5 มี.ค. 2023 เวลา 04:49 • ไลฟ์สไตล์
โคเปนเฮเกน

🇩🇰 ทำไมกรุงโคเปนเฮเกน ถึงเป็นเมืองที่มี Work-Life Balance อันดับที่ 1 ของโลก?

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เราเห็นหลาย ๆ สื่อ เช่น Forbes, CNBC หรือ กรุงเทพธุรกิจ ที่ออกมาเรียบเรียงและเปิดเผยถึงอันดับของประเทศที่มี Work-Life Balance มากที่สุดในโลก
1
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า อันดับที่ 1 เป็นเมืองอะไร ? และประเทศอะไรเอ่ย ?
(อ้าว ลืมไป เราเขียนบอกในหัวข้อไปแล้วนี่หว่า)
นั่นคือ กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก นั่นเอง !! ที่ได้อันดับ 1 ของโลกที่มี Work-Life Balance ดีที่สุด 🇩🇰 🇩🇰 🌍
3
โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 44,474 ดอลลาร์หรือราว 1,550,363 บาท
3
ได้รับคะแนน Work-Life Balance สูงถึง 8.6 จาก 10 คะแนน
และมีคะแนนความสุข 7.6 จาก 10
1
มาดูสถิติเพิ่มเติมกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับชาวเดนมาร์กและการทำงาน
- มีเพียงแค่ 2% ของชาวเดนมาร์กเท่านั้นที่อยากทำงานล่วงเวลา และต้องทำงานเกิน 37 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- 66% ของชาวเดนมาร์ก ให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัวและเวลาผ่อนคลายความเครียดมากที่สุดใน 1 วัน (ไม่ใช่ focus อยู่แค่งานเด้อ)
3
ทีนี้ มาค้นหาคำตอบไปด้วยกัน ว่าทำไมชาวเดนมาร์กในกรุงโคเปนเฮเกน ถึงได้เป็นเมืองที่มี Work-Life Balance อันดับที่ 1 ของโลก ?
1. 37 Working hours a week !! เท่านั้น
ดูเหมือนว่าเทรนด์ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานประจำของมนุษย์โลกจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ
1
จาก 40 ชั่วโมง หรือทำงาน 5 วัน ก็ค่อย ๆ ลดลงมาเหลือ 4 วันบ้าง
แต่สำหรับเมืองโคเปนเฮเกนแล้ว ผู้คนที่นี้ใช้ระยะเวลาทำงานเฉลี่ยแค่ 37 ชั่วโมง เท่านั้นเอง
จากรายงานของเว็ปไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (https://denmark.dk) เค้ายังเขียนไว้ว่า คุณจะสังเกตวัฒนธรรมการทำงานของชาวเดนมาร์กที่สำคัญที่ได้อย่างหนึ่ง
“เมื่อเวลาถึง 5 โมงเย็นเมื่อไร… โต๊ะในออฟฟิศจะว่างทันที”
เว็ปไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (https://denmark.dk)
อารมณ์ประมาณว่า คนกลับบ้านกันตรงเวลามากกกกก โดยเฉลี่ยจะออกกันตั้งแต่ 4 โมงแล้ว
และการที่บอกให้พวกเค้าทำงานล่วงเวลา…อาจเป็นมารยาทที่ไม่ค่อยดีเท่าไร… (ถึงแม้เราจะจ่าย OT เพิ่มให้ก็ตาม)
3
เห็นแบบนี้ เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
จากสถิติแล้ว ประเทศเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของยุโรป เลยทีเดียว !
2. จะทำที่ไหน ทำเมื่อไร และมีเวลา เข้า-ออก งานที่ยืดหยุ่น (Flexible working condition)
ตราบที่ใดที่งานในความรับผิดชอบของคุณเสร็จ.. เค้าก็ไม่มานั่งจ้ำจี้จ้ำไชหรือมานั่งจับผิด
ตรงนี้เราขอเรียกว่า ไม่มีหัวหน้าหรือผู้นำที่เป็นแนว Micro-management
Simple Journey (เรานิยามเองเด้อเว็ปเค้าไม่ได้มีบอกจ้า555)
1
ซึ่งการที่หัวหน้าไม่ได้มีการบริหารแบบ Micro-management ก็อาจมองได้ว่า ชาวเดนมาร์กทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดการไว้วางใจขั้นสูงเลยละ
1
3. วันลาคลอดและวันหยุดเลี้ยงลูก คือ สิ่งสำคัญ !
ฟังดูแล้วก็อาจประหลาดใจไม่น้อย
แต่ชาวเดนมาร์ก เข้าใจดีว่า ช่วงเวลาสำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คงจะไม่พ้นเวลาที่มีความสุขมากที่สุด (อย่าง การคลอดลูกและต้องเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด) และในยามที่ทุกข์คือ ช่วงเวลาเจ็บป่วย (ทางกายและใจ)
2
วันลาคลอดแบบเริ่มต้นของคุณแม่ ก็จะได้อยู่ที่ 14 สัปดาห์ (หรือ 98 วัน / 3 เดือนกว่า ๆ)
สำหรับคุณพ่อจะได้อยู่ที่ 2 สัปดาห์ (แบบได้หยุดเต็ม ๆ วัน โดยที่บริษัทต้องจ่ายเงินค่าจ้างเต็มจำนวน)
1
ถึงแม้ว่าของคุณพ่อจะดูหน่อยไปหน่อย แต่ช้าก่อน ! เพราะกฎหมายแรงงานของเดนมาร์ก อนุญาตให้ครอบครัวที่มีเด็กทารกแรกเกิด สามารถใช้เวลาเพื่อดูแลลูกรวมกันได้มากถึง 32 สัปดาห์ !!!!! (โอโห เกินครึ่งปีไปแล้วเด้อ)
2
แต่เจ้า 32 สัปดาห์ที่ว่านี้ คือ เค้าไม่ได้หมายถึงว่าให้คุณพ่อคุณแม่ลาเพิ่มได้นะ แต่ว่า.. สมมุติ ใน 1 วันอาจจะทำงานแค่ 4 ชั่วโมง แล้วชั่วโมงที่เหลือก็ไปเลี้ยงดูลูกได้ โดยที่จะเอาเวลาชั่วโมงที่หยุดไป ไปคิดเข้าในระบบ 32 สัปดาห์นั่นเอง คือ ประมาณ 1,184 ชั่วโมง (คิดโดยเอา 37 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นะคร้าบ)
2
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับบริษัทจะตกลงด้วยนะ
มองไปอีกแบบ สำหรับคนที่รู้สึกว่า..แบบนี้ก็ไม่เท่าเทียมกันนะสิ เพราะแบบนี้มนุษย์แม่ก็จะได้เปรียบกว่า…
1
คือ ต้องบอกว่า ผลสำรวจในเว็ปของกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก ระบุว่า
1
“ประชากรเพศหญิงชาวเดนมาร์ก มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในงานสูง หากพวกเธอได้รับความยืดหยุ่นที่เพียงพอสำหรับชีวิตส่วนตัวครอบครัวและการทำงาน”
1
“ 72% ของประชากรผู้หญิงเดนมาร์ก เป็นหนักงานที่ได้ค่าจ้างจากการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรหญิงทั่วยุโรปที่ 59%”
ประโยคนี้ว่าง่าย ๆ คือ หากคิดว่ากลุ่มผู้หญิงที่เดนมาร์กจะมีอาชีพเป็นแม่บ้าน ติดบ้านกันซะส่วนใหญ่… เราอาจคิดผิดนะ !
1
ส่วนเหตุผลที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่าชาวเดนมาร์กไม่ได้อิจฉากันและกัน ไปดูที่ข้อ 4 กันเลย !
ขะเข้างานสายแล้วววว!!! (ภาพจากShutterStock)
4. ชาวเดนมาร์ก ไม่อายที่จะใช้วันลาหยุด และไม่มีใครกล่าวโทษกัน
2
บางครั้งบางทีเวลาที่เราจะลาเที่ยวยาว ๆ
1
เชื่อว่า เพื่อน ๆ หลายคนคงจะรู้สึกเหมือนมีฉนักปักหลัง อารมณ์ว่า
“นี่ชั้นลางานนานไปรึเปล่านะ ?”
“เราจะทำให้คนอื่นลำบากใจไหม ?”
“จะมีคนต้องซวยโดนพอกงานเพิ่ม เพราะชั้นหยุดรึเปล่านะ ?”
แต่สำหรับชาวเดนมาร์กแล้ว Mindset นี้ สำคัญมากเลยนะ
คือ เขาเคารพวันหยุดของกันและกัน
แล้วก็ แต่ละคนอยากใช้วันหยุดของตัวเอง (แถมคิดกันเป็นนาทีเลยด้วย)
ผลสำรวจจากกรมแรงงานของประเทศเดนมาร์ก ระบุว่า บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ของเดนมาร์ก จะมอบวันลาหยุดพักร้อนให้กับพนักงานประมาณ 5 สัปดาห์ (หรือ 35 วัน)
35 วัน !!!!!!!!!! มันก็มากขนาดนั้นจริง ๆ แหละ
และชาวเดนมาร์กจะใช้วันหยุดพวกนี้ เพื่อไปเที่ยวช่วงฤดูร้อนกัน (พอให้เยอะแบบนี้ แน่นอนว่าการลาหยุด มันจึงไม่ใช่เรื่องเขอะเขิลอีกต่อไป… ตราบใดที่เราทำหน้าที่และความรับผิดชอบครบถ้วนนะ)
อาจจะลางานมาตากแดดเสริมกำลังใจกันอย่างไม่ต้องมีเหตุผลก็ได้(มั้ง) อันนี้หยอกหยอกนะค้าบบ (เพื่อนๆจะได้ไม่ซีเรียสกันเกินไป)
5. Work-life balance คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวเดนมาร์ก
มีประโยคหนึ่งที่เราค่อนข้างชอบ “Work-life balance is important in Denmark - people take pride in their work” คือ พอพวกเค้าภาคภูมิใจกับวิถีชีวิตการทำงานแบบนี้ จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบองค์รวม ที่ทำให้ข้อที่ 1 - 4 ที่เราได้เล่ามา กลายเป็นเรื่องสามัญไปเลย
คือถ้าเสิร์ชภาพส่วนใหญ่จะเป็นภาพชาวเดนมาร์กผึ่งแดดหรือพวกภาพสังสรรค์
สบายๆพร้อมเที่ยว!
สรุปจากเราเอง
เราคิดว่าชาวเดนมาร์ก (หรือบริษัทสัญชาติเดนมาร์ก) เข้าใจดีถึงการรีดประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ (หรือแม้กระทั่งแรงจูงใจหรือทำให้คนไม่หมดไฟ)
วิธีง่าย ๆ ของเค้าแค่เติมไฟให้กับพนักงาน ให้พวกเค้าได้มีเวลากับสิ่งที่พวกเค้ารัก สร้างความไว้วางใจจากพวกเค้า และพวกเค้าก็จะให้ความเคารพ ความไว้วางใจ และมอบสิ่งดีดี(หรือคุณภาพในการทำงาน)กลับคืนให้กลับบริษัท
แน่นอนว่า…ใครมันจะอยากไปลาออกละ จริงไหมเอ่ย ?
อ่านไปอ่านมาแล้วก็ดูเหมือนจะทำง่าย
แต่สำหรับ working culture ของไทย อาจไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
เพื่อน ๆ ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งท้อน้าาาา เราไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเค้าซะหน่อย ขอนำข้อดีของเค้ามาปรับใช้บ้างก็พอแล้ว :):)
โฆษณา