9 มี.ค. 2023 เวลา 00:44 • ไลฟ์สไตล์

ยุคสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับ โลกทัศน์แบบ "ควอนตัม"

โลกเรานั่นถูกขับเคลื่อนด้วย วิทยาศาสตร์ มายาวนานหลายร้อยปี และเมื่อเรามองย้อนกลับไปดูตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ นั่นไม่ได้มีผลกระทบต่อแค่การพัฒนาทางด้านกายภาพ วัตถุ และอารยธรรมเท่านั่น แต่แนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์มันทรงพลัง และสอดแทรกลึกลงไปถึง วิถีชีวิต วัฒนธรรมสังคม และทะลุทะลวงจนไปถึงโลกทัศน์ มุมมอง แนวความคิดของเราต่อโลกใบนี้อีกด้วย
ทำไมผมถึงคิดเช่นนั่น เราลองมาดูไปพร้อมๆกัน
ตั้งแต่ที่ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส บอกว่า โลกนั่นไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล ดวงดาว ที่เราอาศัยอยู่เป็นแค่ดาวเคราะห์ดวงเล็กๆดวงหนึ่ง ที่หมุนรอบดาวฤกษ์ นามว่า ดวงอาทิตย์ที่ใหญ่ว่าเราหลายเท่า
ข้อเท็จจริงมันกระทบทั้งองค์ความรู้เดิม ความภาคภูมิ ความทะนงตัว จนไปถึงความเชื่อ และความศรัทธาที่ไปกระแทกต่อองค์กรทางศาสนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ข้อเท็จจริงย่อมเป็นเช่นนั่นไม่เปลี่ยนแปลง เหล่านี้ส่งผลให้เราลดทั้งความเย่อยิ่ง และความอหังการ ต่อธรรมชาติลง มีความนอบน้อมมากขึ้น และเริ่มศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์
เวลาผ่านไปอีกร้อยกว่าปี ไอแซค นิวตัน ชายหนุ่มที่เรียนรู้ และค้นพบความลับของธรรมชาติ จากการได้นั่งใต้ต้นแอปเปิ้ล จนเขาได้กลายเป็นนักวิทยาศาตร์คนหนึ่งที่ขึ้นหิ้งในระดับตำนาน ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ และโลกทัศน์ หรือการมองโลกแบบนิวตัน ได้ส่งผลในวงกว้าง ทั้งองค์ความรู้ใหม่ เกิดการพัฒนาด้านเทคโลยีใหม่ๆมากมาย และแน่นอนอีกด้านมันก็ส่งผลต่อระบบความคิดของโลกนี้อย่างลึกซึ้ง และแนบเนียนอีกเช่นกัน
ไอแซค นิวตัน ภาพโดย K.Mitch Hodge
ผมสังเกตุเห็นว่าฟิสิกส์แบบนิวตันนั่น มีอิทธิพลอย่างมากในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม การมีมุมมองแบบทุกสรรพสิ่ง แยกส่วนไม่เกี่ยวพันกัน ทั้ง แรง วัตถุ และเวลา ต่างดำรงอยู่อย่างเอกเทศ แยกตัวโดดเดี่ยวไม่ข้องเกี่ยวกัน และทุกสรรพสิ่งมีขั้นตอนในรูปแบบเส้นตรง(Linear) แบบหลักตรรกะเหตุ-ผล ตามลำดับ ส่งผลต่ออารยธรรม และสังคมอย่างน่าสนใจ
สังเกตได้จากอิทธิพลแนวความคิดฟิสิกส์แบบนิวตัน ส่งผลไม่มาก ก็น้อยให้เกิดรูปแบบแนวคิด ในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟู
รูปแบบอุตสาหกรรมในยุคนี้แยกส่วนเป็นระบบเดี่ยว ในรูปแบบผลิตจำนวนมากๆ ผ่านระบบสายพานเส้นตรง [mass Product]
แม้แต่ในระบบเกษตรกรรมก็ถือได้ว่าเป็นยุคที่มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก
หรือแม้แต่หน่วยย่อยอย่างครอบครัว ก็เกิดสภาพการณ์ที่แปรเปลี่ยนจากครอบครัวใหญ่อยู่รวมกันมาเป็นรูปแบบครอบครับเดี่ยวกันมากมาย
เวลาผ่านมาอีกกว่าสองร้อยปี การเรียนรู้จากธรรมชาติของชายที่ชื่อว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้เขาค้นพบความมหัศจรรย์ของสัมพันธภาพในจักรวาลนี้
Einstein ภาพโดย Andrew George
เขารับรู้ได้ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้มันสัมพันธ์ เกี่ยวโยง ร้อยรัดกันอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ อะตอม แรง พลังงาน ความเร็ว อวกาศ และ เวลา
จนมีคำกล่าวที่ว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" หรืออย่างคำกล่าวที่ว่า "ผีเสื้อที่กระพือปีกตรงนี้ อาจก่อให้เกิดพายุใหญ่ในอีกฝั่งของโลก"(Butterfly effect)
ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ และน่าสังเกตว่า มันเป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลส่งผลมาถึงยุคหลังปฎิวัติอุตสาหกรรม ที่ อัลวิน ทอฟเลอร์ นักอนาคตศาสตร์ชื่อดัง เรียกว่า ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ที่ทุกอย่างต่างสอดประสาน สัมพันธ์ พัวพัน กันทั่วโลกผ่านระบบเครือข่ายระบบการสื่อสาร(Telecomunication)
ข่าวสารที่เกิดขึ้นจากฝั่งซีกโลกหนึ่ง กลับส่งผลกระทบต่ออีกซีกโลกได้อย่างน่าประหลาดใจ
ในระดับโลก ด้านเศรษฐศาสตร์ และโลกทัศน์นั่นเกิดคำว่า Globalization หรือ โลกาภิวัตน์ นั่นหมายถึง โลกทั้งโลกสัมพันธ์ร้อยรัดเป็นหนึ่งเดียวกัน
ส่วนในด้านการเมือง นโยบายระดับโลกก็เกิดองค์กรอย่างเช่น องค์การสหประชาชาติ
ส่วนในด้านการออกแบบ และสถาปัตยกรรม ก็เกิดรูปแบบที่เรียกว่า Modern style อย่างเฟื่องฟู และแพร่หลาย รูปแบบแนว Modern คือ งานออกแบบที่ไม่ได้สนใจต่ออัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเดิมที่มีประเพณี วัฒนธรรมมาต่อเนื่องและยาวนานมีการลดทอนรายละเอียดในส่วนที่เห็นว่าเกินความจำเป็นออกไป ลักษณะงานจะออกเป็นรูปแบบเดียวกันแต่ใช้ได้เหมือนกันทั่วโลกหรือที่ชอบเรียกกันว่า เป็นรูปแบบสากล หรือ inter(national)
แนวความคิดฟิสิกส์แบบสัมพันธ์ภาพของไอน์สไตน์ได้ครอบงำระบบความคิดของโลกมานับร้อยปี แต่การมาถึงองค์ความรู้ใหม่อย่างทฤษฎีฟิสิกส์กลศาสตร์ควอนตัม กำลังมาท้าทาย และสั่นคลอนบัลลังก์ความเชื่อแบบเดิมๆ ของยุคโลกาภิวัตน์ ไปโดยสิ้นเชิง
Classical Physics VS. Quantum Physics
วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์แบบนิวตัน และไอน์ไตน์ นั่นอาจเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์แบบคลาสสิค (Classical Physics) ทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านนั่น สามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์และตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่มีขนาดใหญ่ๆตั้งแต่ก้อนกรวดจนไปถึงดวงดาวได้อย่างยอดเยี่ยม
แต่ทฤษฎีดังกล่าวมันกลับใช้ไม่ได้ กับการอธิบายพฤติกรรมสิ่งที่เล็กมากๆ ในระดับอะตอม นี้จึงเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์ ที่ เรียกว่า กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics Physics)
ภาพโดย Karlis Reimanis
กลศาสตร์ควอนตัม ใช้นำมาอธิบายและหาคำตอบของธรรมชาติ ของสสารที่มีขนาดเล็กในระดับอะตอม และทฤษฎีวิทยาศาสตร์แบบควอนตัมกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกยุคปัจจุบัน
ผมคงไม่กล่าวลึกลงไปในรายละเอียดของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ให้ชวนปวดหัว แต่ผมอยากชวนสังเกตุ ในจุดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลกระทบ และมีอิทธิพลอย่างมากในโลกยุคสมัยใหม่
นั่นคือ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์แบบคลาสสิค ทั้งของนิวตันและ ไอน์สไตน์นั่นต่างเชื่อ และยึดมั่นใน "ความแน่นอน" ทุกอย่างมีเหตุและผลของมัน
ผมสังเกตุเห็นว่าแนวทางทฤษฎีของไอน์สไตน์และนิวตัน มีแนวคิดที่ร่วมกันในโลกทัศน์ทุกอย่างมีลักษณะเป็นเส้นตรง มีลำดับ เหตุ และผล ตามลำดับ
มีความชัดเจนในโลกทัศน์แบบเวลา เรื่อง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตามลำดับ และทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติและจักรวาลไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่มีค่าที่แน่นอนสม่ำเสมอชัดเจน และถูกกำหนดผลลัพธ์ไว้อย่างแน่นอนแล้ว อยู่ที่ว่าเราจะหาค่านั่นเจอหรือไม่
จนถึงเกิดประโยคตอบโต้ก้องโลกของนักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่
ไอน์สไตน์ [classical physics] กล่าวว่า
"พระเจ้าไม่ได้ทอยลูกเต๋าเพื่อจะตัดสินว่าอะไรจะเกิดขึ้นในจักรวาลนี้"
นีล บอร์ห [Quantum physics ] สวนกลับว่า
"มันไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ที่จะบอกว่าพระเจ้าควรทำหรือไม่ควรทำอะไร"
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์
ฟิสิกส์ควอนตัม ฝั่งตรงกันข้ามกับไอน์สไตน์ มองว่า วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์แบบคลาสิคนั่นอาจกล่าวถูกต้องในสสารที่มีขนาดใหญ่กว่าอะตอม แต่เมื่อเราเข้าไปสู่โลกที่สสารเล็กในระดับอะตอม แล้ว ทุกอย่างนั่นคือ "ความไม่แน่นอน"
การโต้เถียงกันระหว่าง "ความแน่นอน" และ "ความไม่แน่นอน" ในทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ของสองกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก อาจถือเป็นการโต้เถียงด้านวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ในโลกวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ และผลจบลงที่ชัยชนะ ของ " ความไม่แน่นอน"
ที่น่าสังเกตุคือ นี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง โลกทัศน์ ต่อระบบความคิดของโลก ที่เคยได้รับอิทธิพลความคิดแบบวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์แบบคลาสสิคมาหลายร้อยปี
การมองโลกแบบเป็นเส้นตรง ตามหลักตรรกะ เหตุ-ผล ที่ดำเนินไปแบบ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตามลำดับ เหล่านี้เริ่มโดนกระแทกอย่างจัง ด้วยโลกทัศน์ แนวความคิดแบบฟิสิกส์ควอนตัม
ที่ตะโกนดังๆว่าแท้จริงแล้วโลกอีกด้านนั่นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซับซ้อน โกลาหล ไร้ซึ่งตรรกะ เหตุไม่ได้มาก่อนผลเสมอไป ทุกอย่างไม่ได้เดินทางเป็นแบบเส้นตรง (Non Linear) อดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็อาจไม่ได้ส่งผลต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรงแบบที่เคยเข้าใจกันมา
แล้วทำไมผมถึงคิดว่า ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ นั่นมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของมนุษยชาติ ?
โดยส่วนตัวผมสนใจ แนวความคิด ของ ยูวัล โนอาห์ แฮรารี ที่เกี่ยวกับมุมมองด้านมนุษยวิทยา และการพัฒนาอารยธรรมของมนุษยชาติ ว่าการที่เผ่าพันธุ์มนุษย์ สามารถขึ้นมาปกครองโลกใบนี้ได้ ปัจจัยหลักอาจไม่ได้มาจากความฉลาดของก้อนเนื้อที่เรียกว่าสมอง
แต่มันมาจากที่ มนุษย์เรานั่นมีความคิดและช่างจินตนาการ และสามารถแปรเปลี่ยนจินตนาการเหล่านั่นให้มาเป็นเรื่องเล่าที่ทรงพลัง ส่งต่อๆกันมานับหมื่นๆปี
เรื่องเล่าเหล่านี้ จะอยู่ในทุกๆช่วงของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ไม่ว่าจะในรูปแบบของนิทาน ตำนาน การบอกต่อ บทเพลง ศิลปะ นิยาย งานเขียน ละคร ภาพยนตร์ หรือแม้แต่การนินทา และการโกหก
สิ่งเหล่านี้ ดูเผินๆเกิดขึ้นเพื่อความบันเทิง แต่จริงๆแล้ว มันส่งผลมากกว่านั่น แล้วแต่ว่าจุดประสงค์ซ่อนเร้นของมัน แตกต่างกันไปตามช่วงเวลา สถานการณ์ และยุคสมัย ทั้งเพื่อสร้างความสามัคคี ปลุกความกล้าหาญ สร้างความทุ่มเท หรือหวังผลด้านการค้าและทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งสร้างความไม่กลัวต่อความตาย
แล้วโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์แทรกซึมมาถึงเราได้อย่างไร?
ที่ผมยกแนวความคิดของ ฮาแรรี่ ขึ้นมา เพราะผมสังเกตุเห็นจุดร่วมที่น่าสนใจ ต่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่มีอิทธิพลต่อโลกทัศน์ของโลกในยุคที่ผ่านๆมา ผมขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น นั่น คือ ภาพยนตร์
ผมคิดว่าภาพยนตร์ นั่นคือเครื่องมือในการเผยแพร่เรื่องเล่าที่ทรงพลังที่สุดชิ้นหนึ่ง ในอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาปฎิเสธไม่ได้เลยว่าองค์กรที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในโลกภาพยนตร์นั่นคือ ฮอลลีวูด
ผมขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์การเล่าเรื่องและ สร้างโลกทัศน์ ในเรื่อง เวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ในยุคที่ฟิสิกส์แบบคลาสสิค แบบแนวทฤษฎีของนิวตัน และไอนสไตน์ นั่นได้ครอบงำความคิดของโลกอย่างสมบูรณ์ มีหนังที่โด่งดังอย่างมาก นั่นคือ Back to the future ของ สตีเฟน สปีลเบิร์ก
เนื้อเรื่อง เล่าเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา แต่แก่นหลักของเรื่องเล่านี้คือ ไม่ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมในอดีตอย่างไร แต่สุดท้ายผลลัพธ์สุดท้ายของเหตุการณ์ ปัจจุบัน และอนาคตจะคงอยู่แบบเดิมนั่น "มีความแน่นอน คงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง"
แต่พอเข้ามาสู่ยุคแห่งโลกทัศน์แบบควอนตัมฟิสิกส์ ฮอลลีวูดได้ปล่อยเรื่องเล่าที่โด่งดังยิ่งกว่า นั่นคือ AVENTURE : End Game ที่เล่าเรื่องและสอดแทรกโลกทัศน์ผ่านแผ่นฟิลม์ไปคนละทางกับ คลาสสิคฟิสิกส์
เมื่อ End game เล่าเรื่องราวถึง ความไม่แน่นอน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ทั้งหลายย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงอดีต เพื่อให้ปัจจุบันและอนาคตเปลี่ยนไป เมื่อปัจจัยในกระบวนการหนึ่งเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจุบัน และอนาคตได้เช่นกัน และเวลาซับซ้อนไม่ได้มีลำดับเป็นเส้นตรง แบบ อดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ว่า อนาคตอาจมีอยู่แล้วและอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอดีตได้เช่นกัน
ถึงขั้นที่ว่าจักรวาลนั่นไม่ได้มีหนึ่งเดียว แต่ประกอบไปด้วยหลากหลายในลักษณะพหุจักรวาล มันเป็นโลกทัศน์แบบ ไม่เป็นเส้นตรง [non linear] ซับซ้อน โกลาหล และไร้ซึ่งตรรกะ หลุดออกจากกระบวนการ เหตุและผล อย่างสิ้นเชิง
ยังมีตัวอย่างในด้านอื่นๆอีกที่ได้รับอิทธิพลแนวความคิดจากวิทยาศาสตร์ยุคควอนตัม เช่น ในด้านการบริหารธุรกิจและพัฒนาองค์กร ก็เกิดแนวคิดที่เรียกว่า "BANI " ออกเสียงว่า บานี คือ การอธิบายโลกปัจจุบันในแนวทางใหม่
เพื่อจะได้มองสภาพการณ์ของโลกปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งมาจาก
B [Brittle] = โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความเปราะบาง
A [Anxious] = ความวิตกกังวลแพร่กระจายไปทั่วโลก
N [Nonlinear] = ความไม่เป็นเส้นตรง ตรรกะแบบเหตุและผลไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์บางอย่างได้
I [Incomprehence] = โลกในยุคนี้เต็มไปด้วยความกำกวม บางเรื่องทำความเข้าใจไม่ได้ ไม่ชัดเจน มีลักษณะเบลอๆ
ในด้านเศรษฐศาสตร์ การเมือง ภูมิรัฐศาสตร์ ระดับโลก ก็เกิดการล่มสลายของคำว่า Globalizaton [โลกาภิวัตน์]
และเกิดรูปแบบใหม่ที่เรียกกันทั่วไปว่า Decoupling คือรูปแบบการแยกตัวของกลุ่มประเทศมหาอำนาจใหม่เพื่อมาสร้างกลุ่มก้อนของตัวเอง เช่น กลุ่ม BRICS ที่มีหัวเรือใหญ่อย่างจีน เพื่อที่อยากจะหลุดพ้นจากการควบคุมของ อเมริกา และ EU เกิดรูปแบบที่แตกตัว แต่ไม่โดดเดี่ยว เพื่อพึ่งพาซึ่งกันละภายในกลุ่มของตนที่มีจุดแข็งต่างกัน
จะเห็นได้ว่าแนวความคิดหรือโลกทัศน์แบบใหม่ๆได้ สอดแทรก แทรกซึมเข้ามาหาเราอย่างแนบเนียนในรูปแบบของเรื่องเล่าต่างๆในทุกๆวัน ทุกๆวินาที ผ่านทางทั้งโลกออนไลน์ และออฟไลน์โดยเรานั่นอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
แต่มาวันนี้ถ้าเราลองหยุดคิดและมองดูรอบๆตัว ทุกๆอย่างกำลัง กลืนกินเราไปด้วยแนวความคิด และโลกทัศน์แบบควอนตัม ไปเรียบร้อยแล้ว
ในยุคที่การศึกษาสูงๆและใบปริญญา ยังคงมีความมั่นคงแน่นอนและการันตีความสำเร็จของชีวิตได้อีกไหม?
เมื่อเราเห็นเด็กประถม หรือมัธยม สามารถหารายได้มากกว่าคนจบปริญญาโท หรือจบด็อกเตอร์ ได้ทั่วไปด้วยการเป็นยูทูปเบอร์ และขายของออนไลน์ หรือเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์
ยุคที่ความมั่นคง และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยังคงเหมือนเดิมไหม?
เมื่อเราอยู่ในยุคที่ เมื่อเกิดภัยกับตัว เราเลือกที่จะวิ่งไปหา สำนักข่าว สื่อ หรือเพจโซเชียลมีเดียช่วยเหลือ แทนที่จะเลือกแจ้งตำรวจ ไปโรงพัก หรือพึ่งพากระบวนการยุติธรรม
เรายังอยู่ในยุคที่แค่กดรับโทรศัพท์มือถือ เงินที่เก็บสะสมมาทั้งชีวิตสามารถหายเกลี้ยงไปในเสี้ยววินาที แล้วความมั่นคง และน่าเชื่อถือของระบบธนาคารที่มีมาเป็นสิบเป็นร้อยปีจะตีความหมายใหม่เป็นอย่างไร?
แล้วไหนจะสถานะสังคมและฐานะจริงของคนอีกละ ในเมื่อยุคนี้ใครๆก็สร้างภาพสร้างโปรไฟน์แบบไหนก็ได้ในโซเชียลมีเดีย คนดี คนเลว คนจน คนรวย จะนิยามกันแบบไหนดี?
เราจะนิยามการบริโภคไปในแนวทางใด?
เมื่อพิษภัยของน้ำตาล ฆ่าชีวิตผู้คนมากกว่าอุบัติเหตุ การฆาตกรรม และการเสพยาเสพติด
และเรายังอยู่ในยุคที่ เด็กประถม สามารถตอบคำถามงานวิจัย ด้านกลศาสตร์ควอนตัม ระดับปริญญาเอก ที่ซับซ้อน ได้อย่างง่ายดายจากการถามเอากับ Chat GPT !!!
ทุกอย่างมันเต็มไปด้วยความไม่สมเหตุ สมผล ไร้ซึ่งตรรกะ ไร้ซึ่งรูปแบบมาอธิบาย ให้หายสับสน มึนงง
เพราะฉะนั่น ในโลกยุคใหม่ที่กำลังมาถึง ทุกอย่างจะขับเคลื่อนด้วยระบบความคิดแบบควอนตัม อย่างชัดเจนและขับเคลื่อนอย่างบ้าคลั่ง และเข้มข้นมากกว่านี้หลายเท่า
ถ้าเราไม่เท่าทัน และเตรียมตัวสำหรับคลื่นโลกทัศน์แบบใหม่ลูกใหญ่ ที่กำลังถาโถมเข้ามา และยังคงยึดติด ความเชื่อ รูปแบบ แนวความคิดแบบ ฟิสิกส์คลาสสิค ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นวงการศึกษา วงการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการเมือง วงการหุ้นและการลงทุน หรือแม้แต่สังคม และการใช้ชีวิตส่วนตัว ถ้าไม่เตรียมพร้อมเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง เราคงต้องอับปางจากการโดนกระแทกครั้งนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
ข้อแนะนำที่ผมพอจะบอกได้คือ
จงละทิ้ง ตรรกะและแนวความเชื่อเดิมๆ ที่เป็นเหตุ เป็นผลแบบที่เคยรับรู้มา ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สิ่งที่เคยถูกต้องอาจไม่เป็นเช่นนั่นเสมอไป
จงรับรู้อย่างขึ้นใจว่า "ความไม่แน่นอน" คือธรรมชาติและความเป็นจริงแห่งยุคสมัยนี้ ขอให้ดำรงอยู่อย่างยืดหยุ่น และพร้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
จงอย่าหาความชัดเจน ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความเบลอ เมื่อใดเจอสิ่งที่ชัดเจนมากๆ สิ่งนั่นจะไม่ใช่ความจริง
จงเป็นผู้สังเกตุการณ์ในทุกเรื่องเล่า แต่อย่าเป็นตัวละครให้ผู้เล่าเรื่อง
และ สุดท้าย ขอจงอยู่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง บนโลกใบนี้ โลกที่กำลังมาพร้อมกับ
"ยุคสมัยใหม่แบบควอนตัม" / JPW
โฆษณา