5 มี.ค. 2023 เวลา 09:36 • การศึกษา

หลักการทำคำให้การในคดีอาญา

คำให้การ > กระบวนพิจารณาใดๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง
ในคดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่ก็ได้ หรือจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือแถลงต่อศาลด้วยวาจาก็ได้ เป็นสิทธิของจำเลย ซึ่งต่างกับคำให้การในคดีแพ่ง
คำให้การจำเลยคดีอาญายื่นตอนไหน
ยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับแต่วันรับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง (มาตรา 177 วรรคแรก, มาตรา 197 วรรคแรก) หากไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาดังกล่าวทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องใดๆ ให้ศาลทราบ ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง กฎหมายกำหนดให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ว่าอย่างไร คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป [ป.วิ.อ.172 ว.2]
แบบพิมพ์ศาล คำให้การจำเลย
โครงสร้างการเขียนคำให้การจำเลย
หากจำเลยสารภาพว่าได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานก็ได้ เว้นแต่เป็นคดีที่มีข้อหาความผิดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป
ในกรณีที่จำเลยปฏิเสธและขอต่อสู้คดี ส่วนมากทนายจำเลยจะทำคำให้การยื่นต่อศาลในวันพิจารณา ในกรณีเช่นนี้ก่อนที่ศาลจะดำเนินการพิจารณา ศาลจะสอบถามจำเลยอีกครั้งหนึ่งว่าจำเลยยังยืนยันที่จะให้การตามคำให้การที่ยื่นต่อศาลหรือไม่ ถ้าจำเลยยังคงยืนยันที่จะให้การตามเดิมศาลก็จะจดไว้เป็นหลักฐานในคำให้การของจำเลย และให้ลงลายมือชื่อไว้ แล้วนำเนินการพิจารณาต่อไป
ลักษณะคำให้การในคดีอาญา
1. ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา [ปฏิเสธลอย หรือปฏิเสธบรรยายข้อเท็จจริง]
2. รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา
3. รับสารภาพบางข้อหา และปฏิเสธบางข้อหา
4. ถอนคำให้การเดิม เช่น เดิมให้การปฏิเสธ และขอให้การใหม่ เป็นรับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์
ตัวอย่างคำให้การปฏิเสธลอย 😇
การเรียบเรียงคำให้การในคดีอาญา+คดีแพ่ง ดูรายละเอียดคลิกที่ลิงก์นี้
ลักษณะคำให้การจำเลยตามกฏหมาย
  • ต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่คดีมโนสาเร่ ที่จำเลยจะให้การด้วยวาจาก็ได้ การทำให้คำให้การเป็นหนังสือนั้น บังคับให้ใช้แบบพิมพ์ของศาล
  • ต้องมีข้อความว่าจะรับหรือปฏิเสธให้ชัดแจ้ง
  • คำให้การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. คำให้การปฏิเสธ > มีทั้งปฏิเสธลอย และปฏิเสธแสดงเหตุผลประกอบ
2. คำให้การรับสารภาพ > มีทั้งรับสารภาพโดยชัดแจ้ง และที่ถือว่าเป็นคำให้การรับ ได้แก่ ข้ออ้างตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ข้อใดที่จำเลยไม่ได้กล่าวปฏิเสธถือว่าจำเลยให้การรับ และคำให้การที่ขัดกันเองก็เป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือว่าจำเลยให้การรับ
  • เหตุผลที่อาจอ้างในคำให้การ ที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์และสู้คดี
1. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ชอบด้วยกฏหมาย
2. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
3. โจทก์ฟ้องซ้ำ หรือฟ้องซ้อน
4. คดีขาดอายุความ
5. โจทก์ไม่สุจริต หรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
6. เอกสารปลอม
7. โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ผิดเงื่อนไข
8. โจทก์กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย
9. ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่สมบูรณ์
10. ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม
11. ยกเว้นความรับผิด
12. หนี้ระงับและจำเลยหลุดพ้นความรับผิด
ตัวอย่างคำให้การจำเลยและฟ้องแย้งคดีแพ่ง
🙏 ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ กรุณากด “ถูกใจ” และกด “แชร์” ด้วยครับ 🙇‍♀️🙇🙇‍♂️
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
คู่มือสอบตั๋วทนายภาคปฏิบัติ..หนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ต้องอ่าน คลิกที่ลิงก์นี้
โฆษณา