6 มี.ค. 2023 เวลา 14:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สหรัฐอเมริกา

นักบินอวกาศในยาน SpaceX-6 เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติแล้วอย่างปลอดภัย

  • วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566
  • นักบินอวกาศในยาน SpaceX Dragon Crew-6
  • เข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) หลังจากเชื่อมต่อแคปซูลได้สำเร็จ
รายชื่อนักบินอวกาศทีม 6 (Crew-6) ทั้ง 4 คน
  • 1.
    'สตีเฟน โบเวน' (Stephen Bowen) - สหรัฐฯ - ตำแหน่งผู้บัญชาการ
  • 2.
    'วอร์เรน โฮเบิร์ก' (Warren Hoburg) - สหรัฐฯ - ตำแหน่งนักบิน
  • 3.
    'สุลต่าน อัล-เนยาดี' (Sultan al-Neyadi) - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 1
  • 4.
    'อังเดร เฟดยาเยฟ' (Andrey Fedyaev) - รัสเซีย - ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 2
นักบินอวกาศทีม 6 (Crew-6) ทั้ง 4 คน จะใช้เวลา 6 เดือนบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เพื่อรับช่วงต่อจากนักบินอวกาศทีม 5 (Crew-5) ในภารกิจการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คาดว่า นักบินอวกาศทีม 5 (Crew-5) ทั้ง 4 คนจะเดินทางด้วยยานของตัวเอง กลับมายังพื้นโลกภายใน 2-3 วันนี้
ขณะนี้บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มีนักบินอวกาศรวมทั้งสิ้น 11 คน
ภาพการปล่อยจรวด SpaceX Falcon 9 ซึ่งบรรทุกยานอวกาศ Space X Dragon Crew-6 ในวันที่ 2 มีนาคม 2566
  • วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566
  • จรวด SpaceX Falcon 9 ซึ่งบรรทุกยานอวกาศ SpaceX Dragon Crew-6
  • พุ่งขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดีของ NASA ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
  • โครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศ
  • เป็นข้อตกลงที่ลงนามเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565
  • โดย NASA หน่วยงานอวกาศของสหรัฐฯ
  • และ Roscosmos หน่วยงานอวกาศของรัสเซีย
  • ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดไว้จำนวน 3 เที่ยวบิน
  • บนยานอวกาศโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซีย
  • ต้องมีนักบินอวกาศชาวอเมริกัน อย่างน้อย 1 คน
  • และบนยานอวกาศดรากอน (SpaceX Dragon) ของสหรัฐฯ
  • ต้องมีนักบินอวกาศชาวรัสเซีย อย่างน้อย 1 คน
นักบินอวกาศของ NASA 'Frank Rubio' (ซ้าย), Sergey Prokopyev นักบินอวกาศ Roscosmos (กลาง) และ Dmitri Petelin นักบินอวกาศ Roscosmos (ขวา) ถ่ายรูปร่วมกันหน้ายานอวกาศ Soyuz MS-22 ของรัสเซีย / เครดิต : NASA - Victor Zelentsov
  • เที่ยวบินแรกภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนฯ
  • เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565
  • โดย 'แฟรงค์ รูบิโอ' (Frank Rubio) นักบินอวกาศจากสหรัฐฯ
  • เข้าร่วมการเดินทางสำรวจอวกาศ ด้วยยาน Soyuz MS-22 ของรัสเซีย
  • ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว 'แอนนา กิกิน่า' (Anna Kikina) นักบินอวกาศของทีม Crew-5
  • เป็นนักบินอวกาศชาวรัสเซียคนแรก ที่เดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ด้วยยานอวกาศ Space X Dragon ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย
  • และในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 'อังเดร เฟดยาเยฟ' (Andrey Fedyaev) นักบินอวกาศของทีม Crew-6
  • เป็นนักบินอวกาศชาวรัสเซียคนที่สอง ที่เดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ด้วยยานอวกาศ Space X Dragon ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย
ยานอวกาศ Space X Dragon ของ NASA บรรทุกลูกเรือได้ครั้งละ 4 คน
  • ภารกิจ SpaceX Dragon Crew-6
  • ตอนแรกมีกำหนดปล่อยยานอวกาศ ในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566
  • แต่ถูกยกเลิกไม่กี่นาทีก่อนปล่อย
  • และเลื่อนออกไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566
  • เนื่องจากเครื่องยนต์ของจรวด SpaceX Falcon 9
  • เกิดปัญหาตัวกรองอุดตัน ในส่วนระบบจ่ายน้ำมันจุดระเบิดภาคพื้นดิน
ยานอวกาศ Soyuz MS-22 ของรัสเซีย / เครดิต : Wikipedia
  • แม้ว่าปัญหาสงครามในยูเครน จะทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย
  • แต่ทั้งสองประเทศยังจำเป็นต้องร่วมมือกัน เพื่อดำเนินภารกิจโครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
  • อย่างไรก็ตาม ทางรัสเซียได้ประกาศไว้ว่าจะถอนตัวออกจากโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ภายในปี 2567 แต่ยังไม่ได้ระบุวันที่แน่ชัด
บทความโดย : นาฏยา @Freedom News
แหล่งข้อมูลจาก : Wikipedia, Google, Youtube
>>>บทความนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติม<<<
  • แก้ไขล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 เวลาประมาณ 1.30 น.
1. เพิ่มข้อมูล : วันที่ลงนามในข้อตกลง โครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย (จากเดิมไม่ได้ระบุวันที่)
2. เพิ่มข้อมูล : การเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติ ของนักบินอวกาศรัสเซีย ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนฯ ระบุเป็นการเดินทางด้วยยานอวกาศ Space X Dragon (จากเดิมไม่่ได้ระบุ)
3. แก้ไขข้อมูล : ข้อตกลงจำนวนเที่ยวบิน ในโครงการแลกเปลี่ยนฯ เป็นจำนวน 3 เที่ยวบิน (จากเดิมระบุเป็นทุกครั้งที่ขึ้นบิน)
4. เพิ่มข้อมูล : เที่ยวบินแรกภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนฯ (จากเดิมไม่ได้ใส่ข้อมูลนี้ไว้ในบทความ)
5. เพิ่มรูปภาพ : นักบินอวกาศของ NASA 'Frank Rubio' ถ่ายรูปร่วมกับนักบินอวกาศของรัสเซีย หน้ายาน Soyuz MS-22 ของรัสเซีย (จากเดิมไม่มีรูปภาพนี้ในบทความ)
6. เพิ่มรูปภาพ : ยานอวกาศ Soyuz MS-22 ของรัสเซีย
ชมคลิปเพิ่มเติมใน Youtube
โฆษณา