ถ้าพูดถึง center of rotation ของการเกิด rotation ที่ AO joint อาจจะบอกได้ยากและต้องดูจาก superior view อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าเมื่อเกิดการ rotation to left จะเกิดการ translation ไปทางด้านซ้าย 2-3 mm. เป็นตัวบอกเราว่าจุดหมุนของ AO join จริงๆจะอยู่ที่จุด P ซึ่งอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางไปทางด้านซ้ายเล็กน้อยเมื่อเกิดการrotation to Lt. และจะอยู่ที่จุด P’ เมื่อเกิดการ rotation to right(ดังรูปที่5)
การเคลื่อนไหวใน frontal plane นั้นเมื่อเกิดการlateral flexion จะไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นที่ AA joint การเคลื่อนไหวจะเกิดที่ AO joint จากนั้นจะข้ามไปเกิดการเคลื่อนไหวที่ C3 เลย โดยที่ AO joint จะเกิดการเคลื่อนไหวเล็กๆผ่านการการ gliding ของoccipital condyleทั้งสองข้าง
.
ยกตัวอย่างถ้าเราทำ lateral flexion to Lt. จะเกิดการgliding ของoccipital condyleไปทางด้านขวา คือ occipital condyle ข้างซ้ายจะขยับเข้าใกล้ dens มากขึ้น ส่วน occipital condyle ข้างขวาก็จะขยับห่างจาก dens มากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวนี้จะเกิดได้ไม่มากนัก เพราะจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจากcapsular ligament ของatlanto-occipital joint และ alar ligament
โดยองศาการเคลื่อนไหวในการทำ lateral flexion ของ AO joint จะอยู่ที่ประมาณ 3 องศาเท่านั้น ส่วนถ้าเกิดการ lateral flexion to Rt. การเคลื่อนไหวก็จะเกิดตรงข้ามกันครับ
สำหรับการเกิด flexion ของatlanto-occipital joint จะเกิดการrollของ occipital condyle ไปบนlateral mass ทำให้ระยะห่างระหว่างoccipital condyle กับposterior arch of atlas เพิ่มมากขึ้น โดยที่การเกิด flexion จะถูกlimitจากcapsuleของ AO jt.,posterior atlanto-occipital membrane และ ligamentum nuchae
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Grant’s Atlas of Anatomy. (2016). LWW.
Schuenke, M., Schulte, E., Schumacher, U., & Johnson, N. (2020). General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme.
Netter, F. H. (2018). Atlas of Human Anatomy. Elsevier Gezondheidszorg.
White, A. A., & Panjabi, M. M. (1990). Clinical Biomechanics of the Spine. Lippincott.
Md, I. K. A. (2008). The Physiology of the Joints, volume III (6th ed.). Churchill Livingstone.