Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Physioupskill
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา
## Episode30: Kinesiology of cervical spine#6
Horizontal plane kinematics of craniocervical region ##
ในบทความก่อนเราได้พูดถึงการเคลื่อนไหวในแนวsagittal plane คือการเกิดflexion-extension ของcraniocervical regionกันไปแล้ว บทความนี้ผมจะมาพูดถึงการเคลื่อนไหวในhorizontal plane คือการเกิดrotation ของกระดูกคอแต่ละส่วนกันนะครับ
การเกิดrotation ของคอเป็นmovementที่มีความสำคัญมาก เพราะสัมพันธ์กับการรับรู้เรื่องการมองเห็นและการได้ยินของร่างกาย โดยที่osteokinematic ของการเกิดrotationนั้น องศาการเคลื่อนไหวจะอยู่ที่65-75°(ในคนที่อายุน้อยอาจจะมากถึง80°)ต่อการหมุนหนึ่งข้าง ดังนั้นองศาโดยรวมของการเกิดrotation จะอยู่ที่ประมาณ160° ซึ่งถ้ารวมกับลานสายตาทั้ง2ข้าง จะทำให้เรามองเห็นโดยรอบในhorizontal planeได้มากถึง330° โดยที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวของลำตัวเลยครับ
ประมาณครึ่งหนึ่งของการเกิดrotation ในcraniocervical region จะเกิดที่atlanto-axial joint ส่วนอีกครึ่งนึงจะเกิดผ่าน facet jointของ C2-C7 ลงมา สำหรับatlanto-occipital joint จะเกิดrotationได้น้อยมากๆ เพราะเป็นฐานที่มั่นคงให้กับoccipital condyle รองรับน้ำหนักของศีรษะนั่นเองครับ
Atlanto-axial joint เป็นข้อต่อที่designมาสำหรับ การเกิดrotationได้มากที่สุด เพราะเป็นข้อต่อแบบpivot joint ที่เกิดจากdens ของaxis วางตัวอยู่ติดกับโครงสร้างรูปวงแหวนของatlas ยึดกันไว้ด้วยtransverse ligament
การหมุนของ atlas รอบdens ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทิศทางrotationได้35-40° ต่อการหมุนแต่ละข้าง โดยที่มีinferior articular facetของatlas เป็นตัวslideไปบนsuperior articular facet ของaxis คอยsupportการเคลื่อนไหว
การrotationของ atlanto-axial joint ความตึงของconnective tissueต่างๆ จะทำให้เกิดการrotation ของatlanto-occipital joint ตามมาเล็กน้อย เพราะถูกจำกัดจากcapsuleของ AO jointครับ
สำหรับการเกิดrotationของatlanto-axial joint ช่วงสุดท้ายจะถูกlimitการเคลื่อนไหวจากalar ligament ของด้านตรงข้าม และความตึงตัวของfacet jt รวมถึงความตึงของกล้ามเนื้อที่เกาะข้ามบริเวณcraniocervical regionด้วยครับ
สำหรับระดับC2 ลงมาถึงC7นั้น การเกิดrotation จะเกิดที่facet jt.เป็นหลัก เนื่องจากการวางตัวของfacet jt.ในระดับcervical จะวางทำมุม45° ระหว่างhorizontal กับfrontal plane ดังนั้นเมื่อเกิดการrotation จะทำให้inferior articular facet ชิ้นบนของข้างที่จะหมุนไป เกิดการslide ในทิศทางposteriorและinferior ส่วนinferior articular facet ของด้านตรงข้าม จะslideไปในทิศทาง anteriorและsuperior เมื่อเราทำneck rotation ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวลักษณะนี้ค่อยๆไล่ลงไปตั้งแต่ในระดับของC2จนถึงC7
ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราทำrotation to Rt. ของC4 บนC5 จะพบว่าทางด้านซ้าย inferior articular facet ของC4 จะslideไปในทิศทาง anteriorและsuperior ไปบนC5 ในขณะที่ทางด้านขวา inferior articular facet ของC4 จะslideไปในทิศทางposterior และinferior ไปบนC5 เป็นต้นครับ
การเกิดrotationของfacet jt. จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งหมด30-35°
อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเมื่อเกิดการrotationของcervical spineคือ จะเกิดการstretchของ vertebral a. ในด้านตรงกันข้าม โดยเฉพาะในบริเวณ AA jt. ที่จะเกิดการrotationได้มาก จะไปยืด vertebral a.ที่วิ่งลอด transverse foramenขึ้นมา(ดังรูปที่6) ดังนั้นneck rotation จึงเป็นหนึ่งในmovementที่ใช้screen ในคนไข้ที่เราสงสัยvertebrobasilar insufficiency(VBI) ได้ครับ
ตารางในรูปที่7 จะเป็นตัวสรุปองศาการเคลื่อนไหวในhorizontal planeของข้อต่อคอแต่ละส่วนนะครับ โดยที่ROM โดยรวมของคอในการเกิดrotationจะอยู่ที่ประมาณ65-75°ต่อหนึ่งด้าน โดยเกิดที่atlanto-axial joint ประมาณ50% ส่วนอีก50% จะเกิดถายในfacet jt.ระดับC2-C7นะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่
https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่
https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2016). Kinesiology of the Musculoskeletal System: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
General Anatomy and Musculoskeletal System (THIEME Atlas of Anatomy) (THIEME Atlas of Anatomy, 1) (3rd ed.). Thieme.
White, A. A., & Panjabi, M. M. (1990). Clinical Biomechanics of the Spine. Lippincott.
Grant’s Atlas of Anatomy. (2016). LWW.
Standring, S. (2015). Gray’s Anatomy: The Anatomical Basis of Clinical Practice. Churchill Livingstone.
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย