8 มี.ค. 2023 เวลา 09:31 • ประวัติศาสตร์

“วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday)” เมื่อชนชั้นปกครองไม่ฟังเสียงประชาชน

เหตุการณ์ “วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday)” ซึ่งเกิดขึ้นในปีค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เป็นหนึ่งในเหตุการณ์นองเลือดที่น่าหดหู่เหตุการณ์หนึ่ง
เหตุการณ์นี้มีจุดเริ่มต้นจากการชุมนุมอย่างสันติ ก่อนจะกลายเป็นการนองเลือด มีประชาชนเสียชีวิตนับร้อย
1
ลองมาดูเรื่องราวของเหตุการณ์นี้กันครับ
ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นับเป็นช่วงเวลาที่ไม่สดใสนักสำหรับรัสเซีย
ทางตะวันออก รัสเซียก็กำลังรบกับญี่ปุ่น ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของรัสเซีย ซึ่งความพ่ายแพ้นี้ก็ส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ
1
ผู้คนต่างไม่พอใจ และเสียงก่นด่าพร้อมเรียกร้องให้ “จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)” พระประมุขแห่งรัสเซีย สละราชสมบัติ ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Nicholas II of Russia)
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ก็ทรงมีหลายเรื่องให้หนักพระทัย นอกจากเรื่องผู้คนที่ต่อต้านพระองค์ซึ่งนับวันมีแต่จะมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว “เจ้าชายอเล็กเซ (Alexei Nikolaevich, Tsarevich of Russia)” พระราชโอรสของพระองค์ก็ประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด
เจ้าชายอเล็กเซเป็นพระราชโอรสองค์เดียวในจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 (องค์อื่นเป็นพระราชธิดา) ทำให้จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงหนักพระทัยว่าใครจะปกครองรัสเซียต่อไปหากพระองค์ไม่อยู่แล้ว
เจ้าชายอเล็กเซ (Alexei Nikolaevich, Tsarevich of Russia)
นอกจากนั้น จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ยังทรงเชื่อฟังความคิดเห็นของ “กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin)” ผู้วิเศษซึ่งมีอิทธิพลในราชสำนัก
1
รัสปูตินต้องการให้รัสเซียขยายอำนาจออกไปด้วยกำลังทหาร ซึ่งก็นำไปสู่สงครามกับญี่ปุ่นในปีค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) และทำให้ประชาชนไม่พอใจเป็นอย่างมาก
1
ในช่วงความวุ่นวายนี้เอง ประชาชนชาวรัสเซียก็เริ่มที่จะสนใจในแนวคิดเรื่องการปฏิวัติของขบวนการแรงงาน (Labor Movement)
กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin)
ขบวนการแรงงานนั้นได้รับอิทธิพลจาก “วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)” ผู้ซึ่งมีแนวคิดว่าจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 จะต้องลงจากบัลลังก์
1
ในวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม ค.ศ.1905 (พ.ศ.2448) ได้เกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ โดยผู้นำคือนักบวชนิกายออร์ทอดอกซ์ที่ชื่อว่า “จอร์จี กาปอน (Georgy Gapon)”
4
กาปอนนั้นเข้าใจว่าผู้คนต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจในรัสเซีย เนื่องจากกาปอนเองก็เป็นผู้ก่อตั้งสมัชชาแรงงานรัสเซีย
1
วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)
กาปอนทราบดีว่าสถานการณ์การทำงานในโรงงานใหญ่ๆ นั้นแย่แค่ไหน คนงานมีชีวิตที่ยากลำบากและงานหนัก และทุกคนก็ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
จอร์จี กาปอน (Georgy Gapon)
ผู้ชุมนุมประท้วงได้เคลื่อนขบวน มุ่งหน้าไปยัง “พระราชวังฤดูหนาว (Winter Palace)” ที่ซึ่งจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ประทับอยู่ โดยผู้ชุมนุมต้องการจะทูลให้พระองค์ทรงทราบว่าพระองค์และคณะทำงานของพระองค์นั้นบริหารประเทศผิดพลาดอย่างไร และประเทศนั้นเสียหายหนักแค่ไหน
1
หากแต่จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ก็ไม่ได้ทรงสนพระทัยในเหล่าผู้ชุมนุมนัก และได้เสด็จออกไปจากพระราชวังฤดูหนาวตั้งแต่ก่อนที่ผู้ชุมนุมจะมาถึง
1
ทางด้านผู้ชุมนุมนั้น ก่อนที่จะมาถึงพระราชวังฤดูหนาว ก็ต้องพบกับทหารนับพันซึ่งมารออยู่ก่อนแล้ว และมีการวางเครื่องกีดขวาง ขัดขวางผู้ชุมนุม
พระราชวังฤดูหนาว (Winter Palace)
เมื่อมาถึงจุดที่ทหารเฝ้ารอ ทหารก็ยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ให้ผู้ชุมนุมล่าถอย
หากแต่ทหารหลวงบางนายดันยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งล้วนแต่ปราศจากอาวุธ
2
การยิงใส่ฝูงชนสร้างความแตกตื่น แต่ผู้ชุมนุมก็ไม่สามารถถอยไปได้ไกลนัก เนื่องจากกองทัพคอสแซ็ก (Cossack) ก็อยู่ด้านหลัง กระหน่ำยิงใส่ผู้ชุมนุมจากด้านหลัง
อีกด้านของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทหารหลวงถึงกับใช้ปืนใหญ่ยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่พยายามจะไปให้ถึงพระราชวังฤดูหนาว
1
ในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น นอกจากผู้ใหญ่ก็ยังมีเด็กอีกด้วย และไม่มีใครคิดว่าทหารจะกล้ายิงปืนใส่ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ โดยเฉพาะกับเด็ก
สุดท้ายแล้ว เหตุการณ์นี้ก็เป็นที่จดจำในนาม “วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday)” ซึ่งจบลงด้วยผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน บาดเจ็บอีก 800 คน
1
โฆษณา