Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Planetarian - ก้าวไปบนดวงดาว
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2023 เวลา 13:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แผ่นดินไหววิทยา 101: เรื่องราวของโลกที่กำลังไหวสะเทือน
หลายสิบปีที่ผ่านมามีคำกล่าวว่า “กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินอ่อนที่สามารถขยายขนาดของคลื่นไหวสะเทือน สิ่งก่อสร้างจึงเสี่ยงต่อการพังทลาย”
คำกล่าวข้างต้นเกิดจากการนำกรุงเทพฯ ไปเปรียบเทียบกับเมืองเม็กซิโก (Mexico City) ทว่าความจริงแล้วเราไม่สามารถพิจารณาแค่การขยายขนาดของคลื่นไหวสะเทือนเชิงพื้นที่ (site amplification) เพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องนำแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว (earthquake source) เส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือน (propagation path) โครงสร้างทางธรณีวิทยา (geological structure) และความแข็งแรงของสิ่งก่อสร้างมาวิเคราะห์ร่วมด้วย
ประเด็นนี้ต้องขยายความว่า เดิมทีเมืองเม็กซิโกถูกสร้างบนเกาะกลางแอ่งทะเลสาบ (lake basin) ที่เต็มไปด้วยดินอ่อนและตะกอนภูเขาไฟที่สามารถสะท้อนและขยายขนาดของคลื่นไหวสะเทือนได้ดี ส่วนที่ตั้งของกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) ที่สามารถสะท้อนและขยายขนาดของคลื่นไหวสะเทือนได้น้อยกว่า ไม่มีรอยเลื่อนที่น่ากลัวพาดผ่าน และพื้นที่บางตำแหน่งรอบกรุงเทพฯ ยังมีคุณสมบัติในการลดทอนขนาดของคลื่นไหวสะเทือนเชิงพื้นที่ (site attenuation) อีกด้วย
พูดง่ายๆ คือกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวน้อยกว่าเมืองเม็กซิโกหลายเท่า ดังนั้น โอกาสที่กรุงเทพฯ จะพังพินาศเพราะแผ่นดินไหวจึงแทบไม่มีเลย
มาทำความรู้จักกับ ‘วิทยาศาสตร์ของแผ่นดินไหว’ ผ่านบทความที่เล่าด้วยภาษาแบบง่ายๆ ไม่มีสมการที่ชวนปวดหัว และครอบคลุมประเด็นสำคัญที่ควรรู้ เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อข่าวเท็จเกี่ยวกับแผ่นดินไหวมากยิ่งขึ้น
---
แผ่นดินไหววิทยา 101: เรื่องราวของโลกที่กำลังไหวสะเทือน
https://waymagazine.org/earthquake-seismology/
text: สมาธิ ธรรมศร
#แผ่นดินไหว
วิทยาศาสตร์
ดาราศาสตร์
ข่าวรอบโลก
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย