/thaifranchise
TikTok :
https://www.tiktok.com/@thaifranchisecenter
YouTube :
https://youtube.com/user/ThaiFranchise
Podcast :
https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
Facebook :
https://www.facebook.com/ThaiSMEsCenter
Facebook :
https://www.facebook.com/ThaiFranchiseCenterFanPage
Facebook :
https://www.facebook.com/TheMarketingMore
อ้างอิงจาก
https://bit.ly/3KU78fs
6 บันทึก
7
17
6
7
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย