10 มี.ค. 2023 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เงินฝากกระจุกตัวที่ "คนรวย" จริงหรือไม่?

จากบทความก่อนหน้าที่แสดงข้อมูล 10 จังหวัดในประเทศที่มียอดเงินฝากสูงสุด เราสามารถดูต่อได้ว่าจากจำนวนเงินฝากทั้งประเทศในแต่ละปีสอดคล้องกับจำนวนบัญชีเงินฝากหรือไม่ และเป็นเงินที่มาจากบัญชีประเภทไหนมากที่สุด โดยจำนวนบัญชีมาจากบัญชีเงินฝากรวมของทั้งนิติบุคคลและบัญชีเงินฝากของคนทั่วไป
4
📌 ยอดบัญชีเงินฝากรวมทุกประเภทเติบโตขึ้นปี 2565
2
ในปี 2565 ยอดเงินฝากทั้งประเทศอยู่ที่ 17 ล้านบาท มาจากทั้งสิ้น 120.83 ล้านบัญชี
โดยในบทความนี้ จำนวนเงินฝากทั้งประเทศประกอบด้วยยอดเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ โดยเติบโตขึ้นสูงสุดช่วงปี 2563Q2 ที่ 11%YoY และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2563Q3 ตามลำดับ
2
ปี 2565Q4 มีเงินฝากอยู่ที่ 15.9 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น 4.3%YoY โดยมาจากบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และประจำ รวมทั้งสิ้น 118.74 ล้านบัญชี เห็นได้ว่า คนไทยมีการเปิดบัญชีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยอดเงินฝากโดยรวมก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แต่จำนวนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นนี้ ไม่ได้เพิ่มเฉลี่ยเท่ากันในผู้ฝากเงินทุกกลุ่ม
3
📌 คนไทยส่วนใหญ่ มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท
จากข้อมูลในรูปพบว่า จำนวนบัญชีของลูกค้าที่มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาทมีจำนวนมากที่สุด โดยมีมากถึง104.5 ล้านบัญชี เติบโตขึ้นจากปีก่อน 7.94%YoY และจำนวนบัญชีในกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 56% จากจำนวนบัญชีทั้งหมด
4
แม้ว่ายอดการเปิดบัญชีจะเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนเงินที่ฝากในบัญชียังคงอยู่ในระดับต่ำ หนำซ้ำกลุ่มดังกล่าวจนถึงกลุ่มที่มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท ยังมียอดเงินฝากที่หดตัวลงจากปีก่อนอีกด้วย
1
เห็นได้ว่าเงินฝากบางส่วนกระจายไปอยู่ในกลุ่มที่มีเงินฝากในบัญชีตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีเพียง 1,497 บัญชีและเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ในประเทศเท่านั้น แสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนที่มีรายได้มากในประเทศมีจำนวนน้อย อีกทั้งไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีเงินฝากมากที่สุด เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนเพิ่มมากกว่าการฝากแค่เพียงในธนาคารเท่านั้น
3
📌 ยอดเงินฝากที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากกลุ่มผู้มีรายได้มาก
กลุ่มที่มีเงินฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยวัยทำงานที่เริ่มอาชีพและมีเงินเก็บมาสักระยะเวลาหนึ่ง โดยถือว่าเป็นกลุ่มมีที่ยอดเงินฝากรวมสูงสุด รวมอยู่ที่ 4.232 ล้านล้านบาท โตขึ้นจากปีก่อน 4.95%YoY
3
นอกจากนี้ กลุ่มที่มีเงินฝาก 25 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท มีการขยายตัวของจำนวนบัญชีปี 2565 สูงสุด ที่ 8.99%YoY อีกทั้งยังมีการเติบโตของเงินฝากที่ 8.79% ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีการขยายตัวของเงินฝากมากที่สุด
1
📌 โดยสรุป
แม้ว่ากลุ่มคนไทยส่วนใหญ่จะมีบัญชีเงินฝากมาก แต่ยังคงมีเงินฝากในบัญชีน้อย ในขณะที่สัดส่วนเงินฝากส่วนมากไม่ได้มาจากกลุ่มคนที่มีเงินฝากมากเสมอไป สิ่งนี้สะท้อนถึงการกระจุกตัวของเงินฝากที่อยู่ในกลุ่มคนที่มีเงินฝากในระดับปานกลาง
อย่างไรก็ดี เราสามารถจำแนกได้อีกทางว่า กลุ่มคนที่มีรายได้แตกต่างกันอาจจะมาจากช่วงอายุที่ไม่เท่ากัน โดยคนอายุน้อยที่ยังไม่มีรายได้อาจจะเปิดบัญชีออมไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ขณะที่บัญชีที่มีจำนวนเงินมากมาจากกลุ่มคนอายุมากก็เป็นได้เช่นกัน เหล่านี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์การออมเงินของคนไทยมากขึ้น
2
ผู้เขียน: ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์, Economics Data Analytics
Source: ธนาคารแห่งประเทศไทย วิเคราะห์โดย Bnomics
1
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา